หน้า: 1

ชนิดกระทู้ ผู้เขียน กระทู้: ติด “นิโคติน” เลิกยาก  (อ่าน 23 ครั้ง)
add
เรทกระทู้
« เมื่อ: 22 ธ.ค. 20, 22:59 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
Send E-mail

แบ่งปันกระทู้นี้ให้เพื่อนคุณอ่านไหมคะ?

ปิดปิด
 

ในแต่ละปี มีผู้เสียชีวิตจากควันบุหรี่มากกว่า 8 ล้านคนทั่วโลก โดย 7 ล้านคนคือผู้สูบบุหรี่ที่ได้รับควันบุหรี่โดยตรง ในขณะที่อีกกว่า 1.2 ล้านคนเป็นผู้ได้รับผลกระทบจากควันบุหรี่มือสอง องค์การอนามัยโลกจึงย้ำให้แต่ละประเทศชูนโยบายควบคุมยาสูบให้เป็นวาระแห่งชาติ เพื่อลดการสูญเสียจากการสูบบุหรี่

แต่ในความเป็นจริง การรณรงค์ให้เลิกบุหรี่นั้นไม่อาจเห็นผลได้ในทันที หลายประเทศจึงเริ่มพิจารณาแนวทางลดอันตราย เพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้สูบบุหรี่และประชากรในประเทศแทน ซึ่งรวมถึงนิวซีแลนด์ ซึ่งเป็นประเทศที่มีความก้าวหน้าด้านนโยบายควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ หลังจากประกาศเป้าหมาย “นิวซีแลนด์ปลอดควัน ภายในปี 2568” เพื่อลดจำนวนผู้สูบบุหรี่เป็นประจำให้เหลือเพียง 5% โดยหนึ่งในมาตรการที่นิวซีแลนด์ให้ความสำคัญคือการหาแนวทางใหม่ๆ เพื่อเสริมมาตรการแบบดั้งเดิมที่เคยทำมา ซึ่งรวมไปถึงการสนับสนุนบุหรี่ไฟฟ้าเพื่อเป็นผลิตภัณฑ์ทดแทนบุหรี่มวนสำหรับผู้ที่ยังไม่ต้องการเลิกบุหรี่

อีเลียนา กลอบเบอร์สตีน รูบาสกิน นักเคมีด้านเภสัชกรรมและเป็นผู้เคลื่อนไหวสนับสนุนให้มีการเผยแพร่ข้อมูลสนับสนุนความปลอดภัยในการใช้บุหรี่ไฟฟ้า และผลักดันให้มีการเปิดทางเลือกให้กับชาวนิวซีแลนด์ได้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าเป็นทางเลือกทดแทนที่มีอันตรายน้อยกว่าบุหรี่ กล่าวว่า “เป็นที่ยอมรับในวงการวิทยาศาสตร์ว่า นิโคตินเป็นสารเสพติด แต่ก็ยังไม่มีหลักฐานใดๆ ระบุว่านิโคตินเป็นสารก่อมะเร็ง และเราต้องช่วยกันสร้างความเข้าใจใหม่ว่าความเป็นพิษของนิโคตินจะขึ้นอยู่กับปริมาณและวิธีการการใช้”

ซึ่งข้อมูลจากสถาบันวิจัยมะเร็งสหราชอาณาจักร (cruk.org) เคยระบุว่า ควันบุหรี่ที่มาจากการเผาไหม้ใบยาสูบ เป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดโรคมะเร็ง 14 ประเภท และที่พบมากที่สุดคือ มะเร็งปอด มะเร็งหลอดอาหาร และมะเร็งในช่องปาก เช่นเดียวกับที่ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ ประเทศอังกฤษ (Royal College of Physicians หรือ RCP) เผยว่าบุหรี่ไฟฟ้ามีอันตรายต่อสุขภาพน้อยกว่าบุหรี่มวนเผาไหม้ใบยาสูบทั่วไป 95% นอกจากนี้ ยังระบุว่าอัตราเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งทุกประเภทในกลุ่มผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าในระยะยาว ต่ำกว่า 0.5% เมื่อเทียบกับความเสี่ยงจากสูบบุหรี่มวน ขณะที่กว่าครึ่งหนึ่งของผู้ที่สูบบุหรี่ต่อเนื่องมาเป็นเวลาหลายปีเสียชีวิตจากโรคที่เกิดจากบุหรี่

อาจกล่าวได้ว่า บุหรี่ไฟฟ้ากลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการลดอันตรายจากยาสูบ เพราะช่วยลดอันตรายจากควันบุหรี่และการได้รับน้ำมันดินและสารอันตรายจากในควัน และกำลังเป็นทางเลือกที่ได้รับความนิยมสูงสุดในกลุ่มผู้สูบบุหรี่ในประเทศสหภาพยุโรป สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา รวมทั้งได้รับการยอมรับว่าป้องกันการกลับไปสูบบุหรี่ได้จริง

ซึ่งหากดูสถิติจากระบบบริการสุขภาพ (NHS) และ RCP ประจำปี 2561 ของประเทศอังกฤษแล้ว ก็พบว่าจำนวนผู้สูบบุหรี่ลดลงอย่างมาก เหลือเพียง 7.4 แสนคน เมื่อเทียบกับ 10 ปีก่อนหน้า (ปี 2551) ที่มีผู้สูบบุหรี่ 2.5 ล้านคน และตัวเลขลดลงอย่างต่อเนื่องหลังจากบุหรี่ไฟฟ้าได้รับอนุญาตให้ใช้อย่างถูกกฎหมายในอังกฤษ ตั้งแต่ปี 2554 เป็นต้นมา

จากเหตุผลที่กล่าวมา จึงทำให้นิวซีแลนด์ที่เคยก่อนหน้านี้เคยแบนบุหรี่ไฟฟ้า พิจารณายกเลิกการแบนและออกกฎหมายควบคุมการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารนิโคติน กลุ่มผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้ามีโอกาสได้ทำงานร่วมกันนักวิทยาศาสตร์ ตัวแทนเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ขณะที่ฝ่ายรัฐบาลก็ให้ความสำคัญกับการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ จนในที่สุด รัฐบาลนิวซีแลนด์ประกาศใช้กฎหมายอนุญาตให้ขายบุหรี่ไฟฟ้าอย่างถูกกฎหมาย ในปี 2561 โดยมีมาตรการควบคุมอย่างเหมาะสม






noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า

กระทู้ฮอตในรอบ 7 วัน

Tags:
Tags:  

หน้า: 1

 
ตอบ

ชื่อ:
 
แชร์ไป Facebook ด้วย
กระทู้:
ไอค่อนข้อความ:
ตัวหนาตัวเอียงตัวขีดเส้นใต้จัดย่อหน้าชิดซ้ายจัดย่อหน้ากึ่งกลางจัดย่อหน้าชิดขวา

 
 

[เพิ่มเติม]
แนบไฟล์: (แนบไฟล์เพิ่ม)
ไฟล์ที่อนุญาต: gif, jpg, jpeg
ขนาดไฟล์สูงสุดที่อนุญาต 20000000 KB : 4 ไฟล์ : ต่อความคิดเห็น
ติดตามกระทู้นี้ : ส่งไปที่อีเมลของสมาชิกสนุก
  ส่งไปที่
พิมพ์อักษรตามภาพ:
พิมพ์ตัวอักษรที่แสดงในรูปภาพ
 
:  
  • ข้อความของคุณอยู่ในกระทู้นี้
  • กระทู้ที่ถูกใส่กุญแจ
  • กระทู้ปกติ
  • กระทู้ติดหมุด
  • กระทู้น่าสนใจ (มีผู้ตอบมากกว่า 15 ครั้ง)
  • โพลล์
  • กระทู้น่าสนใจมาก (มีผู้ตอบมากกว่า 25 ครั้ง)
         
หากท่านพบเห็นการกระทำ หรือพฤติกรรมใด ๆ ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รวมถึง การใช้ข้อความที่ไม่สุภาพ พฤติกรรมการหลอกลวง การเผยแพร่ภาพลามก อนาจาร หรือการกระทำใด ๆ ที่อาจก่อให้ผู้อื่น ได้รับความเสียหาย กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม