ทรูโชว์ 3 รูปแบบนำหลากเทคโนโลยีอนุรักษ์ช้างฉลองวันช้างไทย 13 มีนาคม หนึ่งในนั้นคือ 5G ที่ทรูนำมาพัฒนาเป็นต้นแบบรถพยาบาลช้างอัจฉริยะ ซึ่งสามารถส่งสัญญาณภาพความละเอียดสูงผ่านกล้องมอนิเตอร์ที่ติดในรถพยาบาลช้าง ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน นำเทคโนโลยีอัจฉริยะทรู 5G พัฒนาต้นแบบรถพยาบาลช้างอัจฉริยะ ที่จะส่งสัญญาณภาพความละเอียดสูงผ่านกล้องมอนิเตอร์ที่ติดในรถพยาบาลช้าง ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน เพื่อช่วยติดตามอาการของช้าง และสามารถปฐมพยาบาลเบื้องต้นตามคำแนะนำแบบเรียลไทม์ของสัตวแพทย์ระหว่างการเดินทางไปโรงพยาบาล ช่วยให้การรักษาช้างทันท่วงทีมากขึ้น รวมทั้งการติดตั้งอุปกรณ์ Tracking เพื่อตรวจสอบเส้นทางรถพยาบาลซึ่งจะแสดงผลผ่านสมาร์ทโฟน 5G และ
คอมพิวเตอร์ระบบคลาวด์ IoT และแอปพลิเคชัน ที่ช่วยแก้ปัญหาระหว่างคนกับช้างป่า “โครงการเฝ้าระวังช้างป่าด้วยระบบเตือนภัยล่วงหน้า” (Elephant Smart Early Warning System) ที่ ทรู ร่วมมือกับกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และองค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล ประเทศไทย (WWF) เปิดศูนย์เฝ้าระวังช้างป่าด้วยระบบเตือนภัยล่วงหน้า โดยเพิ่มความสามารถของ camera trap ด้วยการนำซิมการ์ดทรูมูฟ เอช ติดตั้งในกล้อง เพื่อบันทึกภาพช้างป่า รวมถึงความเคลื่อนไหวต่าง ๆ ขณะเดินผ่านกล้อง และส่งภาพต่อไปยังระบบประมวลผลกลาง (Dashboard) ผ่านสัญญาณเครือข่ายทรูมูฟ เอช หรือหากมีผู้พบเห็นช้างป่ากำลังบุกรุกก็สามารถแจ้งผ่านแอปพลิเคชั่น เพื่อส่งข้อมูลไปที่ห้องควบคุม ให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบและ ส่งข้อมูลแจ้งให้เจ้าหน้าที่ลาดตระเวนเข้าผลักดันช้างกลับเข้าป่าได้ทันเวลา ก่อนที่จะออกไปบุกรุกสร้างความเสียหายกับพื้นที่เกษตรกรรมและชุมชน ซึ่งข้อมูลต่างๆจะถูกจัดเก็บในระบบคลาวด์ เพื่อนำมาวิเคราะห์ ซึ่งโครงการดังกล่าวได้นำร่อง ณ อุทยานแห่งชาติกุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์
ในปี 2562 โดยทรู ได้สนับสนุนทั้งระบบคลาวด์, แอปพลิเคชัน Smart Adventure, กล้องดักถ่ายภาพอัตโนมัติพร้อมซิมจากทรูมูฟ เอช 25 ชุด, เสาสัญญาณ 2 จุด, สมาร์ทโฟน True Smart Adventure 16 เครื่อง พร้อมแอร์ไทม์, อาคารศูนย์ปฏิบัติการและระบบคอมพิวเตอร์ และกรมธรรม์คุ้มครองอุบัติเหตุให้แก่เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติการผลักดันช้างป่ากว่า 70 คน ซึ่งการนำเทคโนโลยีเข้าร่วมสนับสนุนโครงการนี้ ช่วยผลักดันช้างให้กลับเข้าป่าได้เกือบ 100% พร้อมนำไปขยายผลในอีกหลายพื้นที่ของประเทศ อาทิ โครงการพัชรสุธาคชานุรักษ์ ที่ป่ารอยต่อ 5 จังหวัด ในภาคตะวันออก เป็นต้น ซึ่งจะจุดประกายให้เกิดการอนุรักษ์ป่า เพื่อให้ช้างอยู่ร่วมกับคนอย่างสมดุลและสันติต่อไป
และล่าสุด ทรูจัดแคมเปญ “มีนา มีช้าง” ร่วมบริจาคช่วยช้าง เนื่องในวันช้างไทยปี 2564 กับ 2 โครงการ ได้แก่ Eco for Elephant ร่วมกับมูลนิธิดับเบิ้ลยูดับเบิ้ลยูเอฟ สร้างแหล่งอาหารให้ช้างป่าที่กุยบุรี ผ่านระบบทรูมูฟ เอช โดยกด *948*8888*10#โทร.ออก เพื่อบริจาค 10 บาท หรือกด *948*8888*100#โทร.ออก เพื่อบริจาค 100 บาท หรือบริจาคผ่านทรูมันนี่ วอลเล็ท ได้ทุกเครือข่าย
สำหรับวันช้างไทยนั้นริเริ่มขึ้นมาเพื่อให้คนไทยตระหนักถึงความสำคัญของช้าง สัตว์คู่บ้านคู่เมืองไทยตั้งแต่อดีต เพราะเป็นขุนพลที่ร่วมรบอยู่ในสมรภูมิจนมีชัยชนะ และออกศึกเคียงคู่พระมหากษัตริย์ นำเอกราชรวมชาติไทยเป็นปึกแผ่น จนมีการใช้ภาพช้างเผือกบนธงชาติไทยสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ และเป็นสัญลักษณ์ของประเทศ อีกทั้งช้างมีความเฉลียวฉลาด และมีพละกำลังมหาศาล จึงได้รับการใช้เป็นพาหนะในการคมนาคม ขนส่งของ และอุตสาหกรรมป่าไม้
ตลอดระยะเวลาอันยาวนาน ประชาชนชาวไทยรัก หวงแหน ให้ความช่วยเหลือ ดูแลช้างมาอย่างต่อเนื่อง ตราบถึงยุคดิจิทัลที่เทคโนโลยีได้ก้าวมามีบทบาทสำคัญต่อการดูแลช่วยเหลือช้างแบบเรียลไทม์ทันใจยิ่งขึ้น