tablat = ใช้มือ

วันทยาหัต tablat salute
สมัยก่อน จะมีการสั่งกลุ่มทหาร กรณี มี ผู้บังคับบัญชา ผ่านมา จะขานดัง
ๆ ว่า
ลาส . . .. ตะ เบ๊ล . . . ซาลูท
คงเป็น ทหารแขก หรือ กรูข่า มิทราบได้ มาขานแบบสั้น ๆ ตามสำเนียงเผ่าตนเอง ว่า
ล๊า . . . ต่าเบ๊ะ .. สลุด
มีที่มาจาก อัศวินสมัยโบราณอ่ะครับ สมัยก่อน อัศวินจะต้องใส่หมวกเหล็ก
ดูจากชุดเกราะโบราณ จะมีหมวกเหล็กที่มีตะแกรงด้านหน้าตรงตา เอาไว้มองนั่นแหละครับ
สมัยก่อน ก็จะมีการประลองกำลังแบบตัวต่อตัวเหมือนกัน ส่วนมากจะทำกันบนหลังม้า
ก่อนที่อัศวินจะประลอง ก็จะมีการเปิดตะแกรงด้านหน้าออกมา เพื่อให้คู่ต่อสู้ดูว่า
เฮ้ย เจ้าอ่ะ ต้องต่อสู้กับข้านะเฟ้ย จำหน้าไว้ให้ดี ๆ ซึ่งเป็นการให้เกียรติอีกฝ่ายหนึ่งด้วย
คล้าย ๆ กับชาวจีนที่การต่อสู้แบบตัวต่อตัวนั้น จะต้องบอกชื่อของตัวเองให้อีกฝ่ายหนึ่งรู้
ต้นกำเนิดมาจากตรงนี้ ถือว่าเป็นการให้เกียรติซึ่งกันและกัน เมื่ออีกฝ่ายเปิดหมวกออก
อีกฝ่ายก็จะรับการเคารพด้วยการเปิดเผยหน้าให้ดูเช่นกัน เลยเป็นประเพณีสืบต่อกันมา
วิธีการเปิดตะแกรงด้านหน้าออก ก็โดยการใช้ฝ่ามือดันตะแกรงด้านหน้าขึ้นไป
พอมีการทักทายกันแบบนักรบเสร็จแล้ว ก็จะประลองกำลังกันต่อไป
หลังจากนั้นมา การแสดงความเคารพแบบนี้ก็ได้แพร่หลายในหมู่นักรบทั่วไป
กลายเป็นการแสดงความเคารพในแบบปกติด้วย
และสังเกตว่า การแสดงตะเบ๊ะของทหารและตำรวจไทย จะไม่ตะเบ๊ะถ้าไม่มีหมวกอยู่
ส่วนการเปิดเผยว่า ไม่มีอาวุธอยู่ในมือนั้น
ชาวจีน นิยมปัดมือทั้ง 2 ข้าง ขณะเข้าเฝ้าฮ่องเต้ นี่เป็นการเปิดเผยว่า ไม่ได้มีอาวุธติดมือมาด้วย
ส่วนชาวเกาหลี จะต้องซุกมือไว้ในแขนเสื้อตลอดเวลา เพื่อป้องกันการชักอาวุธ
ส่วนนักรบที่มีดาบหรือกระบี่ในมือ จะต้องถอดฝักออก(ไม่รู้เหมือนกันว่าทำไม)
แล้วกดปลายดาบหรือมีดให้ต่ำลง สังเกตได้จากท่าวันทยาวุธของทหารและตำรวจ
ส่วนถ้าอาวุธเป็นปืน จะต้องดันปลายกระบอกปืนขึ้นสู่ฟ้า มือขวาเรียบไปกับพานท้ายปืน
เพื่อเป็นการประคองปืนให้อยู่นิ่ง แต่ท่าก็ดัดแปลงไปตามสมัย
ถ้าเป็นเรือรบที่มีปืนอยู่ที่ด้านหน้าเรือ เวลาเจอเรือที่เป็นมิตรกัน ก็จะยิงสลุตลงทะเล
แสดงให้เห็นว่า เรือคุณเข้ามาได้นะ เราได้ทำการปลดกระสุนออกจากประบอกปืนเรียบร้อยแล้ว
อีกฝ่ายก็จะยิงสลุตตอบแสดงให้เห็นว่า ฝ่ายเราก็ปลดกระสุนออกแล้วเช่นกัน
การยิงสลุตยังใช้ได้กับป้อมปืนริมชายฝั่งอีกด้วย ต่อมาก็เป็นประเพณีไปอีกเช่นเดียวกัน
ปัจจุบันการยิงสลุตกี่นัดนั้นขึ้นอยู่กับระดับความสำคัญของอีกฝ่ายหนึ่ง
credit puntip