ในขณะเดียวกัน คุณยุพาพร ชุมมา พยาบาลวิชาชีพประจำศูนย์ผู้สูงอายุโรงพยาบาลยันฮี นางฟ้าประจำศูนย์ผู้สูงอายุแห่งนี้มากว่า 5 ปี ได้ร่วมเปิดใจกับเราว่า "ด้วย 'ใจรัก' จึงตัดสินใจเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของศูนย์แห่งนี้ ซึ่งผู้ที่จะมาทำหน้าที่นี้จะต้อง
มีความพร้อมของร่างกาย, มองโลกในแง่บวก และต้องมีความเข้าอกเข้าใจในผู้สูงอายุเป็นสำคัญ เพราะนอกจากทักษะในวิชาชีพแล้ว ต้องใช้ความคุ้นเคย ความไว้วางใจ การสื่อสารบางอย่างต้องใช้เวลาและต้องรู้ใจกัน บางเคสไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้เลยและไม่สามารถพูดสื่อสารอะไรได้
ผู้ป่วยสูงอายุที่เข้ามาให้เราดูแลโดยส่วนใหญ่จะเป็นผู้สูงอายุติดเตียง มีการเคลื่อนไหวค่อนข้างน้อย มีปัจจัยเสี่ยงที่พบโดยตลอด คือ
การเกิดแผลกดทับ ซึ่งเป็นตัวชี้วัดสำคัญของเรา โดยทางศูนย์ของเราจะเน้น
'ไม่ให้เกิดแผลกดทับ' ถ้ามีแผลกดทับมาจากที่บ้าน เป้าหมายสูงสุดของเราก็คือ
'ทำให้แผลหายเร็วที่สุดและไม่เกิดแผลซ้ำ' ซึ่งทางเราค่อนข้างภูมิใจมากสำหรับเรื่องนี้ เรามีระบบเฝ้าระวังเกี่ยวกับการป้องกันแผลกดทับอย่างดีเยี่ยม ไม่ว่าจะเป็นการพลิกตะแคงตัว การสำรวจจุดกดทับต่าง ๆ ตลอดจนการทำความสะอาดผิวหนังให้แก่ผู้ป่วย นอกจากนี้เรายังมีการเฝ้าระวัง
การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ และ การติดเชื้อจากการสำลัก เพราะผู้สูงอายุนั้นระบบการกลืนจะเสื่อมไปตามวัย จะสำลักค่อนข้างง่าย ซึ่งอาจทำให้เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ(ปอดติดเชื้อ)ได้อีกด้วย"
คุณพยาบาลยุพาพร เล่าให้เราฟังว่า "ทุกวัน เราจะผลัดกันดูแลกิจวัตรประจำวันทั้งหมดของผู้ป่วย ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหาร การทำความสะอาดร่างกาย การขับถ่าย ตลอดจนกระตุ้นกิจกรรมสันทนาการต่างๆ รวมไปถึงการพักผ่อนนอนหลับ อีกทั้งเราจะประเมินความต้องการแต่ละบุคคล เพื่อวางแผนการดูแล การกระตุ้นและการฟื้นฟูสุขภาพ เพื่อตอบสนองความต้องการอย่างดีที่สุด และจะเตรียมความพร้อมอยู่ตลอดเวลาด้วยการประเมินผู้ป่วยสูงอายุถึงความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นจากสภาวะของโรคต่างๆ ที่ท่านเป็นอยู่ด้วย"
แน่นอนว่า งานดูแลผู้ป่วยสูงอายุนั้นจะต้องใช้ความรักและความอดทนสูง ซึ่งใน
วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข ให้คำจำกัดความสิ่งเหล่านี้ว่า "Humanize Health Care" คือ เป็นกระบวนการดูแลที่มี "ความเป็นมนุษย์" ที่ให้ความเมตตาดูแลด้วยความจริงใจ อยากช่วยเหลือให้ผู้ป่วยพ้นทุกข์ทรมาน ไม่ว่าจะเจ็บป่วยทางกายหรือจิตใจ
คุณหมอชวลิต เสริมว่า "โดยส่วนตัวของผม ผมรู้สึกว่าเหมือนเราดูแลพ่อแม่ตัวเอง ท่านคือผู้สูงอายุ เราดูแลแบบญาติเรา สามารถพูดคุยเฮฮา บทสนทนาก็จะนอกเหนือจากการแพทย์อยู่แล้ว จะถามสาระทุกข์ฯ ถามสิ่งที่ท่านชอบ อันนี้ก็จะเป็นเหมือนการเก็บข้อมูลและเราก็จะเข้ามาคุยกับทีมว่าผู้ป่วยท่านนี้ต้องการอะไร เราก็จะประสานกับผู้ป่วยกับญาติ และประสานกับทีมเราว่า ผู้ป่วยท่านนี้ควรจะจัดหาอะไรให้ท่านดี เช่น ท่านสนใจเรื่องการอ่านหนังสือหรือสนใจเรื่องการร้องเพลง ก็จะจัดคาราโอเกะให้ท่าน เป็นต้น เราจะมีจัดแบบนี้ตามความต้องการให้เรื่อย ๆ มันไม่เหมือนเป็นการรักษา มันเหมือนเราไปเยี่ยมญาติ เพราะแต่ละคนสไตล์ก็ไม่เหมือนกัน ก็เป็นความสุขอย่างหนึ่ง"
"ปัจจุบันต้องยอมรับว่าทุกคนต่างก็มีภาระหน้าที่ บางครอบครัวลูกหลานอาจพิจารณาแล้วว่าการดูแลพ่อแม่หรือญาติผู้ใหญ่นั้นอาจไม่ทั่วถึง สิ่งที่จะกังวลมากที่สุดในสังคมไทยคือ คิดว่าการเอาผู้สูงอายุมาพักในศูนย์ผู้ป่วย คือการเอาท่านมาทิ้งไว้ บางท่านรู้สึกผิด มันเป็นความรู้สึกว่าไม่ได้ดูแล แต่แท้จริงแล้วอยากให้มองอีกมุมว่า
'เป็นการพาผู้สูงอายุมาอยู่ในความดูแลที่ดีขึ้น ปลอดภัยขึ้น' และเราจะยินดีเป็นอย่างมาก หากญาติติดต่อมาเพื่อขอดูสถานที่ก่อน หรือว่ามาคุยกับแพทย์ก่อน สาหร่ายินดีให้ข้อมูลเป็นอย่างยิ่ง เพราะในแง่ของทางการแพทย์ เราจะประเมินได้ว่า ท่านมีโรคประจำตัวอะไรบ้าง เหมาะหรือไม่ที่จะเข้ามาพักในศูนย์ฯ ในแง่ของการปฏิบัติงานเราก็จะมีเกณฑ์ว่า
"ทุกเคสที่เข้ามาจะต้องผ่านแพทย์ก่อน" เพื่อความมั่นใจว่า ญาติ, ผู้ป่วย กับแพทย์และทีมการรักษาของเรามีความเห็นตรงกัน โดยผมเองก็จะเป็นหลักที่จะคุยให้ข้อมูลได้ในระดับหนึ่งครับ"
คุณหมอชวลิต กล่าวทิ้งท้าย และในขณะเดียวกัน
คุณพยาบาลยุพาพร เป็นตัวแทนทีมพยาบาลสาว กล่าวปิดท้ายกับเราว่า "ผู้ป่วยสูงอายุทุกท่าน เป็นหนึ่งในดวงใจของเราทุกเคสเลยค่ะ"ผู้สูงอายุเปรียบเสมือนต้นไม้ใหญ่ที่ใบไม้ค่อยๆ ร่วงหล่น หรือลำต้นอาจผุพังไปตามกาลเวลา แต่หากได้รับการดูแลเอาใจใส่และเติมเต็มด้วยความรักอย่างเต็มที่แล้ว อาจช่วยคืนความสดชื่นแก่ต้นไม้ใหญ่ ดุจดอกไม้ที่ได้รับการบำรุงอย่างเหมาะสมอยู่ตลอดเวลา
สอบถามหรือรับคำปรึกษาศูนย์ดูแลผู้สูงอายุยันฮี ได้ที่ศูนย์บริการข้อมูล โรงพยาบาลยันฮี โทร.1723 หรือ Facebook: โรงพยาบาลยันฮี Yanhee Hospital / Line: @Yanhee Hospital และ IG: yanheehospital_official