ผลิตภัณฑ์บางชิ้นจากไอเดียของดีไซน์เนอร์เมื่อแรกเห็นก็ดึงดูดสายตาและชักนำจิตใจให้อยากเป็นเจ้าของ บางชิ้นสามารถบอกเล่าเรื่องราววิถีชีวิตได้ บางชิ้นสร้างแรงบันดาลใจไปมากมายกว่าการใช้สอย ทุกสิ่งนั้นรวมอยู่ในชิ้นงานของแบรนด์ ETHNICA ที่หยิบสไตล์ New-Boho มานำเสนองานศิลปะบนผืนผ้าตามแบบวิถีชาติพันธุ์ทางเหนือของไทย
“ต่อให้ใครเลียนแบบจนเหมือน ศิลปะก็ยังคงเป็นของเรา” วิธีคิดของเขาล่ะ ชัยวัฒน์ เดชเกิด หนึ่งในสาม ผู้ก่อตั้งแบรนด์ “แต่ก็ตั้งใจทำขึ้นมาเพื่อให้คนเลียนแบบกันเยอะๆ”
คืออะไร!?! เห็นทีต้องดึงความสนใจจากการอยากชอปปิง มาตั้งใจฟังเขาเต็มๆ เสียแล้วล่ะ
“มีโอกาสสอนผมก็จะสอน
ใครอยากได้ความรู้ อยากเข้าใจวิธีการทำงานกับชุมชน…
ผมพยายามให้คนอื่นเดินตามมา
อยากให้มาเลียนแบบวิธีการทำงานที่ผมไปทดลองมาแล้ว”
ชัยวัฒน์ เดชเกิด หนึ่งในผู้ก่อตั้งแบรนด์ ETHNICA
จะทำให้ดูเป็นตัวอย่าง
ความตั้งใจแรกของแบรนด์ คือ การทำธุรกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) เริ่มก่อตั้งด้วยกันสามคน โดย ทอม-ชัยวัฒน์ เดชเกิด ที่จบมาทางด้านวิศวกรรมเครื่องกล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แต่สนใจการทำผลิตภัณฑ์และการตลาดออนไลน์ จับมือกับ ยุจเรศ สมนา ดีไซน์เนอร์ที่จบคณะวิจิตรศิลป์ และ เขมิยา สิงห์ลอ ที่ร่ำเรียนมาทางด้านการตลาด แม้จะมาจากต่างสาขา หากสนใจในเรื่องการพัฒนาและภูมิปัญญาท้องถิ่นเหมือนกัน
ราวๆ 7 ปีที่แล้ว ชัยวัฒน์ขายเครื่องเงินชาวเขาทาง e-bay ในยุคที่การขายของออนไลน์เริ่มเฟื่อง ทางพาณิชย์จังหวัดเชียงใหม่ก็ชวนเขาไปสอนผู้ประกอบการ OTOP เรื่องการตลาดออนไลน์ เขาแนะนำให้ทุกคนศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภค แล้วปรับสินค้าให้เข้ากับทิศทางตลาด…คำถามแรก…ปรับยังไง?
“ผมบอกถ้าจะแข่งกับจีนที่มีสินค้า Mass เยอะ ก็ควรนำศิลปวัฒนธรรมของทางเหนือเราไปแข่ง เพราะต่อให้จีนก๊อบเหมือนขนาดไหน ศิลปะตามวิถีเรามันก็จะยังเป็นของเรา”
คำถามที่สองตามมาอย่างรวดเร็ว จะเอาศิลปวัฒนธรรมใส่ไปในโปรดักต์ได้ยังไง จะตอบคำถามนี้ก็ตอบได้ไม่เต็มปากนัก เพราะที่ผ่านมาเขาสวมบทบาทพ่อค้าที่เลือกของที่มีอยู่แล้วมาขายเป็นหลัก
“โอเค งั้นคงต้องลองทำให้ดูเป็นตัวอย่าง” พูดเหมือนง่าย เพราะยังไม่รู้ว่าต้องเจอกับอะไรบ้าง
www.thaipower.co/ชัยวัฒน์-เดชเกิดภารกิจเ