เอชพี ยึดกลยุทธ์ธุรกิจที่สร้างความยั่งยืน ( Sustainable Impact) ได้ประกาศความมุ่งมั่นในการสร้างความเท่าเทียมทางดิจิทัลให้เข้าถึง 150 ล้านคนภายในปี 2573 ด้วยการเปิดตัวโปรแกรม HP PATH (Partnership and Technology for Humanity) ที่จะเข้าไปทำ
งานร่วมมือกับท้องถิ่นในชุมชนด้อยโอกาสทั่วโลก โดยมุ่งเน้นในด้านการศึกษา สาธารณสุข และการสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจ
นอกจากนี้ เอชพี ได้เผยแพร่รายงาน HP Sustainable Impact Report ฉบับที่ 20 ที่ย้ำถึงความคืบหน้าการดำเนินการที่ครอบคลุมสามเสาหลัก คือ ด้านผลกระทบของสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง (Climate Action), สิทธิมนุษยชน ( Human Rights) และความเท่าเทียมทางดิจิทัล ( Digital Equity) ทั้งนี้เป็นไปตามแผนปฏิบัติเชิงรุกล่าสุดของบริษัทด้านการป้องกันสภาพอากาศและการขับเคลื่อนระบบนิเวศด้านความหลากหลาย ความเสมอภาค และเคารพสิทธิมนุษยชน
มร. ลิม ชุน เต็ก กรรมการผู้จัดการ เอชพี อิงค์ ประเทศไทย กล่าวว่า “กลยุทธ์ที่ยึดการสร้างความยั่งยืนของเราช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้ชุมชน ในขณะเดียวกันก็ขับเคลื่อนการสร้างสรรค์นวัตกรรมและการเติบโตทั่วทั้งธุรกิจของเอชพี การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อความก้าวไกลเป็นหนึ่งในจุดแข็งสูงสุดของเอชพีมาโดยตลอด และเรายังดำเนินการอย่างต่อเนื่องให้บรรลุเป้าหมายที่เราได้ตั้งไว้”
“ในขณะที่เทคโนโลยีดิจิทัลได้เปลี่ยนแปลงเกือบทุกๆ ด้านของชีวิต จึงมีความเสี่ยงที่ผู้คนจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ จะถูกทอดทิ้งไว้ข้างหลัง และพวกเราไม่อาจจะปล่อยให้สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้ เอชพีจะดำเนินทุกวิถีทางที่จะลดความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัลที่กีดขวางทางจนทำให้คนจำนวนมากไม่สามารถเข้าถึงความเท่าเทียมทางการศึกษา อาชีพการงาน และการดูแลรักษาสุขภาพซึ่งเป็นสิ่งที่พวกเขาต้องการจะได้รับ” ลิม ชุน เต็ก กล่าวเพิ่ม
สร้างความเท่าเทียมทางดิจิทัล
การระบาดใหญ่ของโควิด-19 ไม่ได้ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัล แต่เป็นตัวเพิ่มทวีความรุนแรงขึ้น โดยความไม่เท่าเทียมกันทางดิจิทัลอยู่ในระดับสูงสุด และยังจะขยายอย่างต่อเนื่องหากเราไม่ร่วมกันหาทางออก จากข้อมูลของยูนิเซฟ พบว่าเด็กวัยเรียน 1 ใน 3 ของโลก หรือนักเรียนจำนวน 463 ล้านคน ไม่สามารถเข้าถึงการเรียนรู้ทางไกลในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งนอกเหนือจากด้านการศึกษาแล้ว ความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัลที่กำลังเพิ่มขึ้นกลายเป็นอุปสรรคในการเข้าถึงระบบสาธารณสุขที่สมัยใหม่และโอกาสในการเข้าหางาน นอกจากนี้ ยังสร้างความเสียหายทางกิจกรรมเศรษฐกิจ ตามข้อมูลของ Deloitte แสดงให้เห็นว่าประเทศสหรัฐอเมริกาสูญเสียมากกว่า 130 ล้านดอลลาร์ต่อวัน เนื่องจากผู้คนไม่สามารถเข้าถึงออนไลน์ได้
เอชพี เชื่อว่าความเท่าเทียมทางดิจิทัลเป็นสิทธิมนุษยชน จึงได้ลงทุนใน HP LIFE ซึ่งเป็นโครงการฝึกอบรมทักษะด้านธุรกิจและไอทีแบบไม่เสียค่าใช้จ่าย ผ่าน HP Foundation และได้รับการสนับสนุนจากองค์กรต่างๆ เช่น Girl Rising, MIT Solve และ NABU
จากความพยายามเหล่านี้ เอชพีมุ่งมั่นพัฒนา เปิดตัวและบริหารจัดการกิจกรรม โซลูชันและการบริการ หลากหลายเพื่อสร้างความเท่าเทียมทางดิจิทัล สู่ชุมชนด้อยโอกาสให้ได้ 150 ล้านคนภายในปี 2573
เอชพี เชื่อว่าความเท่าเทียมทางดิจิทัลที่แท้จริงต้ององค์ประกอบ 4 ด้าน คือ ฮาร์ดแวร์ (เช่น แล็ปท็อปหรือ พริ้นเตอร์) การเชื่อมต่อ (เช่น การเข้าถึงอินเทอร์เน็ต) คุณภาพของเนื้อหา (เช่น สื่อการเรียนรู้) และความรู้ด้านดิจิทัล (เช่น ทักษะในการใช้เทคโนโลยี) งานของเอชพีจะเน้นไปยังชุมชน 4 กลุ่มที่มีแนวโน้มว่าจะเผชิญกับความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัลมากที่สุดได้แก่
• ผู้หญิงและเด็กผู้หญิง
• ผู้พิการ ผู้ที่ขาดความสามารถ รวมถึงประชากรสูงอายุ
• ชุมชนผิวสี/กลุ่มคนชายขอบ
• นักการศึกษาและผู้ปฏิบัติงาน - ที่มีข้อจำกัดและโอกาสของความเท่าเทียมทางดิจิทัล
แนวนโยบายของการดำเนินการนี้ สอดคล้องและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติที่เชื่อมโยงถึงความต้องการทรัพยากรในด้านสาธารณสุข การศึกษาและโอกาสทางเศรษฐกิจ
อ่านต่อได้ที่ https://www.ryt9.com/s/prg/3234445