หน้า: 1

ชนิดกระทู้ ผู้เขียน กระทู้: ไทยล้มเหลวควบคุมยาสูบ หลังอัตราสูบบุหรี่ไม่ลด  (อ่าน 12 ครั้ง)
add
เรทกระทู้
« เมื่อ: 21 ม.ค. 21, 19:36 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
Send E-mail

แบ่งปันกระทู้นี้ให้เพื่อนคุณอ่านไหมคะ?

ปิดปิด
 

เครือข่ายผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าเผยงานวิชาการต่างประเทศชี้นโยบายควบคุมยาสูบของไทยล้มเหลวในการลดจำนวนผู้สูบบุหรี่ ขณะที่อังกฤษสามารถลดจำนวนผู้สูบบุหรี่ได้จริงจากนโยบายควบคุมให้บุหรี่ไฟฟ้าเป็นทางเลือกในการเลิกบุหรี่ พร้อมเสนอแนะไทยควบคุมบุหรี่ไฟฟ้าแทนการแบน

นายมาริษ กรัณยวัฒน์ และนายอาสา ศาลิคุปต ตัวแทนเครือข่ายผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้า “กลุ่มลาขาดควันยาสูบ End Cigarette Smoke Thai (ECST)” และแอดมินเฟซบุ๊คเพจ “บุหรี่ไฟฟ้าคืออะไร” ซึ่งมีสมาชิกเกือบ 1 แสนคน ร่วมกันเผยถึงการศึกษาเปรียบเทียบด้านนโยบายภาครัฐ หัวข้อ “การศึกษาความแตกต่างของนโยบายควบคุมยาสูบระหว่างสหราชอาณาจักรและประเทศไทย” ของนักวิชาการอิสระชั้นนำจากสถาบัน อาร์ สตรีท ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งสรุปว่าทั้งไทยและสหราชอาณาจักรซึ่งมีปัจจัยทางวัฒนธรรมและทางประชากรแตกต่างกัน ต่างดำเนินนโยบายควบคุมยาสูบตามกรอบแนวคิด MPOWER ขององค์การอนามัยโลกที่คล้ายกัน แต่ผลสำเร็จของการลดจำนวนผู้สูบบุหรี่กลับแตกต่างกันอย่างมาก ส่วนหนึ่งมาจากความแตกต่างของนโยบายการควบคุมบุหรี่ไฟฟ้า

นายมาริษกล่าวว่า “ประเทศไทยยึดติดกับมาตรการควบคุมบุหรี่แบบเดิม ๆ ทั้งที่มันเริ่มมาถึงจุดอิ่มตัวแล้ว และยังอ้างความสำเร็จในการควบคุมบุหรี่แบบผิดๆ โดยการบอกว่าเรามีการขึ้นภาษีบุหรี่สูงๆ บังคับใช้ซองบุหรี่หน้าตาเหมือนกันได้ หรือแบนบุหรี่ไฟฟ้าได้ แต่กลับพบเห็นการใช้บุหรี่ไฟฟ้าเต็มบ้านเต็มเมือง ส่วนอัตราการสูบบุหรี่ของคนไทยก็ทรงตัวเฉลี่ยอยู่ที่ 19%-20% มานับสิบปีตั้งแต่ปี 2556 ขณะที่สหราชอาณาจักรสามารถลดอัตราการสูบบุหรี่ลงได้จาก 20% ในปี 2554 เหลือเพียง 15% ในปี 2561 ซึ่งถือว่าประสบความสำเร็จอย่างมากในการลดจำนวนผู้สูบบุหรี่อายุระหว่าง 18-24 ปีได้ถึง 9% ทั้งนี้เพราะรัฐบาลอังกฤษให้บุหรี่ไฟฟ้าเป็นเครื่องมือหนึ่งในการช่วยเลิกการสูบบุหรี่แก่ประชาชน”

รายละเอียดในงานศึกษาดังกล่าว ซึ่งจัดทำโดย อาร์ สตรีท องค์กรอิสระซึ่งเชี่ยวชาญด้านการวิจัยด้านนโยบายสาธารณะ ยังระบุอีกว่าทั้งสหราชอาณาจักรและไทยได้รับการยกย่องจากองค์การอนามัยโลกในฐานะที่ดำเนินนโยบายด้านการควบคุมยาสูบได้เป็นอย่างดี แต่สองประเทศนี้กลับมีความแตกต่างกันในการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบรูปแบบใหม่เช่น บุหรี่ไฟฟ้า หรือผลิตภัณฑ์แบบให้ความร้อน ซึ่งอังกฤษสนับสนุนหลักการลดอันตรายด้วยการสนับสนุนให้ผู้สูบบุหรี่เปลี่ยนไปใช้ผลิตภัณฑ์ทางเลือกที่ปลอดภัยกว่า เช่นบุหรี่ไฟฟ้า ตรงกันข้ามกับนโยบายของประเทศไทยที่กำหนดให้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวเป็นสินค้าผิดกฎหมาย ต้องถูกจับปรับ มีโทษรุนแรง จึงมีแนวโน้มว่าปัจจัยที่แตกต่างนี้ทำให้อัตราการสูบบุหรี่ในสหราชอาณาจักรลดลงได้ดีกว่าไทยเป็นอย่างมาก

นายอาสาเสริมว่า “สาธารณสุขอังกฤษออกรายงานยืนยันหลายครั้งว่าการ
ใช้บุหรี่ไฟฟ้ามีอันตรายน้อยกว่าการสูบบุหรี่ และออกกฎหมายในการควบคุมบุหรี่ไฟฟ้าที่พิจารณาถึงประโยชน์ด้านสุขภาพของผู้สูบบุหรี่ที่เปลี่ยนไปใช้บุหรี่ไฟฟ้า แต่ขณะเดียวกันก็คำนึงถึงเป้าหมายในการป้องกันไม่ให้ผู้ไม่สูบบุหรี่ รวมทั้งไม่ให้เด็ก ๆ หรือเยาวชนสามารถซื้อหรือใช้บุหรี่ไฟฟ้าได้ เช่นห้ามผู้มีอายุต่ำกว่า 18 ปีซื้อบุหรี่ไฟฟ้า ห้ามการโฆษณาอวดอ้างสรรพคุณบุหรี่ไฟฟ้าตามสื่อต่างๆ อีกทั้งยังมีการควบคุมผลิตภัณฑ์ให้เป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัยด้วย”

“เราอยากเห็นประเทศไทยศึกษาแนวทางและเปลี่ยนมาควบคุมให้บุหรี่ไฟฟ้าถูกกฎหมายแบบอังกฤษ จะได้ช่วยลดอัตราการสูบบุหรี่ในประเทศ เป็นการช่วยแก้ปัญหาสาธารณสุขจากการสูบบุหรี่ และยังป้องกันการใช้บุหรี่ไฟฟ้าในเด็ก รวมถึงการซื้อขายบุหรี่ไฟฟ้าแบบผิดกฎหมายด้วย ซึ่งเมื่อกลางปี 2563 ผู้ตรวจการแผ่นดินได้รับข้อร้องเรียนของพวกเรา และรับปากช่วยแสวงหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับข้อดี-ข้อเสียของบุหรี่ไฟฟ้า และทบทวนงานวิจัยอย่างเป็นกลางและเป็นระบบ เราจึงเรียกร้องให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเช่นกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการคลัง ทบทวนนโยบายการแบนบุหรี่ไฟฟ้าเสียใหม่โดยรับฟังความเห็นจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย เพราะที่ผ่านมาก็ชัดเจนว่าประเทศไทยล้มเหลวทั้งการแก้ปัญหาการสูบบุหรี่และการการบังคับใช้กฎหมายแบนบุหรี่ไฟฟ้าอีกด้วย”





noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า

กระทู้ฮอตในรอบ 7 วัน

Tags:
Tags:  

หน้า: 1

 
ตอบ

ชื่อ:
 
แชร์ไป Facebook ด้วย
กระทู้:
ไอค่อนข้อความ:
ตัวหนาตัวเอียงตัวขีดเส้นใต้จัดย่อหน้าชิดซ้ายจัดย่อหน้ากึ่งกลางจัดย่อหน้าชิดขวา

 
 

[เพิ่มเติม]
แนบไฟล์: (แนบไฟล์เพิ่ม)
ไฟล์ที่อนุญาต: gif, jpg, jpeg
ขนาดไฟล์สูงสุดที่อนุญาต 20000000 KB : 4 ไฟล์ : ต่อความคิดเห็น
ติดตามกระทู้นี้ : ส่งไปที่อีเมลของสมาชิกสนุก
  ส่งไปที่
พิมพ์อักษรตามภาพ:
พิมพ์ตัวอักษรที่แสดงในรูปภาพ
 
:  
  • ข้อความของคุณอยู่ในกระทู้นี้
  • กระทู้ที่ถูกใส่กุญแจ
  • กระทู้ปกติ
  • กระทู้ติดหมุด
  • กระทู้น่าสนใจ (มีผู้ตอบมากกว่า 15 ครั้ง)
  • โพลล์
  • กระทู้น่าสนใจมาก (มีผู้ตอบมากกว่า 25 ครั้ง)
         
หากท่านพบเห็นการกระทำ หรือพฤติกรรมใด ๆ ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รวมถึง การใช้ข้อความที่ไม่สุภาพ พฤติกรรมการหลอกลวง การเผยแพร่ภาพลามก อนาจาร หรือการกระทำใด ๆ ที่อาจก่อให้ผู้อื่น ได้รับความเสียหาย กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม