หน้า: 1

ชนิดกระทู้ ผู้เขียน กระทู้: "คอนเซปต์ เมดิคอล" เดินหน้าโครงการ "TRANSFORM 1"  (อ่าน 10 ครั้ง)
add
เรทกระทู้
« เมื่อ: 16 ก.ย. 22, 16:31 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
Send E-mail

แบ่งปันกระทู้นี้ให้เพื่อนคุณอ่านไหมคะ?

ปิดปิด
 

"คอนเซปต์ เมดิคอล" เดินหน้าโครงการ "TRANSFORM 1" มุ่งรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนเคลือบยา


คอนเซปต์ เมดิคอล (Concept Medical) ประกาศความสำเร็จในการรับผู้ป่วยเข้าร่วมการทดลอง TRANSFORM 1 RCT ซึ่งย่อมาจาก TReAtmeNt of Small coronary vessels: Randomized controlled trial FORMagicTouch Sirolimus Coated Balloon โดยการทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุม (RCT) นี้จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มความเข้าใจเกี่ยวกับข้อบ่งชี้ด้านการรักษาและการประยุกต์ใช้บอลลูนชนิดเคลือบยา (Drug Coated Balloon หรือ DCB) ในการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจ (CAD)

การทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุมแบบหลายศูนย์นี้มุ่งเน้นไปที่หลอดเลือดขนาดเล็ก เป็นการรักษาภาวะอุดตันส่วนหลอดเลือดหัวใจที่ยังไม่เคยผ่านการรักษาด้วยบอลลูน การทดลองนี้มีผู้ป่วยเข้าร่วมลงทะเบียนครบ 114 ราย เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2565 ที่ผ่านมา ณ โรงพยาบาลฮาร์ตแลนด์ส (Heartlands) ในเบอร์มิงแฮม โดยมีดร.สันธีป บาซาวาราไจอา (Sandeep Basavarajaiah) และทีมงานเป็นผู้ดูแล

การทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุมสำหรับการทำบอลลูนครั้งแรกนี้ เปรียบเทียบการใช้ยาเคลือบแพคลิแท็กเซิล (Paclitaxel) และไซโรลิมัส (Sirolimus) ในหลอดเลือดขนาดเล็ก (?2.75 มม.) ของผู้ป่วยจำนวน 114 รายที่มีภาวะอุดตันส่วนหลอดเลือดหัวใจและยังไม่เคยผ่านการรักษาด้วยบอลลูนมาก่อน ผู้ป่วยถูกสุ่มในรูปแบบ 1:1 ระหว่างบอลลูนเมจิกทัช (Magic Touch) ของคอนเซปต์ เมดิคอล กับบอลลูนซีเควนต์ พลีส นีโอ (SeQuent Please Neo) ของบี. บราวน์ เมลซุงเกน เอจี (B. Braun Melsungen AG) การทดลองดำเนินไปภายใต้การดูแลของศ. แพทริก ดับเบิลยู เซอรูยส์ (Patrick W. Serruys) ซึ่งเป็นประธานร่วมจากประเทศไอร์แลนด์ และดร. เบอร์นาโด กอร์ทีซ (Bernardo Cortese) จากประเทศอิตาลี ร่วมกับผู้วิจัยหลัก ได้แก่ศ. อันโตนิโอ โคลอมโบ (Antonio Colombo) จากประเทศอิตาลี

"45 ปีหลังจากการรักษาด้วยบอลลูนครั้งแรก 36 ปีหลังจากรักษาด้วยการใส่ขดลวด และ 22 ปีหลังจากการฝังโครงแบบที่ดูดซึมได้ การรักษาที่จะ 'ไม่ทิ้ง' สิ่งใดไว้เบื้องหลังยังคงเป็นความฝันของแพทย์โรคหัวใจ เมื่อการอุดตันแบบเฉียบพลันและการกลับมาอุดตันซ้ำของเส้นเลือดสามารถป้องกันได้โดยการฝังอุปกรณ์ขยายหลอดเลือดแบบถาวรไว้ภายในร่างกาย"

การทดลองนี้เป็นการทดสอบบอลลูนชนิดเคลือบยาในหลอดเลือดขนาดเล็ก ได้ค้นพบกลไกพื้นฐานของการทำบอลลูน ซึ่งถูกบันทึกด้วยการทำ OCT ก่อนการเคลือบยา และจะมอบปัจจัยทางกลไกมากมายที่กำหนดผลลัพธ์ทางการรักษาด้วยบอลลูนและทางคลินิก การทำ OCT ด้วยจักรกลเรียนรู้จะบ่งชี้ถึงองค์ประกอบของเนื้อเยื่อว่ามีผลกระทบอย่างไร และความสำคัญด้านการพยากรณ์โรคจาก 'การผ่าตัดเพื่อรักษา' ซึ่งเกิดขึ้นบ่อยครั้งหลังการทำบอลลูนขยายหลอดเลือด ผมรู้สึกตื่นเต้นที่จะได้เห็นผลลัพธ์ของการทำบอลลูน" ศ. แพทริก เซอรูยส์ (ประธานร่วม) กล่าว

การทดลอง TRANSFORM 1 กำลังสำรวจพื้นที่ที่ยังไม่เคยมีผู้ใดศึกษามาก่อนเกี่ยวกับหลอดเลือดขนาดเล็ก วัตถุประสงค์หลักของการศึกษาคือเพื่อประเมินผลลัพธ์จากการรักษาด้วยบอลลูนในส่วนที่เกี่ยวกับขนาดหลอดเลือดที่เพิ่มขึ้น (มม.) ตลอดระยะเวลา 6 เดือน มีการทำ OCT และประเมินอัตราการตีบของหลอดเลือดหัวใจเชิงปริมาณ (QCA) ซึ่งดำเนินการก่อนและหลังขั้นตอนและช่วงติดตามผล 6 เดือน

"การทำบอลลูนในหลอดเลือดหัวใจขนาดเล็กไม่ควรถูกมองว่าเป็นสิ่งที่ไร้ประโยชน์ เนื่องจากมีความสำคัญในเชิงการพยากรณ์โรค และมีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ในระยะสั้นและระยะกลาง ขณะที่ขดลวดเคลือบยา (DES) มีความเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงของหลอดเลือดหัวใจเป้าหมายล้มเหลว (TLF) ถึงสองเท่า เมื่อเทียบกับหลอดเลือดขนาดใหญ่กว่า เราจะได้เห็นเป็นครั้งแรกว่ายาเคลือบไซโรลิมัสที่มีความปลอดภัยและช่องการรักษาที่กว้างกว่า มีประสิทธิภาพเท่ากับยาแพคลิแท็กเซิลในแง่ของการขยายหลอดเลือดหรือไม่" ดร. เบอร์นาโด กอร์ทีซ ประธานร่วม และประธานอีสต์บอร์น (EASTBOURNE) ซึ่งเป็นระเบียนผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนชนิดเคลือบยาที่ใหญ่ที่สุดในโลก กล่าว

การรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนเคลือบยาถูกใช้มาอย่างยาวนานในการรักษาโรคหลอดเลือดที่เกิดการตีบซ้ำภายในขดลวด (ISR) และมีผลการรักษาที่น่าพอใจ การวางโลหะหรือการล้อมหลอดเลือดขนาดเล็กเป็นสิ่งที่แพทย์ต้องการหลีกเลี่ยงเช่นเดียวกับผู้ป่วย เนื่องจากน้ำหนักของโลหะและความเสี่ยงในอนาคตที่จะตีบลงอีกครั้ง การรักษาด้วยบอลลูนเคลือบยาสามารถช่วยสนับสนุนหลอดเลือดขนาดเล็กได้ แต่สิ่งที่จำเป็นคือการทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุม การทดลอง TRANSFORM 1 ด้วยการใช้ OCT และวิธีการทางกลไก ทำให้แพทย์กำหนดเป้าหมายหลอดเลือดตีบตันโดยการวัดขนาดที่แม่นยำของหลอดเลือด และดำเนินการใส่บอลลูนชนิดเคลือบยาที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางที่เหมาะสม เพื่อให้แน่ใจว่ามีการยึดติดกับผนังหลอดเลือดและการถ่ายโอนยาอย่างมีประสิทธิภาพ ผลการทดสอบคอร์แล็บ (Core Lab) (CORRIB Core Lab ของ NUI Galway ประเทศไอร์แลนด์) ซึ่งเป็นที่ตั้งตารอ จะเป็นรากฐานสำคัญสำหรับการใช้บอลลูนชนิดเคลือบยาในหลอดเลือดขนาดเล็ก


noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า

กระทู้ฮอตในรอบ 7 วัน

Tags:
Tags:  

หน้า: 1

 
ตอบ

ชื่อ:
 
แชร์ไป Facebook ด้วย
กระทู้:
ไอค่อนข้อความ:
ตัวหนาตัวเอียงตัวขีดเส้นใต้จัดย่อหน้าชิดซ้ายจัดย่อหน้ากึ่งกลางจัดย่อหน้าชิดขวา

 
 

[เพิ่มเติม]
แนบไฟล์: (แนบไฟล์เพิ่ม)
ไฟล์ที่อนุญาต: gif, jpg, jpeg
ขนาดไฟล์สูงสุดที่อนุญาต 20000000 KB : 4 ไฟล์ : ต่อความคิดเห็น
ติดตามกระทู้นี้ : ส่งไปที่อีเมลของสมาชิกสนุก
  ส่งไปที่
พิมพ์อักษรตามภาพ:
พิมพ์ตัวอักษรที่แสดงในรูปภาพ
 
:  
  • ข้อความของคุณอยู่ในกระทู้นี้
  • กระทู้ที่ถูกใส่กุญแจ
  • กระทู้ปกติ
  • กระทู้ติดหมุด
  • กระทู้น่าสนใจ (มีผู้ตอบมากกว่า 15 ครั้ง)
  • โพลล์
  • กระทู้น่าสนใจมาก (มีผู้ตอบมากกว่า 25 ครั้ง)
         
หากท่านพบเห็นการกระทำ หรือพฤติกรรมใด ๆ ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รวมถึง การใช้ข้อความที่ไม่สุภาพ พฤติกรรมการหลอกลวง การเผยแพร่ภาพลามก อนาจาร หรือการกระทำใด ๆ ที่อาจก่อให้ผู้อื่น ได้รับความเสียหาย กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม