หน้า: 1

ชนิดกระทู้ ผู้เขียน กระทู้: เครื่องเตือนภัยอสังหาริมทรัพย์. . .ฟองสบู่แตก  (อ่าน 26 ครั้ง)
add
เรทกระทู้
« เมื่อ: 10 พ.ย. 22, 15:12 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
Send E-mail

แบ่งปันกระทู้นี้ให้เพื่อนคุณอ่านไหมคะ?

ปิดปิด
 

เมื่อเกิดวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 ประเทศที่เกิดการตื่นตัวสร้างเครื่องเตือนภัยเศรษฐกิจอันดับแรกๆ ก็คือมาเลเซีย โดย ดร.มาฮาดีร์ บิน โมฮามัด แห่งประเทศมาเลเซียในขณะนั้น ได้เร่งจัดตั้งศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ภายในระยะเวลาเพียง 9 เดือน นับแต่เกิดวิกฤติในกลางปี 2540 คือภายในปี 2541 ก็เริ่มต้นสร้างศูนย์ข้อมูลกันแล้ว ศูนย์ข้อมูลแห่งนั้นชื่อ NAPIC ซึ่งย่อมาจาก National Property Information Centre หรือศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติ

สำหรับประเทศไทยก็ค่อนข้างเชื่องช้า รัฐบาลชวนเริ่มตั้งศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ในปี 2543 โดยได้ว่าจ้าง ดร.โสภณ พรโชคชัยและคณะผู้เชี่ยวชาญจำนวนหนึ่งศึกษาเพื่อวางแผนการตั้งศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติขึ้นมาเหมือนกัน คณะทำงานก็เร่งทำงานกันจนถึงปี 2544 ก็แล้วเสร็จ มีเอกสารประกอบการศึกษาหนาหลายพันหน้า มีการจัดสัมมนารับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องมากมาย แต่สุดท้ายก็ไม่ได้เปิด หลังจากศึกษาไปมาก็ปิดที่ทำการศูนย์ข้อมูล ล่ามโซ่เส้นใหญ่ไว้หน้าประตู กว่าที่จะเปิดทำการศูนย์ข้อมูลจริงๆ ก็ปาเข้าไปถึงปี 2547 แสดงว่าไทยเราช้าไปกว่ามาเลเซียมาก เรียกได้ว่าตั้งแต่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 มาก็กว่าจะได้เปิดก็ปาเข้าไป 7 ปี

ศูนย์ข้อมูลของไทยเป็นศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ที่เริ่มดำเนินการจริงเมื่อปี 2547 ไม่ใช่ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติดังที่ตั้งใจไว้แต่แรก และต่อมาในปี 2561 คณะกรรมการนโยบายที่อยู่อาศัยแห่งชาติ (ซึ่งไม่เคยได้ยินชื่อหรือเห็นผลงานกันเลย ไม่รู้ไปแอบ “ซุก” อยู่ที่ไหนก็ประชุมกันเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2561 มีมติเห็นชอบให้การเคหะแห่งชาติ เป็นหน่วยงานหลักรับผิดชอบในการรวบรวมและจัดหาข้อมูลเพื่อจัดตั้งศูนย์ข้อมูลที่อยู่อาศัยแห่งชาติ ซึ่งก็ไม่รู้จะไป “บูรณาการ” กับศูนย์ของธนาคารอาคารสงเคราะห์อย่างไร

ดร.โสภณ ก็เคยได้รับเชิญให้ไปให้ความเห็นเกี่ยวกับการเป็นศูนย์ข้อมูลที่แท้ว่าควรจะทำอย่างไร อันที่จริงอย่างศูนย์ข้อมูลของเกาหลี คือ Korea Real Estate Board ก็มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนว่าจะ “จะรักษาเสถียรภาพและความเรียบร้อยในตลาดอสังหาริมทรัพย์ ช่วยปกป้องผลกำไรและประโยชน์ของผู้บริโภคอสังหาริมทรัพย์ และส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์” คือเป้าหมายสำคัญของศูนย์ข้อมูลที่แท้คือเพื่อผู้บริโภคเป็นสำคัญ ไม่ใช่เพื่อผู้ประกอบการพัฒนาที่ดิน

อย่างไรก็ตามศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ของไทยมีคณะกรรมการ 16 คนประกอบด้วยหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมแล้ว ก็ยังผู้นำในวงการพัฒนาบ้านจัดสรร-อาคารชุด 3 สมาคม และจากหอการค้าไทย รวม 4 คน พอลงมาถึงระดับคณะกรรมการดำเนินงานก็ประกอบด้วยพนักงานของธนาคารอาคารสงเคราะห์ 3 คน และนายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร-อาคารชุดอีก 3 คน รวม 6 คน การมีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียคือนายกสมาคมมาเป็นกรรมการ หรืออาจมาล่วงรู้ข้อมูลไปก่อนในฐานะกรรมการอาจจะดูไม่เป็นกลาง และไม่ได้ทำเพื่อประโยชน์ของผู้บริโภคเป็นสำคัญเช่นศูนย์ข้อมูลประเทศอื่นๆ

อย่างในกรณีศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ของมาเลเซีย ก็ขึ้นตรงต่อกรมประเมินค่าทรัพย์สินของกระทรวงการคลังโดยตรง และศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ของสิงคโปร์ ก็ขึ้นอยู่กับ Urban Redevelopment Authority ซึ่งเป็นองค์กรภาครัฐ ไม่มีภาคเอกชนไปนั่งเป็นกรรมการให้ล่วงรู้ข้อมูลก่อน ข้อมูลนั้นใครได้ไปก่อน ก็จะได้เปรียบบุคคลอื่น อย่างไรก็ตามก็อาจมีบางท่านอ้างว่าการมีนักพัฒนาที่ดินมาเป็นกรรมการจะได้ช่วยกันกลั่นกรองข้อมูลก่อนที่จะเผยแพร่ จะได้ไม่ทำให้ประชาชนตกอกตกใจจนเกินไปหากเกิดภาวะล้นตลาดหรือฟองสบู่จะแตกขึ้นมา แต่ข้ออ้างนี้ ดร.โสภณเคยแถลงไว้หลายครั้งว่านี่เป็นการดูถูกสติปัญญาของประชาชนหรืออย่างไร

อันที่จริงในวงการอสังหาริมทรัพย์มีสมาคมนอกจากกลุ่มบริษัทพัฒนาที่อยู่อาศัยและอาคารชุดแล้ว ยังมีสถาบันการเงินอีกหลากหลาย ทั้งธนาคาร บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ผู้ประกอบการด้านอื่นๆ ทั้งโรงแรม อาคารสำนักงาน ศูนย์การค้า นิคมอุตสาหกรรม ฯลฯ และยังมีนักวิชาชีพอื่นๆ อีกมาก เช่น สถาปนิก วิศวกร ผู้ประเมินค่าทรัพย์สิน นายหน้า นักบริหารทรัพย์สิน ฯลฯ ที่น่าจะให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อทางราชการได้เช่นกัน การ “ผูกขาด” เฉพาะสมาคมด้านบ้านจัดสรร-อาคารชุด จึงอาจไม่เหมาะสมนัก

ในด้านการเผยแพร่ข้อมูลนั้น แน่นอนว่าคงไม่มีใครเสนอให้ใช้ “วิทยุทรานซิสเตอร์” แบบกรณีภัยธรรมชาติ แต่ต้องมีการเผยแพร่ข้อมูลที่ทันการ จะสังเกตได้ว่าศูนย์ข้อมูลทุกประเทศที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นเกาหลี ญี่ปุ่น มาเลเซีย สิงคโปร์ ฮ่องกง ฯลฯ ล้วนแต่ให้ข้อมูลฟรี โดยเผยแพร่อย่างถี่ยิบเพื่อให้ประชาชนได้นำข้อมูลไปใช้ประกอบการซื้อขายบ้าน การลงทุน ฯลฯ และผู้ประกอบการหรือสถาบันการเงิน ก็สามารถนำไปใช้ประกอบการวางแผนธุรกิจ

อย่างไรก็ตามในกรณีของประเทศไทย ปรากฏว่า ข้อมูลพื้นๆ อาจได้รับการเผยแพร่โดยศูนย์ข้อมูลในรูปข่าวสารต่างๆ เป็นระยะๆ แต่รายงานการสำรวจ ประชาชนกลับต้องซื้อในราคามากน้อยแตกต่างกัน อันที่จริงควรแจกข้อมูลอย่างละเอียดฟรีเช่นศูนย์ข้อมูลในประเทศอื่น ยิ่งถ้าเป็นข้อมูลการขาย การตลาด อัตราการขายได้ การเปลี่ยนแปลงราคาอย่างละเอียดแยกเป็นตามทำเลหรือเขต ตามประเภท และตามระดับราคาก็คงไม่มีขาย แต่ก็ไม่ทราบว่ากรรมการทั้งหลายจะได้ไปใช้หรือไม่ กรรมการเหล่านั้นจะเผยแพร่ไปยังหน่วยงานในสังกัด หรือบริษัทสมาชิกสมาคมต่ออย่างละเอียดหรือไม่ และอาจทอดระยะเวลาเนิ่นนานไป จึงทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบกันในด้านการได้รับข้อมูลหรือไม่
ผู้แถลง:
ดร.โสภณ พรโชคชัย (sopon@area.co.th) ประธาน ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส หรือ AREA (www.area.co.th): ซึ่งเป็นองค์กรที่มีฐานข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ภาคสนามขนาดใหญ่ที่สุดและปรับปรุงให้ทันสมัยที่สุดในประเทศไทย และดำเนินการเก็บข้อมูลต่อเนื่องมาตั้งแต่ พ.ศ.2537 เป็นศูนย์ข้อมูลที่มีความเป็นกลางทางวิชาการ และเป็นอิสระทางวิชาชีพ โดยไม่ถูกครอบงำโดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียใด ๆ สมาชิกของศูนย์ข้อมูลฯ ได้รับข้อมูลที่เป็น First-hand information ในเวลาเดียวกัน

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า

กระทู้ฮอตในรอบ 7 วัน

Tags:
Tags:  

หน้า: 1

 
ตอบ

ชื่อ:
 
แชร์ไป Facebook ด้วย
กระทู้:
ไอค่อนข้อความ:
ตัวหนาตัวเอียงตัวขีดเส้นใต้จัดย่อหน้าชิดซ้ายจัดย่อหน้ากึ่งกลางจัดย่อหน้าชิดขวา

 
 

[เพิ่มเติม]
แนบไฟล์: (แนบไฟล์เพิ่ม)
ไฟล์ที่อนุญาต: gif, jpg, jpeg
ขนาดไฟล์สูงสุดที่อนุญาต 20000000 KB : 4 ไฟล์ : ต่อความคิดเห็น
ติดตามกระทู้นี้ : ส่งไปที่อีเมลของสมาชิกสนุก
  ส่งไปที่
พิมพ์อักษรตามภาพ:
พิมพ์ตัวอักษรที่แสดงในรูปภาพ
 
:  
  • ข้อความของคุณอยู่ในกระทู้นี้
  • กระทู้ที่ถูกใส่กุญแจ
  • กระทู้ปกติ
  • กระทู้ติดหมุด
  • กระทู้น่าสนใจ (มีผู้ตอบมากกว่า 15 ครั้ง)
  • โพลล์
  • กระทู้น่าสนใจมาก (มีผู้ตอบมากกว่า 25 ครั้ง)
         
หากท่านพบเห็นการกระทำ หรือพฤติกรรมใด ๆ ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รวมถึง การใช้ข้อความที่ไม่สุภาพ พฤติกรรมการหลอกลวง การเผยแพร่ภาพลามก อนาจาร หรือการกระทำใด ๆ ที่อาจก่อให้ผู้อื่น ได้รับความเสียหาย กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม