จากบทสัมภาษณ์พิเศษ ของสื่อมติชนออนไลน์
.
1.นายกอบศักดิ์ สภาวสุ อดีตรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจในรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เขียนข้อความทางทวิตเตอร์ แนะนำรัฐบาล ใช้โมเดลประเทศอังกฤษ ในการจัดหากระจายวัคซีน แนะใช้แอสตร้าฯ-ไฟเซอร์ เป็นตัวหลัก
=https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_2736925]https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_2736925

หลังจากวัคซีนหลายยี่ห้อได้ถูกใช้งานครบ 2 โดส รายงานประสิทธิภาพของแต่ละวัคซีนจากการใช้งานจริง (ไม่ใช่ผลระหว่างการทดสอบ) เริ่มทยอยออกมาให้เห็น ล่าสุด รายงานจากสาธารณสุขของอังกฤษ ครั้งที่ 20 ให้ประสิทธิภาพการป้องกันโควิดของแอสตร้าฯไม่ด้อยกว่าไฟเซอร์ ข่าวดีสำหรับบ้านเรา
รัฐบาลควรใช้โมเดลของอังกฤษสำหรับแผนการฉีดวัคซีน .เริ่มด้วยวัคซีนแอสตร้าฯและไฟเซอร์ (10ล้านโดส) แล้วเพิ่มปริมาณด้วยตัวอื่นอีกหลายๆ ตัว ..สำคัญอยู่ที่ความสามารถของทีมงานรัฐบาลที่จะไปเจรจาหาวัคซีนเพิ่มให้ได้..อย่าจัดเกรดแล้วเรียกเป็นวัคซีนทางเลือกเลย..ควรเป็นวัคซีนสำหรับทุกคน
หัวใจสำคัญในการต่อสู้โควิดคือการจัดหาวัคซีนให้เพียงพอ..อังกฤษทำได้ดีส่วนนึงเกิดจากหญิงเก่งคนนี้ Kate Bingham ที่รัฐบาลมอบให้เป็นผู้นำทีมเฉพาะกิจจัดหาวัคซีนสำหรับอังกฤษ.. Kate เป็นผู้นำบริษัทกลุ่มทุนที่เน้นลงทุนด้านสุขภาพ จึงมีคอนเน็กชั่นและเข้าใจกลไกของธุรกิจนี้เป็นอย่างดี..
ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคของอังกฤษคืนสู่สภาพก่อนโควิดระบาดแล้ว เร็วกว่าที่คาดไว้มาก
2. นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ประธานที่ปรึกษาพรรคชาติพัฒนา ให้สัมภาษณ์พิเศษ มติชน ถึงสถานการณ์การรับมือโควิด-19 ระลอก 3 และแนวทางปรับโครงสร้างเศรษฐกิจใหม่หลังยุคโควิด
=https://www.matichon.co.th/politics/special-interview/news_2736020]https://www.matichon.co.th/politics/special-interview/news_2736020

+ วัคซีนเป็นปัจจัยสำคัญในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ จำเป็นต้องเร่งฉีดวัคซีนให้เร็วเพื่อให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่ ซึ่งอยู่ที 70% ของประชากรทั้งหมด
ชูเปิดกว้างจัดหา วัคซีน เพิ่มเซฟตี้เฟกเตอร์ รับไวรัสกลายพันธุ์
+ ยกชาติมหาอำนาจ ใช้ยาแรง 3 ขนานทำโควิดลด ดันศก.กระเตื้อง ส่วนตัวอยากให้โควิดจบเร็วๆ เพราะถ้ายิ่งช้า เศรษฐกิจก็จะฟื้นช้า ระลอก 3 เห็นชัดว่าทำลายความเชื่อมั่น แต่ถ้าจบเร็ว รักษาความมั่นใจไว้ได้ สถานการณ์เศรษฐกิจของเราก็จะกระเตื้องขึ้น ดูได้จากภาพรวมของโลกปีนี้น่าจะขยายอยู่ที่ 5% ตามที่นักวิเคราะห์มอง อย่างสหรัฐก็อาจจะขยายตัว 6.5% จีนก็อยู่ที่ 8% ยุโรปจะอยู่ที่ประมาณ 3-4% เช่นเดียวกับญี่ปุ่น
+ เปิดเก๊ะกระตุ้นศก. จัดงบ65 ใหม่ เตรียมพร้อมขยายเพดานเงินกู้ ส่วนตัวคิดว่าสถานการณ์ของระลอก 3 เป็นไฟต์บังคับให้เราต้องเตรียมตัวพิจารณาขยายเพดานเงินกู้ของประเทศด้วย แม้ว่าเดิมทีในเรื่องวินัยการเงินการคลังของประเทศ เรากำหนดไม่ให้มีภาระหนี้สาธารณะเกิน 60% ของจีดีพี แต่จากปัญหาโควิด และภาระค่าใช้จ่ายขณะนี้ ทำให้มีหนี้อยู่ที่ 55-56% ถือว่าใกล้ชนเพดานเต็มที่ วันนี้ภาคเอกชนพูดเรื่องนี้กันเยอะว่าควรจะกู้เงินเพื่อมาใช้กระตุ้นเศรษฐกิจอีกหรือไม่ สมมุติว่าถ้ากู้เพิ่มอีก 1.1 ล้านล้านบาท หนี้ต่อจีดีพีจะอยู่ที่ 65% นี่จึงเป็นสิ่งที่เราต้องเริ่มพิจารณาถึงความจำเป็นตามแนวทางที่ทุกประเทศใช้กัน เพราะวันนี้ถือเป็นเรื่องวิกฤต มีภาวะยกเว้น จำเป็นต้องทำให้เศรษฐกิจแข็งแรงกันก่อน ถ้ากระตุ้นแล้วฟื้น ก็ค่อยมาทำงานใช้หนี้กันทีหลัง กลับกันถ้าเราไม่รอด ตายวันนี้ก็หมดโอกาสหายใจทันที ดังนั้น วันนี้น้ำมันต้องเต็มถัง ห้ามพร่องเด็ดขาดให้เศรษฐกิจยังเดินได้ อะไรใกล้มือดูก่อน งบปี65 จะปรับได้ต้องปรับ รัฐสภาต้องเป็นเวทีให้บ้านเมืองในช่วงวิกฤต
+ แนะรัฐโฟกัส SME อย่าให้โควิดซ้ำเติม ปัญหาความเหลื่อมล้ำ
+ ชงปรับโครงสร้างเศรษฐกิจใหม่ พร้อมรับบริบทโลกหลังยุคโควิด
+ หนุนพึ่งพาตนเอง เพิ่มศักยภาพ SME เกษตรไฮเทค ปรับโครงสร้างภาษี
+ ต้องจัดดรีมทีมประเทศ ช่วงนับถอยหลัง การเมืองต้องมีเสถียรภาพ
ที่มา มติชนออนไล