
นอกจากนี้ ยังมีประเด็นการให้ ความจริงกับสาธารณชน เนื่องจากน้ำท่วม เป็นภัยพิบัติร้ายแรงที่ต้องให้ความจริงกับประชาชน แต่ที่ผ่านมามีข้อสงสัยว่าเป็นเพราะสาเหตุที่เกิดความเสียหายคืออะไรกันแน่ ระหว่าง
“รู้จริงแล้วไม่พูดหรือไม่รู้จริง และพูดไม่จริง” แต่ที่หนักที่สุด คือ พูดแล้วไม่มีคนเชื่อถือ และหากข้อสงสัยเรื่องธรรมาภิบาลเป็นจริงว่ามีการจัดการน้ำท่วมที่เอื้อประโยชน์ให้บางจุด ก็ต้องสรุปได้เลยว่า
“เลวมาก” เพราะน้ำท่วมครั้งนี้เป็นภัยพิบัติของชาติ
“การจัดการที่ผิดพลาดที่ผ่านมาสะท้อนได้ว่ารัฐไม่มีประสิทธิภาพในการจัดการ ซึ่งหลายคนคงไม่ว่าอะไร หากเรามีผู้นำที่ไม่เก่ง แต่มีทีมที่เก่ง แต่ตอนนี้ไม่มีอะไรเลย” พรศิลป์ กล่าว พร้อมกับย้ำว่าความน่าเชื่อถือที่หดหายไป ทำให้ภารกิจที่ควรเป็นของรัฐตกไปอยู่กับส่วนอื่นแทน อย่างการให้ข้อมูลจะพบว่าตอนนี้คนส่วนใหญ่เชื่อข้อมูลที่มาจากสื่อมากกว่าส่วนข้อมูลของศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) กลายเป็นเพียงส่วนหนึ่งของสื่อเท่านั้น เท่ากับเราเสียทรัพยากรชาติไปโดยเปล่าประโยชน์ ทั้งบุคลากร และเวลา
“ความจริงแล้วนายกรัฐมนตรีจะต้องรับผิดชอบด้วยตัวเอง แต่ที่เราได้เห็น คือ ทุกคนในรัฐบาลต่างคนต่างพูด” พรศิลป์ สรุปอีกครั้งจะทำอย่างไรจึงจะเรียกความเชื่อถือและเชื่อมั่นที่สูญเสียไปให้กลับคืนมาคำแรกที่นายกรัฐมนตรีจะต้องประกาศออกไปหลังจากสถานการณ์เบาบางลงแล้ว ก็คือ
“ประเทศไทยต้องไม่มีน้ำท่วมอีก” 
