หน้า: 1

ชนิดกระทู้ ผู้เขียน กระทู้: เปลี่ยนพม่าเป็นประชาธิปไตยไม่ได้ เปลี่ยนประเทศง่ายกว่า  (อ่าน 89 ครั้ง)
add
เรทกระทู้
« เมื่อ: 6 ม.ค. 11, 05:15 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
Send E-mail

แบ่งปันกระทู้นี้ให้เพื่อนคุณอ่านไหมคะ?

ปิดปิด
 
เมื่อคนพม่าไม่อาจเปลี่ยนประเทศตัวเองให้เป็นประชาธิปไตยได้ ก็เลยหันมาเปลี่ยนประเทศไทยให้เป็นประเทศพม่าแทน ดีกว่า..มั้ง?? q*027

V

V


ชาวพม่าซื้อที่ดินบ้าน รถยนต์ เล็งปักหลักแทนขายแรงงาน ผู้ว่าฯเร่งยุทธศาสตร์พัฒนาเมือง ตั้งศูนย์ข้อมูลต่างด้าวแห่งแรกของประเทศ

พันเอกพรศักดิ์ พูลสวัสดิ์ ผู้บังคับการหน่วยเฉพาะกิจ กรมทหารราบที่ 25 กองกำลังเทพสตรี เปิดเผยว่า ได้รับรายงานจากหน่วยงานด้านความมั่นคง ลงสำรวจข้อมูลแหล่งที่อยู่อาศัยของกลุ่มผู้ใช้แรงงานต่างด้าวชาวพม่าใน จ.ระนอง พบกลุ่มแรงงานต่างด้าวชาวพม่าได้ก่อตั้งชุมชนแล้วรวม 38 ชุมชน ซึ่งฝ่ายความมั่นคงวิตกว่ากลุ่มผู้ใช้แรงงานชาวพม่าได้เปลี่ยนเป้าหมายจากเดิมมาหางานทำ มาเป็นการตั้งถิ่นฐานแทน

เห็นได้จากกลุ่มผู้ใช้แรงงานเริ่มทำกิจกรรมทางวัฒนธรรม เช่น ก่อสร้างพระพุทธรูปในวัดต่าง ๆ เพื่อเป็นจุดศูนย์รวมทางจิตใจ รวมถึงตั้งย่านชุมชนร้านค้า สถานบันเทิง เฝ้าระวังคนแปลกหน้าเข้าไป ตั้งผู้นำชุมชน เป็นต้น เช่นเดียวกับ ย่านไชน่าทาวน์ของคนจีน นอกจากนี้ ตัวเลขการหลบหนีเข้าเมืองในรอบปี 2553 ผู้ถูกจับกุมได้ 50 เปอร์เซ็นต์เป็นเด็กเล็กมากขึ้น จากอดีตจะเป็นคนหนุ่มสาวเข้ามาขายแรงงาน ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องสนใจและแก้ปัญหานี้อย่างจริงจัง ก่อนจะเป็นดินพอกหางหมูและแก้ไขยาก

ด้านแหล่งข่าวจากสำนักงานป้องกันจังหวัดระนอง กล่าวว่า จังหวัดระนองมีชาวต่างชาติที่มีฐานะดีชาวพม่าเข้ามาซื้อบ้านจำนวนมาก ส่วนการซื้อที่ดินเริ่มปรากฏในช่วงหลัง การเข้ามาซื้อบ้านและที่ดินบ่งชี้ใน 2 กรณี คือ ต้องการเข้ามาตั้งรกรากในประเทศไทย หรือเข้ามาหาช่องทางทำกินหรือประกอบอาชีพในไทย ส่วนการครอบครองรถยนต์กระบะและเก๋งก็มีข้อมูลเช่นกัน โดยจะมีคนไทยหรือกลุ่มคนไทยทำธุรกิจกับชาวพม่าคอยช่วยเหลือ และออกรับหน้าแทนเมื่อเกิดปัญหา

ด้านนายวันชาติ วงษ์ชัยชนะ ผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง กล่าวยอมรับว่าปัญหาแรงงานต่างด้าวชาวพม่าเป็นปัญหาสะสม เรื้อรังมานาน จนปัจจุบันพฤติกรรมของแรงงานต่างด้าวชาวพม่าส่วนหนึ่งเริ่มแปรเปลี่ยนมีแนวคิดจะตั้งหลักปักฐานในประเทศไทยมากขึ้น เนื่องจากมีช่องทางทำมาหากินหรือประกอบอาชีพได้มากกว่า

"ขณะนี้จังหวัดระนองได้จัดทำโครงการจัดระเบียบชุมชนพม่าในเขตเมืองตามยุทธศาสตร์ความมั่นคง และการจัดทำฐานข้อมูลคนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง ซึ่งเป็นโครงการต่อเนื่องจากโครงการนำร่องเพื่อจัดระเบียบชุมชนพม่าในเขตชุมชนเมืองและพื้นที่เป็นเกาะแก่งของจังหวัดระนองเริ่มมาตั้งแต่ปี 2551 ซึ่งจะเน้นการจัดทำฐานข้อมูลคนต่างด้าว การจัดทำกฎกติกาหมู่บ้าน ชุมชน การจัดทำแผนพัฒนาหมูบ้าน ชุมชน"

ผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง กล่าวต่อว่า เมื่อจังหวัดระนองมีฐานข้อมูลทางทะเบียนของคนต่างด้าว ก็จะง่ายต่อการควบคุมการเข้าออก หรือการเคลื่อนย้าย รวมถึงการดำเนินการใดๆ ดังนั้น เป้าหมายสำคัญทางจังหวัดกำหนดไว้ว่า เมื่อจัดทำฐานข้อมูลพื้นฐานคนต่างด้าวแล้วเสร็จ จะนำข้อมูลทั้งหมดมาไว้ที่ศูนย์ข้อมูลแรงงานต่างด้าวจังหวัดระนอง จะจัดตั้งเป็นแห่งแรกของประเทศ คล้ายศูนย์ข้อมูลทางทะเบียนราษฎร์ของคนไทย



ข่าวจาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน
noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า

กระทู้ฮอตในรอบ 7 วัน

Tags:
add
เรทกระทู้
« ตอบ #1 เมื่อ: 18 ม.ค. 11, 21:17 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

SEO

18 ม.ค. SEO รายงานข่าวแจ้งว่า SEO เมื่อเวลา 13.30 น. SEO ที่ทำเนียบรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ SEO เวชชาชีวะ SEO นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ SEO กล่าวถึงข้อเสนอของอนุกรรมการแก้ไขรัฐธรรมนูญ SEO ชุดของนายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ SEO ฐานะประธานคณะกรรมการศึกษา SEO แนวทางแก้ไขรัฐธรรมนูญและกฎหมาย SEO ที่มีแนวคิดจะแก้ไขรัฐธรรมนูญแยกอำนาจ SEO ฝ่ายบริหารกับฝ่ายนิติบัญญัติ SEO โดยไม่ต้องมีการอภิปรายไม่ไว้วางใจ SEO เหมือนกับระบบกึ่งประธานาธิบดีว่า SEO อันนี้เป็นเรื่องระยะยาวเป็นโครงสร้างใหญ่ SEO คงต้องใช้เวลาในการมาดูกันอีกทีหนึ่ง SEO เนื่องจากเบื้องต้น คิดว่าแก้เพื่อให้ไปสู่การเลือกตั้งได้ก่อน SEO แล้วประเด็นที่ SEO นายสมบัติ เสนอ SEO จึงเป็นประเด็นที่แต่ละพรรคการเมือง SEO ไปกำหนดท่าทีในช่วงการเลือกตั้ง SEO

ทั้ง นี้ SEO ก็มีทั้งข้อดีข้อเสีย SEO โดยการขยับเข้าไปในลักษณะของระบบ SEO ที่มีการแยกอำนาจดูผิวเผินมันก็ดูเหมือนจะ SEO มีเสถียรภาพ SEO แต่ในหลายประเทศจะมีประสบการณ์ SEO ที่ทำให้การทำงานมีปัญหาอีกแบบหนึ่ง SEO แต่อาจจะเป็นปัญหาคนละแบบกัน SEO ส่วนชอบระบบรัฐสภามากกว่า SEO ขณะนี้มันเป็นการถ่วงดุลในระบบรัฐสภา SEO ดังนั้น บางทีคนก็มีความรู้สึกว่าสภาก็ต้องเป็นไปตามเสียงข้างมาก SEO แต่ความเป็นจริงแล้วมันถ่วงดุลโดยสภาพโดยธรรมชาติที่ SEO ซึ่งก็มีน้อยครั้งที่สภาอยู่ครบวาระ เมื่ออเราแยกอำนาจการทำงานของฝ่ายบริหารจะยากขึ้นหากไม่มีเสียงข้างมากใน SEO ฝ่ายนิติบัญญัติ แต่ว่ารัฐบาลนั้นๆก็จะอยู่นานสี่ปีหรือเป็นไปตามวาระ

สำหระบข้อเสนอนี้ ยังไม่ได้เสนอมาอย่างเป็นทางการ คงจะต้องดูว่ามันมีรายละเอียดอะไรอย่างไร SEO เพราะเข้าใจว่าในตัวของการศึกษาของคณะกรรมการชุดนี้เองจะหยิบเฉพาะประเด็น ใดประเด็นหนึ่งก็ไม่ได้ อาจจะมีความเกี่ยวข้องในอนาคตว่า หากจะมีการปรับหรือรื้อใหญ่มันควรจะมี กระบวนการในการแก้ไขเพิ่มเติมอย่างไรด้วย

อย่างไรก็ตาม กรณีดังกล่าว ชุดการสมัชชาปฏิรูปการเมืองของ นพ.ประเวศ ก็ยังไม่ได้ทำรายงานเข้ามา SEO ที่ติดตามอยู่คือเน้นเรื่องการกระจายอำนาจมากกว่า เนื่องจากแนวคิดหลักคือทำอย่างไร ในการการลดความสำคัญของการมีศูนย์อำนาจจากส่วนกลาง ซึ่งตรงนี้อาจจะเป็นคนละส่วนกับที่นายสมบัติเสนอ SEO
noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
Tags:  

หน้า: 1

 
ตอบ

ชื่อ:
 
แชร์ไป Facebook ด้วย
กระทู้:
ไอค่อนข้อความ:
ตัวหนาตัวเอียงตัวขีดเส้นใต้จัดย่อหน้าชิดซ้ายจัดย่อหน้ากึ่งกลางจัดย่อหน้าชิดขวา

 
 

[เพิ่มเติม]
แนบไฟล์: (แนบไฟล์เพิ่ม)
ไฟล์ที่อนุญาต: gif, jpg, jpeg
ขนาดไฟล์สูงสุดที่อนุญาต 20000000 KB : 4 ไฟล์ : ต่อความคิดเห็น
ติดตามกระทู้นี้ : ส่งไปที่อีเมลของสมาชิกสนุก
  ส่งไปที่
พิมพ์อักษรตามภาพ:
พิมพ์ตัวอักษรที่แสดงในรูปภาพ
 
:  
  • ข้อความของคุณอยู่ในกระทู้นี้
  • กระทู้ที่ถูกใส่กุญแจ
  • กระทู้ปกติ
  • กระทู้ติดหมุด
  • กระทู้น่าสนใจ (มีผู้ตอบมากกว่า 15 ครั้ง)
  • โพลล์
  • กระทู้น่าสนใจมาก (มีผู้ตอบมากกว่า 25 ครั้ง)
         
หากท่านพบเห็นการกระทำ หรือพฤติกรรมใด ๆ ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รวมถึง การใช้ข้อความที่ไม่สุภาพ พฤติกรรมการหลอกลวง การเผยแพร่ภาพลามก อนาจาร หรือการกระทำใด ๆ ที่อาจก่อให้ผู้อื่น ได้รับความเสียหาย กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม