สำหรับมูลค่าการลงทุนก่อสร้างรวม(รัฐ+เอกชน)ปี 2566 คาดว่าจะอยู่ที่ 1.34 ล้านล้านบาท หดตัวในช่วง -2.0% ถึง -1.0%(YoY) เป็นผลหลักจากเม็ดเงินลงทุนก่อสร้างภาครัฐที่น่าจะหดตัว เนื่องจากปัจจัยไม่แน่นอนทางการเมือง ทั้งช่วงเวลาที่จะจัดตั้งรัฐบาลใหม่และการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งสำคัญไปจากเดิม ซึ่งจะกระทบต่อการพิจารณางบประมาณประจำปี 2567
.
ทั้งนี้ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่าอาจส่งผลให้การเบิกจ่ายงบลงทุนของภาครัฐตามงบประมาณประจำปี 2567 เลื่อนออกไปหรือไม่สามารถเริ่มเบิกจ่ายได้ทันภายในปีนี้ จากที่ปกติจะเริ่มในเดือนตุลาคมของทุกปี โดยเฉพาะงบฯของหน่วยงานภาครัฐที่มีการลงทุนก่อสร้างต่างๆ เช่น กระทรวงคมนาคม (โครงการโครงสร้างพื้นฐาน)กระทรวงมหาดไทย (โครงการรายจังหวัด ภูมิภาค) แม้ว่าโครงการบางส่วนที่เป็นงานผูกพันอาจใช้งบประมาณประจาปี 2566 ไปพลางก่อนได้
.
ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนคาดว่าจะอยู่ในเกณฑ์ทรงตัว แม้ว่าเม็ดเงินลงทุนเอกชนในโครงการ PPP บางส่วนอาจเลื่อนออกไป แต่มีแรงหนุนจากการก่อสร้างโครงการเชิงพาณิชย์ในจังหวัดสำคัญๆ เพื่อรองรับการฟื้นตัวของการท่องเที่ยว
.
โดยเม็ดเงินลงทุนก่อสร้างจากเอกชนในปี 2566 ยังมีการลงทุนในโครงการอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์ ทั้งโครงการ Mixed-use,การฟื้นฟูกิจการโรงแรมและค้าปลีกเพื่อรองรับการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวในจังหวัดสำคัญๆ แม้การก่อสร้างโครงการที่พักอาศัยอาจยังให้ภาพที่ระมัดระวังท่ามกลางสภาพตลาดที่ยังมีความกังวลด้านกาลังซื้อและอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น
.
ส่วนราคาวัสดุก่อสร้างรายการหลักในปี 2566 โดยเฉพาะเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก คาดว่าจะยังยืนตัวสูงเมื่อเทียบกับช่วงก่อนโควิด-19 เป็นผลหลักจากต้นทุนพลังงานและวัตถุดิบที่ยังยืนสูงตลอดจนต้นทุนที่เพิ่มขึ้นในการปรับตัวสู่อุตสาหกรรมสีเขียวตามเทรนด์ความยั่งยืน
.
นอกจากนี้ ก็ยังต้องติดตามการกลับมาของเศรษฐกิจจีนที่อาจหนุนให้ราคาวัสดุก่อสร้างเพิ่มขึ้นได้ ขณะที่ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในประเทศ 4 เดือนแรกของปี 2566 เพิ่มขึ้น 1.3% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
.
อย่างไรก็ดีศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า ในช่วงที่เหลือของปีมีปัจจัยทาให้ราคาวัสดุก่อสร้างที่แม้ว่าจะยังยืนในระดับสูงแต่คาดว่าจะปรับตัวลดลงจากปีก่อน ไม่ว่าจะเป็นราคาพลังงานที่น่าจะอ่อนตัวลงจากปีที่แล้ว และการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกที่ทาให้อุปสงค์ในตลาดโลกยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่