ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ประวัติ
เกิดวันที่ 22 กันยายน 2495
บุตรของพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุขุมาภินันท์ (พระโอรสใน จอมพลเรือ จอมพลสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต) และหม่อมดุษฎี บริพัตร ณ อยุธยา (นามสกุลเดิม ณ ถลาง)
สมรสกับนางสาวิตรี บริพัตร ณ อยุธยา
(นามสกุลเดิม ภมรบุตร)
มีบุตรคนที่ 1 ชื่อ หม่อมหลวงพินิตพันธุ์ บริพัตร
(จากการสมรสกับนางนุชวดี บำรุงตระกูล)
คนที่ 2 ชื่อ หม่อมหลวงวราภินันท์ บริพัตร
(จากการสมรสกับนางสาวิตรี บริพัตร ณ อยุธยา)
ตำแหน่งทางการเมืองที่สำคัญ
- รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (พฤศจิกายน
2540 - กุมภาพันธ์ 2544
- คณะกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ (เมษายน 2542 -
พฤษภาคม 2546)
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร (พฤศจิกายน
2539 - พฤศจิกายน 2543 และมกราคม 2544 -
27 พฤศจิกายน 2551)
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ระบบบัญชีรายชื่อ และแบบสัดส่วน
กลุ่มที่ 6 กรุงเทพมหานคร, นนทบุรี, สมุทรปราการ
(มีนาคม 2548 -กุมภาพันธ์ 2549 และ 23 ธันวาคม 2550 -
27 พฤศจิกายน 2551 ตามลำดับ)
- คณะกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ (มีนาคม 2548 -
27 สิงหาคม 2551)
- รองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ (มีนาคม 2548 -
27 สิงหาคม 2551)
- รองประธานคณะกรรมาธิการการต่างประเทศ สภาผู้แทนราษฎร
(เมษายน 2548 - กุมภาพันธ์ 2549)
- กรรมการคณะกรรมาธิการการต่างประเทศ สภาผู้แทนราษฎร
(23 ธันวาคม 2550 - 27 พฤศจิกายน 2551)
การศึกษา
- ระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ณ โรงเรียน Cheam
(ดำรงตำแหน่ง หัวหน้านักเรียน) และโรงเรียน Rugby
ประเทศอังกฤษ (ดำรงตำแหน่ง หัวหน้า House หรือสี และได้
รับทุนการศึกษาเรียนดีเด่น) (พ.ศ. 2506-พ.ศ. 2513)
- ระดับปริญญาตรีเกียรตินิยมอันดับ 2 และปริญญาโท
ณ Pembroke College มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด ประเทศ
อังกฤษ ทางด้านปรัชญา การเมือง และเศรษฐศาสตร์ (PPE)
(พ.ศ. 2514 - พ.ศ. 2520)
- ระดับปริญญาโท ณ มหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์ ประเทศสหรัฐ
อเมริกาทางด้าน ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (พ.ศ. 2521)
- ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการจัดการทรัพยากร
การเกษตรและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัย
แม่โจ้ พ.ศ. 2548
ประวัติการทำ
งานพ.ศ. 2523 - พ.ศ. 2539
- รับราชการในตำแหน่งอาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พ.ศ. 2530 - พ.ศ. 2536
- ผู้อำนวยการสถาบันศึกษาความมั่นคงและนานาชาติ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พ.ศ. 2530 - พ.ศ. 2534
- ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการการต่างประเทศ สภาผู้แทนราษฎร
(พ.ศ. 2530 - พ.ศ. 2531 และ พ.ศ. 2532 - พ.ศ. 2534) พ.ศ. 2532 - พ.ศ. 2534
- ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการกิจการสภาผู้แทนราษฎร
พ.ศ. 2531 - พ.ศ. 2532
- ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาทางด้านนโยบายต่างประเทศของ
นายกรัฐมนตรี พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ
พ.ศ. 2534 - พ.ศ. 2536
- นายกสมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย
พ.ศ. 2535 - พ.ศ. 2537
- ประธานคณะกรรมาธิการที่ปรึกษาการพาณิชย์ฝ่ายต่างประเทศ
ของกระทรวงพาณิชย์ (พฤศจิกายน พ.ศ. 2535 - กุมภาพันธ์
พ.ศ. 2537)
พ.ศ. 2535 - พ.ศ. 2536
- ประธานคณะทำงานร่วมอาเซียน-เวียดนาม เพื่อศึกษาและ
เสนอแนะแนวทางในการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างอาเซียน-
เวียดนาม
พ.ศ. 2537
- สมาชิกของ COMMISSION FOR A NEW ASIA
พ.ศ. 2544 - พ.ศ. 2547
- กรรมการบริหารสถาบันพระปกเกล้า
พ.ศ. 2545 - 2547
- ประธาน Council of Liberal and Democrats (CALD)
- อาจารย์พิเศษในสถาบันการศึกษาหรือหลักสูตรของ
หน่วย
งานราชการต่าง ๆ เช่น กองทัพ กระทรวงมหาดไทย
กรมตำรวจ กรุงเทพมหานคร และมหาวิทยาลัยต่างประเทศ
เช่น มหาวิทยาลัยโคลัมเบียแห่งนครนิวยอร์ค และ
มหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์แห่งกรุงวอชิงตัน ดีซี
- ประธานคณะทำงานร่วมอาเซียน-กัมพูชา-ลาว เพื่อศึกษา
และเสนอแนะ แนวทางในการส่งเสริมความร่วมมือระหว่าง
อาเซียน-กัมพูชา-ลาว
- เคยได้รับ
แต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพ-
มหานคร (ดร.พิจิตต รัตตกุล) ในคณะกรรมการต่างๆ คือ
1. ประธานคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านการมีส่วนร่วม
ของประชาชน
2. ประธานคณะกรรมการบริหารกิจการสำนักงานตลาด
3. ประธานคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านการตรวจสอบ
และป้องกันการทุจริตและ ประพฤติมิชอบใน
วงราชการกรุงเทพมหานคร
4. กรรมการที่ปรึกษาด้านกฎหมายและการยุติธรรม
- มีผลงานวิจัยและบทความเกี่ยวกับความมั่นคงและความ
สัมพันธ์ระหว่างประเทศมากมาย ซึ่งได้ตีพิมพ์และเผยแพร่
ทั้งในและนอกประเทศ อาทิ ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศ
ญี่ปุ่น ประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นต้น อีกทั้ง
ได้มีผลงานทางวิชาการร่วมกับนักวิชาการระดับนานาชาติ
หลายคน อาทิ Professor Robert Scalapino
- เคยเขียนคอลัมน์ประจำให้แก่ หนังสือพิมพ์ผู้จัดการราย
สัปดาห์ และ หนังสือพิมพ์แนวหน้า
- เคยเขียนคอลัมน์รับเชิญให้แก่นิตยสารต่างประเทศหลายฉบับ
รวมถึง Far Eastern Economic Review, The International
Herald Tribune, The Asian Wall Street Journal
เกียรติประวัติ
- ได้รับการยกย่องเป็นหนึ่งในร้อยผู้นำระดับโลกในศตวรรษที่ 21 โดยนิตยสาร TIME ในปี พ.ศ. 2538
- ได้รับรางวัลผู้ทำคุณประโยชน์ให้แก่กระทรวงศึกษาธิการ
ประจำปี 2546
ตำแหน่งทางสังคม
- ประธานกรรมการบริหารมูลนิธิจุมภฏ-พันธุ์ทิพย์ (ตั้งแต่ปี
พ.ศ. 2530 ถึงปัจจุบัน)
- กรรมการหรือสมาชิกของสถาบันระดับนานาชาติหลายแห่ง
รวมถึง THE ASIA SOCIETY แห่งนครนิวยอร์ก และ สถาบัน
นานาชาติเพื่อยุทธศาสตร์ศึกษา (International Institute for
Strategic Studies) แห่งกรุงลอนดอน
- กรรมการจัดหาและบริการดวงตาแห่งสภากาชาดไทย (เดือน
มีนาคม 2549 ถึงปัจจุบัน)
- กรรมการมูลนิธิประชาธิปก-รำไพพรรณี
- กรรมการมูลนิธิช่วยนักเรียนที่ขาดแคลน ในพระบรมราชูปถัมภ์
- ที่ปรึกษามูลนิธิกล้วยไม้ไทย (สิงหาคม 2546 ถึงปัจจุบัน)
- ประธานคณะกรรมการจัดงานรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอด
เยี่ยมแห่งอาเซียน หรือ ซีไรต์ (พ.ศ. 2542 ถึงปัจจุบัน)
- ประธาน Asian Dialogue Society (พ.ศ. 2547 ถึงปัจจุบัน)
- วิทยากรบรรยายพิเศษให้กับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ
มหาวิทยาลัยนเรศวร
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
- พ.ศ. 2524 ตติยจุลจอมเกล้า (ต.จ.) ฝ่ายหน้าสืบสายสกุล
จากพระบิดา พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุขุมาภินันท์
- พ.ศ. 2529 ตริตาภรณ์มงกุฏไทย (ต.ม.)
- พ.ศ. 2531 ทวีติยาภรณ์มงกุฏไทย (ท.ม.)
- พ.ศ. 2535 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)
- พ.ศ. 2540 ประถมาภรณ์มงกุฏไทย (ป.ม.)
- พ.ศ. 2541 มหาวชิรมงกุฏ (ม.ว.ม.)
- พ.ศ. 2542 มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)