หน้า: 1

ชนิดกระทู้ ผู้เขียน กระทู้: นักวิชาการชี้ดีล “ทรู-ดีแทค” แนะดูยาว อย่ารีบห่วง...ผูกขาดตลาด  (อ่าน 32 ครั้ง)
add
เรทกระทู้
« เมื่อ: 2 ธ.ค. 21, 14:19 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
Send E-mail

แบ่งปันกระทู้นี้ให้เพื่อนคุณอ่านไหมคะ?

ปิดปิด
 

หลังจากเครือซีพี และกลุ่มเทเลนอร์ ประกาศการพิจารณาสร้างความร่วมมืออย่างเท่าเทียมกัน (Equal Partnership) โดยการสนับสนุนให้ TRUE และ DTAC ตั้งเป้าปรับโครงสร้างธุรกิจสู่การเป็นบริษัทเทคโนโลยี (Technology Company) ภายใต้ยุทธศาสตร์เทคโนโลยีฮับด้านเทคโนโลยีระดับภูมิภาค และในระหว่างการศึกษาและพิจารณาการปรับโครงสร้างครั้งนี้ ธุรกิจ TRUE และ DTAC จะยังคงดำเนินไปตามปกติของแต่ละบริษัท เรียกว่ายังคงเป็นคู่แข่งกันเช่นเดิม

ผู้ใช้บริการโทรศัพท์มือถือ เกิดคำถามคาใจแล้วเราจะได้อะไรจากความร่วมมือนี้? รวมถึงความกังวลใจต่างๆนานา ในทางกลับกันทางด้านนักวิชาการ นายสืบศักดิ์ สืบภักดี นักวิจัยโทรคมนาคม สำนักวิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ, กรรมการและเลขาธิการสมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ให้ความเห็นว่า ความร่วมมือที่เกิดขึ้นน่าจะเกิดผลดีกับผู้บริโภคที่จะได้รับบริการที่ดีขึ้น ในระหว่างที่ยังไม่มีโครงสร้างในการบริหารและแผนการตลาดที่ชัดเจนจากความร่วมมือมือนี้ สิ่งที่ปรากฎออกมาทำให้เราเห็นว่าในระยะแรก แบรนด์ทั้ง 2 แบรนด์ ยังอยู่ ซึ่งก็คือบริการที่ผู้โภคจะได้รับยังคงมีอยู่ ส่วนความเป็นห่วงว่าจะมีการผู้ขาดตลาดหรือไม่คิดว่าเร็วเกินไปที่จะสรุปแบบนั้น เพราะผู้ประกอบการรายใหญ่ยังมีอยู่อีกราย ด้วยศักยภาพย่อมต้องมีแผนการตลาดออกมาเพื่อแข่งขันและรักษาส่วนแบ่งตลาด


ผู้ประกอบการโทรคมนาคมของไทยก็จะมี 3 ราย คือ AIS, NT และการรวมของ 2 บริษัท ก็จะเป็นการเสริมเพื่อให้แข็งแกร่ง และอุตสาหกรรมโทรคมนาคมยังคงมีอนาคต สภาวการณ์แข่งขันในอุตฯ โทรคมนาคมจะไม่เหมือนในอดีตที่ผ่านมา ซึ่งในอดีตอาจมองว่าเป็นธุรกิจดาวรุ่งให้ผลตอบแทนสูง บริษัทมีผลประกอบการสูงเพราะคนหันมาใช้โทรศัพท์กันจำนวนมาก แต่ในยุคปัจจุบันเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนไป การลงทุนมีต้นทุนที่สูงขึ้น อาทิ เทคโนโลยี 5G การประมูลคลื่น ก็มีต้นทุนหลายหมื่นล้าน รวมถึงอุปกรณ์ต่างๆ จะเห็นว่าผู้ประกอบการมีภาระในการลงทุน แม้ธุรกิจจะยังเติบโต แต่ผลตอบแทนไม่เหมือนในอดีต

"เทรนด์การประกอบกิจการโทรคมนาคมทั้งโลกเปลี่ยนไป จะพบว่าบริษัทผู้ประกอบการที่มีแนวโน้มไม่เข้มแข็งจะมีการควบรวมมากขึ้น และจะมีผู้ประกอบการหลักแต่ละประเทศเพียง 3 ราย หรือเรียกว่า เมจิก ทรี อย่างเช่น ในสิงคโปร์ ฮ่องกง ญี่ปุ่น ฯลฯ จะมีการรวมตัวกันเพื่อเสริมความแข็งแกร่งมากขึ้น สำหรับประเทศไทยมองว่าไม่ใช่เคสแรก ก่อนหน้านี้ ก็มีเอ็นที ที่มีการรวมกับของ TOT และ CAT หรือ อย่าง AIS ก็มีการเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นมากก่อน เป็นการบริการจัดการเพื่อปรับทัพให้แข่งขันได้"

การผูกขาดตลาดโทรคมนาคมเป็นประเด็นที่เรากังวลใจได้ แต่ต้องไม่ลืมว่า เรามีกฎหมายป้องกันการทุ่มตลาดของกระทรวงพาณิชย์ และประกาศป้องกันการผูกขาดตลาดของ กสทช. ที่สามารถเข้ามาคุ้มครองผู้บริโภคได้ อยากให้มอลดีลนี้ยาวๆมองถึงสิ่งที่จะเกิดในอนาคต มองในสิ่งที่ไม่จำกัดอยู่เฉพาะในประเทศไทยหรือตลาดเราเอง แต่มืองไปถึงแนวโน้มการขยายการลงทุนของบริษัทโทรคมนาคมไทยไปยังประเทศอื่นในอาเซียน อย่าง เมียนมาร์ มาเลเซีย และเวียดนาม เชื่อว่าหลังความร่วมมือที่เกิดขึ้นด้วยศักยภาพของสองกลุ่มเราจะเห็นการออกไปลงทุนในภูมิภาคมากขึ้น ทั้งในแง่การลงทุนในธุรกิจสื่อสารและการให้บริการแพลตฟอร์ม รวมถึงการลงทุนในบริษัทไฮเทคที่จะมีในอนาคต
noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า

กระทู้ฮอตในรอบ 7 วัน

Tags:  ทรู  ดีแทค  TechnologyCompany 

หน้า: 1

 
ตอบ

ชื่อ:
 
แชร์ไป Facebook ด้วย
กระทู้:
ไอค่อนข้อความ:
ตัวหนาตัวเอียงตัวขีดเส้นใต้จัดย่อหน้าชิดซ้ายจัดย่อหน้ากึ่งกลางจัดย่อหน้าชิดขวา

 
 

[เพิ่มเติม]
แนบไฟล์: (แนบไฟล์เพิ่ม)
ไฟล์ที่อนุญาต: gif, jpg, jpeg
ขนาดไฟล์สูงสุดที่อนุญาต 20000000 KB : 4 ไฟล์ : ต่อความคิดเห็น
ติดตามกระทู้นี้ : ส่งไปที่อีเมลของสมาชิกสนุก
  ส่งไปที่
พิมพ์อักษรตามภาพ:
พิมพ์ตัวอักษรที่แสดงในรูปภาพ
 
:  
  • ข้อความของคุณอยู่ในกระทู้นี้
  • กระทู้ที่ถูกใส่กุญแจ
  • กระทู้ปกติ
  • กระทู้ติดหมุด
  • กระทู้น่าสนใจ (มีผู้ตอบมากกว่า 15 ครั้ง)
  • โพลล์
  • กระทู้น่าสนใจมาก (มีผู้ตอบมากกว่า 25 ครั้ง)
         
หากท่านพบเห็นการกระทำ หรือพฤติกรรมใด ๆ ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รวมถึง การใช้ข้อความที่ไม่สุภาพ พฤติกรรมการหลอกลวง การเผยแพร่ภาพลามก อนาจาร หรือการกระทำใด ๆ ที่อาจก่อให้ผู้อื่น ได้รับความเสียหาย กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม