หน้า: 1

ชนิดกระทู้ ผู้เขียน กระทู้: "ทำไมอเมริกา..ไม่สร้างรถไฟความเร็วสูง..???"เพราะ...  (อ่าน 3784 ครั้ง)
Guest
นะฮะ
เรทกระทู้
« เมื่อ: 12 พ.ค. 13, 16:56 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
Send E-mail

แบ่งปันกระทู้นี้ให้เพื่อนคุณอ่านไหมคะ?

ปิดปิด
 

ขอแสดงความคิดเห็น
เนื่องจากตัวดิฉันเองอาศัยอยู่ในประเทศนี้ มาเป็นเวลาหลายปี

คนไทยทั่วไป โดยเฉพาะ “สลิ่ม” นั้น ยังเข้าใจว่า ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นประเทศเดี่ยวเช่นเดียวกับประเทศไทย แต่ที่จริงไม่ใช่ คุณไม่สามารถเปรียบเทียบสหรัฐกับประเทศไทยได้เลย เพราะสหรัฐเกิดจากการรวมตัวของรัฐอิสระ 50 รัฐ มาอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญใหญ่คือรัฐบาลกลาง และให้การยอมรับต่อกฎหมายรัฐบาลกลาง

1.การสร้างรางรถไฟความเร็วสูงนั้น รัฐบาลกลางจะสร้างเองไม่ได้ ต้องให้เอกชนเป็นผู้จัดการประมูลทุกอย่าง รวมทั้งเส้นทางต่างๆ กฎหมายของทุกๆ รัฐมีเกี่ยวกับเรื่อง anti-trust law หรือห้ามการผูกขาดอยู่ด้วย ถ้าไม่มีใครประมูลเส้นทาง ก็จะดำเนินการก่อสร้างไม่ได้
2.ตัวอย่างคือ ถ้าจะมีการสร้างทางรถไฟจากรัฐมิชิแกน เข้าไปสู่รัฐอินเดียน่า ก็จะต้องมีการประชุมระหว่างตัวแทนทั้งสองรัฐว่า ทุกอย่างโอเคหรือเปล่า มีการโหวดเข้าสู่วาระหรือยัง มีการประชุมกันเป็นสิบๆ ครั้ง และยังจะต้องมีการกำหนดงบประมาณด้วยว่า จะต้องเป็นเท่าไร แต่ละรัฐจะต้องควักกระเป๋าจ่ายด้วย (ไม่ใช่รัฐบาลกลางเป็นผู้จ่ายแบบประเทศไทย)
3.การก่อสร้างทุกอย่าง จะต้องให้ประชาชนที่มีส่วนกระทบเข้ารับฟังและทำการโหวต ไม่ใช่อยู่ๆ ก็เข้าไปสร้างได้เลย
4.การสร้างเรื่องนี้ จะต้องได้รับความร่วมมือจากรัฐที่เกี่ยวข้อง ตัวอย่างเช่น รถไฟของ Amtrak ที่ได้รับงบประมาณอุดหนุนส่วนหนึ่งจากรัฐบาลกลาง รถไฟความเร็วสูงจะมีความต้องการต่อประชาชนหรือไม่? เราสามารถเดินทางจากเมืองหนึ่งไปอีกเมืองหนึ่งด้วยการใช้ ฟรีเวย์ หรือ ขึ้นเครื่องบินไปสิ่งอำนวยสะดวกต่างๆ มีพร้อมสรรพอยู่แล้ว ดังนั้น รถไฟความเร็วสูงแทบจะไม่มีความต้องการเลย
5.ดิฉันเคยเดินทางจากเมือง Indianapolis ไปเมือง Chicago ทั้งขับรถไปเอง, ไปรถไฟ และไปเครื่องบิน เรามีวิธีการหลายอย่างที่สามารถไปถึงจุดหมายได้ ถ้าอยากไปเร็ว ก็ต้องจ่ายแพงหน่อย
6.การสร้างรถไฟความเร็วสูง ต้องพิจารณาอุปสงค์และความต้องการของประชาชนด้วยว่ามีมากน้อยแค่ไหน? ถ้าสร้างไปแล้วขาดทุน ใครจะลงทุนสร้าง
7.ปกติในสหรัฐนั้นเราใช้ freeway ในการขับรถยนต์ไปไหนมาไหน ซึ่งมีความสะดวกเป็นอย่างยิ่ง เพราะท่านที่อยู่ที่นี่คงทราบดีว่า ถนนสี่เลนขนาดใหญ่กว่าเมืองไทย ไม่มีการจราจรติดขัดแต่อย่างใด อยากจะจอดที่ Rest Area หรือ truck stops ที่ไหนก็ได้ ทั้งสะดวกและปลอดภัย ดังนั้นความจำเป็นที่จะต้องใช้รถไฟความเร็วสูงจึงแทบจะไม่มีเลย เพราะความเร็วในการขับรถบน freeway นั้น อยู่ที่ 70 ไมล์ต่อชั่วโมง
8.สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ อุปสงค์ของประชาชนในรัฐต่างๆ ที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกอย่างเต็มที่ให้อยู่แล้ว ซึ่งผิดกับประเทศไทย
9.ท่านที่อยู่ทาง East Coast คงจะเห็นรถไฟ Amtrak เข้าสู่สถานีตลอดเช่นกัน
10.รัฐแต่ละรัฐ มีขนาดต่างๆ กัน เมืองแต่ละเมืองไม่ได้อยู่ใกล้กันขนาด 300-400 กิโลเมตรแบบเมืองไทย ดังนั้น การก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ท่านคิดว่ามัน make sense หรือเปล่า?
บอกตรงๆ เลยว่า การเปรียบเทียบสหรัฐอเมริกากับประเทศไทยนั้นแตกต่างกันอย่างลิบลับ อย่าลืมว่า ความใหญ่โตของประเทศสหรัฐนั้น มี time zone อยู่ทั้งหมด 6 Timezones การที่จะสร้างรถไฟความเร็วสูงนั้น เราใช้สายการบินภายในประเทศไปสู่เมืองใหญ่ๆไม่สะดวกและรวดเร็วกว่าหรือ เพราะที่นี่การเดินทางโดยใช้เครื่องบิน มีความสะดวกมากกว่ารถไฟความเร็วสูงค่ะ
q*071q*062q*033

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า

กระทู้ฮอตในรอบ 7 วัน

add
เรทกระทู้
« ตอบ #1 เมื่อ: 12 พ.ค. 13, 18:15 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 
เพราะอเมริกา ไม่มีตังค์ไงฮัฟฟฟฟ ถ้ามี...เค้าก็คงสร้างไปนานแล้ว

คงไม่เหมือนพี่ไทยเราหรอกครับ ไม่มีตังค์ ก็ กู้ เค้ามาสร้าง ยังไงล่ะ 555
q*020

cocococococo

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Guest
เฮโลฯ..
เรทกระทู้
« ตอบ #2 เมื่อ: 12 พ.ค. 13, 19:49 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 
อ้าว..เป็นอะไรกันแน่..เมื่อก่อนเป็นผู้ชายไม่ใช่เร๊อะ..
มาคราวนี้ ใช้สรรพนาม ดิฉัน..555 ตุ๊ดเฒ่า แปลงร่างสำเร็จแล้ว..กลับกลายเป็นหญิงเต็มตัว..ภาษาพวกทิปฟานี่ เขาเรียกว่าเฉาะเรียบร้อยแล้ว...555ขำ555ข๊ำขำ5555

555 อุส่าห์ร่ายเรื่องรถเลวมา..แต่พอผมอ่านเห็นคำ ดิฉัน..ผมขอฮาก่อน แล้วค่อยอ่านทีหลัง5555 ตุ๊ดเฒ่ากลายร่างเป็นหญิง5555

คำว่าดิฉัน คนรุ่นนี้เขาพูดว่า อ่ะฮั๊น..หรือคำว่า,,เดี้ยน,,555 ตุ๊ดเฒ่าเฉาะสำเร็จแล้ว..555..
noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Guest
k542
เรทกระทู้
« ตอบ #3 เมื่อ: 12 พ.ค. 13, 21:24 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

สวัสดีค่ะคุณนะฮะ(หวังว่าเป็นคุณนะฮะคนที่คิมรู้จักนะคะ)...สบายดีนะคะ ไม่เจอนานเลย ดีใจที่ได้พบคุณอีก q*064q*062
noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #4 เมื่อ: 13 พ.ค. 13, 06:57 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 
อ๋อหราาา...ไม่บอกไม่รู้นะเนี่ย แล้วเมืองไทยเราไม่มีสนามบินตามหัวเมืองใหญ่ๆให้ใช้บริการกันบ้างรึไง? แอมแทร็คของเมกาความเร็วก็ไม่ต่างจาก รฟท. มากนัก

สร้างฟรีเวย์สิ ถ้าคิดถึงเรื่องอุปสงค์-อุปทานกันจริงๆ ดูจะถูกเรื่องถูกราวกว่า กับจำนวนรถยนต์ที่เพิ่มขึ้นมากมายในตอนนี้ งบประมาณก็น้อยกว่ากันเยอะเลย ทำไมต้องดันทุรังสร้างรถไฟความเร็วสูงที่คาดว่าอัตราค่าบริการน่าจะพอๆ กับเครืองบิน ถ้าไม่คิดจะตั้งท่ากอบโกยงบประมาณ คงไม่มีเหตุผลอื่นที่น่าเชื่อถืออีกแล้ว...นะฮะ อิ อิ
noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Guest
เฮโลฯ..
เรทกระทู้
« ตอบ #5 เมื่อ: 13 พ.ค. 13, 13:49 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 
5555ตุ๊ดเฒ่า..นายยังไม่ตอบกระทู้นะ..เราถามนายว่า นายเป็นอะไรกันแน่..
แล้วที่ผ่านๆมา นายไม่เคยส่อแววเลยว่า นายอยู่ต่างประเทศ..
ที่เราแหย่นายเนี้ย..เพราะ..อยากจะทราบว่านายมีกี่ร่างกันแน่..
เราและนาย เป็นเจ้าแห่งบอร์ดมาด้วยกัน ตอนหลัง เมื่อมาเจอกันแล้ว แล้วนายทำเป็นเมินเฉย เหมือนไม่รู้จักกัน..
แม้..เราไม่เคยบอกขอเป็นเพื่อนกัน แต่ด้วยการที่เราได้พูด ได้สนทนากัน มันก็เหมือนคนเป็นเพื่อนกัน
แม้เราจะชอบแปลงเนมฯ แต่เราก็ไม่ได้แปลงร่าง..นายน่าจะจำเราได้..

นะฮะ..เจ้ามีกีร่างกันแน่..แล้ว..นามที่้เราเรียกหานาย มมีเพียงเราคนเดียวที่เรียกนายว่า ตุ๊ดเฒ่า..
นายโม้มา แตต่เราจะโม้ไปบ้าง เราจะไปให้ไกลกว่านายเสียอีก..ไปให้ไกลจากพวกโกงสะบัดช่อพวกนี้..เรามีลูกชายแบบไม่ต้องเปลืองแรง อยู่สวีเด็น..
noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Guest
นะฮะ
เรทกระทู้
« ตอบ #6 เมื่อ: 14 พ.ค. 13, 14:04 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

สวัสดีครับ หนูคิม-ตาเฒ่าปากหวาน-คุณมเหศักดิ์ ณ ดีทรอยต์ - คุณลองตะคำ-ลำตะคอง......
ก็ห่างหายไปนาน..แต่ก็ไม่ได้ไปไหน..แวะเวียนมาอ่านอยู่เป็นประจำ..
พอดีมีความเห็นของเพื่อนคนหนึ่งในสหรัฐฯ นามดวงจำปา..เขาเม้นท์เอาไว้เรื่อง รถไฟความเร็วสูง...
ก็จึงยกมาให้ได้แลกเปลี่ยนกันดู...
แต่ดันลืมใส่นาม "คุณดวงจำปา" เจ้าของบทความ.....
ต้องขออภัยมณีสิกขา.ด้วย...อิๆๆ

q*033q*039

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Guest
นะฮะ
เรทกระทู้
« ตอบ #7 เมื่อ: 14 พ.ค. 13, 14:10 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 
จากประสบการณ์ที่เห็นมาหลายๆ รัฐ

1. เรื่องการก่อสร้างทุกอย่างขึ้นอยู่กับความร่วมมือของแต่ละรัฐว่าจะเอาอย่างไร ไม่ใช่เรื่องของรัฐบาลกลางที่จะเข้ามายุ่งเลย

2. ภาษีที่จะต้องใช้เป็นเงินสนับสนุนบางส่วนนั้น จะต้องได้รับการอนุมัติจากเสียงของประชาชนก่อนเสมอ

3. รัฐแต่ละรัฐมีลักษณะพิเศษในตัวของการบริหารด้วย

4. ดิฉันเดินทางบ่อยทั้งในรัฐและระหว่างรัฐ สิ่งที่ผู้คนที่นี่ใช้กันบ่อยคือ เครื่องบินส่วนตัวหรือ private jets ซึ่งคิดว่าทางประเทศไทยคงจะมีการใช้น้อยกว่ามาก การเดินทางโดย private jets เป็นการเดินทางที่เร็วและสามารถไปไหนมาไหนในระยะสั้นได้ สนามบินหลายแห่งเป็นของเมืองและของรัฐ (ไม่ใช่ของรัฐบาลกลาง) ดังนั้น regional carriers หรือการใช้ยานพาหนะในการเดินทางแบบนี้ เป็นเรื่องที่สะดวก, รวดเร็วพอสมควร ถ้าไม่ใช้เครื่องบินใหญ่

5. รัฐแต่ละรัฐมี municipal airports เพื่อเครื่องบินเล็กโดยเฉพาะ

6. บริษัทรถไฟเช่น Amtrak อยู่ในสถานภาพขาดทุน เนื่องจากไม่สามารถสู้กับการขนส่งมวลชนในรูปอื่นๆ ได้ (อย่าลืมว่า สัญชาติญาณของคนอเมริกันทั่วไป ชอบกระทำการด้วยตัวเอง) ดังนั้น การขับรถเองจากจุดหมายหนึ่งไปสู่จุดหมายหนึ่งนั้น เป็นเรื่องที่สะดวก และกระทำกันอย่างง่ายดาย ตั้ง GPS แล้วก็ทราบว่า จะต้องใช้เวลาเท่าไรกว่าจะถึงจุดหมาย ถนนหนทางสะดวก และ Freeway ต่างๆ ไม่ได้ตัดเข้าไปในเมือง

7. การสร้างรถไฟความเร็วสูงนั้น ปัจจัยที่สำคัญที่สุดคือ repeated customers หรือผู้โดยสารที่ต้องใช้บริการอย่างต่อเนื่องเป็นประจำ การเดินทางจากเมืองใหญ่ๆ เดือนละหนหรือสองเดือนหนนั้น ไม่สะดวกอย่างแน่นอน จำนวนลูกค้าที่จะใช้บริการ เป็นตัวหลักในการคำนวณว่า ควรจะสร้างหรือไม่สร้าง และ ถ้ามีการขนส่งพืชผลทางการเกษตร ก็จะต้องมีระบบลำเลียงเข้าสู่สถานีอีกต่างหาก ค่าใช้จ่ายและต้นทุนจะเพิ่มขึ้นกว่าเก่าหรือไม่

8. เมืองใหญ่ๆ ที่เชื่อมกันแต่ละรัฐ อยู่ห่างกัน 4-5 ชั่วโมงในการใช้รถยนต์ธรรมดาขับด้วยความเร็ว 70 ไมล์ต่อชั่วโมง ระยะทาง 300 ไมล์ ก็ใช้เวลา 4- 4 ชั่วโมงครึ่ง รถไฟความเร็วสูงจะใช้เวลาเท่าไร เสียค่าใช้จ่ายเท่าไร

9. คนอเมริกันเดินทางกันเป็นครอบครัว ถ้าออกไปต่างเมืองและไม่ใช่เรื่องธุรกิจ การใช้รถไปสู่จุดหมายปลายทาง (หรือแม้แต่เช่ารถ) คุ้มกว่าการใช้ยานพาหนะอย่างอื่น

10. อย่าลืมว่า รัฐบาลกลาง เป็นเจ้าของกิจการเพื่อ “ผลกำไร” ไม่ได้ เพราะผิดกฎหมายรัฐธรรมนูญของที่นี่ การสร้างรางรถไฟหรือนำตัวรถไฟเข้ามา เป็นเรื่องของการตกลงของฝ่ายเอกชนกัน ส่วนรถเมล์นั้น ทางเมืองเขาสามารถเข้าไปบริหารได้ เพราะเป็นเรื่องของการนำรายได้เข้าเมืองนั้นๆ โดยตรง

ขนาดจะสร้าง freeway ใหม่ ก็ต้องเสียเวลาเจรจากับเจ้าของพื้นที่ ต้องประชุมว่า ต้องตัดผ่านที่ไหน โค้งเท่าไร ประชุมกันเป็นสิบๆ หน รวมทั้ง ประชาชนต้องโหวดอนุมัติให้ด้วย เรื่องแบบนี้ ต้องนำเข้าสู่ Preposition ในการเลือกตั้งเป็นอย่างแรก

11.อีกประการหนึ่งคือ รถไฟความเร็วสูงจะเข้ามา “ตัดลูกค้า” ผู้บริโภคในการซื้อขายรถยนต์หรือเปล่า เนื่องจากบริษัทการผลิตรถยนต์อยู่ในรัฐต่างๆ อีกหลายรัฐ พวกนี้เขาต้อง lobby นักการเมืองอย่างแน่นอนที่สุด

รัฐบาลกลางจะเข้ามายุ่งในเรื่องนี้ ก็คงเป็นเรื่องเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยมากกว่าอย่างอื่น

แต่ที่แน่ๆ คือ เมื่อระยะทางไกลออกไปมากขึ้น การใช้เครื่องบินธรรมดา, เครื่องบินเล็ก (regional / private jets) จะเป็นเรื่องที่คุ้มค่าที่สุดค่ะ

ดิฉันคิดว่า รถไฟความเร็วสูงจะประสบความสำเร็จ ถ้าทั้งสายมีระยะทางน้อยกว่า 500 ไมล์ (800 กิโลเมตร) ถ้าไกลกว่านั้น เครื่องบินจะได้เปรียบอย่างแน่นอน

จากคุณ ดวงจำปา USA.
q*062q*071q*020cocokai1kai2
noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Guest
นะฮะ
เรทกระทู้
« ตอบ #8 เมื่อ: 14 พ.ค. 13, 15:32 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

นโยบายของสมาคมรถไฟความเร็วสูงของสหรัฐอเมริกา หรือที่เรียกว่า US HIGH SPEED RAIL ASSOCIATION (USHSR) ซึ่ง เป็นการรวมตัวของนักวิชาการ นักเทคนิควิทยา ระบบอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง และนักการเมืองที่มีวิสัยทัศน์สนับสนุนการริเริ่มด้านรถไฟความเร็วสูงใน ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งต้องยอมรับว่า อเมริกาเป็นชาติที่มีคนเคลื่อนย้ายมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก แต่การเดินทางของคนอเมริกันส่วนใหญ่จะใช้ถนน และใช้ยานพาหนะประเภทรถยนต์ส่วนตัวค่อนข้างมาก และใช้การเดินทางโดยเครื่องบินในระยะกลางและระยะยาว ซึ่งการเดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัวเป็นการสิ้นเปลืองพลังงานและขาดประสิทธิภาพ ในการเดินทาง เป็นการสวนทางกับปัญหาวิกฤติสิ่งแวดล้อมโลกที่กำลังดำรงอยู่

ภาพ แผนที่ระบบเครือข่ายรถไฟความเร็วสูง ที่จะมี 4 ระยะ (Phases) ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2015 จนถึงระยะที่ 4 เสร็จสิ้นในปี ค.ศ. 2050

ภาพ แผนที่โครงข่ายรถไฟฟ้าความเร็วสูงในสหรัฐอเมริกา ที่มีเป้าหมายเสร็จสิ้นในปี ค.ศ. 2050
สมาคม USHSR มีวิสัยทัศน์ที่จะเสนอให้อเมริกามีทางเลือกเพื่อการเดินทางใหม่ ที่จะเปลี่ยนวิถีชีวิตของคนอเมริกัน ซึ่งวิสัยทัศน์ดังกล่าวมีดังนี้



สหรัฐอเมริกามีแผนที่จะปฏิรูปการเดินทางในศตวรรษที่ 21 โดยจะสร้างรางสำหรับรถไฟความเร็วสูงความยาว 17,000 ไมล์ ที่จะแบ่งออกเป็น 4 ระยะ (Phases) ที่จะเสร็จสิ้นในปี ค.ศ. 2030 แผนนี้จะเป็นตัวเร่งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอเมริกัน กระตุ้นระบบอุตสาหกรรม สร้างงานใหม่นับล้านๆงาน ทำให้อเมริกาลดการพึ่งพาน้ำมันที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ลดการจราจรที่ติดขัด ตัดอัตราการเผาผลาญคาร์บอน (Carbon footprint) ลงไปอย่างมาก ทำให้การพลังงานของประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นไปด้วยระบบไฟฟ้า ทำให้ระบบนี้คงอยู่ได้ในระยะยาว มีค่าใช้จ่ายที่พอรับได้ และทำให้การเดินทางในอนาคตปลอดภัยยิ่งขึ้น

ในการพัฒนานี้จะให้สอดคล้องกับเขตธุรกิจใหม่ของอเมริกา ที่เรียกว่า Megaregions หรือ”เขตมหภาค” ที่แบ่งได้เป็น 10 เขต ซึ่งระบบรถไฟความเร็วสูงจะสอดคล้องกับการพัฒนาเขตธุรกิจใหม่นี้ทั่วประเทศ

สำหรับรถไฟความเร็วสูงในอเมริกาจะเน้นไปที่มาตรฐาน 220 ไมล์/ชม. หรือ 342 กิโลเมตร/ชม. เชื่อมโยงเมืองสำคัญต่างๆ และสำ หรับการเชื่อมโยงเมืองระดับเล็กลงมา จะใช้รถไฟความเร็วมาตรฐาน 176 กิโลเมตร/ชม. ซึ่งเป็นระบบที่ก็ยังเร็วกว่าทางรถยนต์อย่างระบบทางหลวงระหว่างรัฐถึงร้อยละ 50 และด้วยมาตรฐานความปลอดภัยที่สูงกว่า และประหยัดพลังงานมากกว่า
ในระบบการคมนาคมของประเทศนี้ จะเป็นระบบประสมประสาน โดยมีรถไฟความเร็วสูงเป็นแกนกลาง แน่นอนว่าในการเดินทางไกลระดับ 1,000 ไมล์ขึ้นไปนั้น เครื่องบินย่อมมีประสิทธิภาพแข่งขันได้อยู่ทั้งทางด้านความรวดเร็ว และการใช้พลังงาน

แต่สำหรับการเดินทางในระยะกลางและระยะสั้นลงมา นอกจากจะมีรถไฟฟ้าความเร็วสูงแล้ว ก็จะมีรถไฟวิ่งระหว่างเมือง (Commuter rail) รถรางไฟฟ้าขนาดเบาในเมือง (Light rail) รถรางที่วิ่งในเมือง (Streetcars, trams), รถประจำทางไฟฟ้า (Electric buses) และรถจักรยาน (Bicycles)

ภาพ ระบบทางหลวงระหว่างรัฐ ที่มีวิศวกรรมการก่อสร้างที่ล้ำหน้าของยุค ทำให้ยานพาหนะสามารถวิ่งได้ด้วยความเร็วสูง โดยไม่ต้องติดสัญญาณไฟแดง

ภาพ นอกจากการใช้ Interstates เพื่อการเดินทางของคนแล้ว การขนส่งสินค้าเป็นอันมาก ก็ใช้บริการของระบบรถบรรทุกขนาดใหญ่ วิ่งบนทางหลวง จนทำให้ระบบการขนส่งโดยราง (Rail system) ขาดการสนับสนุน เพราะระบบถนนสำหรับรถยนต์และรถบรรทุกได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลกลาง และรัฐบาลรัฐ แต่สำหรับรถไฟนั้น ต้องพัฒนาระบบรางและดูแลซ่อมแซมเอง

ภาพ สัญญลักษณ์ของถนนหลวงระหว่างรัฐ หรือ Interstate

ความยุ่งยากของสหรัฐอเมริกาที่จะผลักดันให้มีระบบรถไฟความเร็วสูงนั้น ส่วนหนึ่งเพราะสหรัฐมีระบบเครือข่ายถนนอยู่ทั่วประเทศอยู่แล้ว มีระบบทางหลวงระหว่างรัฐ หรือที่เรียกว่า Interstates นับเป็นนวตกรรมของสหรัฐที่ได้แนวคิดจาก Autobahn ของประเทศเยอรมันในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง ปัจจุบัน สหรัฐมีทางหลวงระหว่างรัฐความยาวถึง 75,932 กิโลเมตร จัดเป็นประเทศมีทางหลวงยาวที่สุดเป็นอันดับสองของโลก รองจากประเทศจีน จากการสำรวจ การเดินทางบนถนนทั้งหลายในแต่ละวัน มีร้อยละ 25 ที่ใช้การเดินทางโดย Interstates

หนทางที่จะทำให้เกิดการผลักดัน และมีทรัพยากรเพียงพอที่จะเปลี่ยนแปลง ก็คือ การต้องปรับให้มีภาษีจากน้ำมันเชื้องเพลิงเพิ่มขึ้น ภาษีรถยนต์ส่วนบุคคลเพิ่มขึ้น การผลักภาระให้ Interstates ทั้งหลายต้องมีการเก็บค่าผ่านทาง แล้วนำเงินหล่านี้มาสนับสนุนการพัฒนาการคมนาคมขนส่งในระบบรางเพิ่มขึ้น.

จาก คุณอินทรีย์
q*071q*071q*062q*062q*039q*039

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Guest
เฮโลฯ..
เรทกระทู้
« ตอบ #9 เมื่อ: 14 พ.ค. 13, 20:18 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 
555 เอ๊า..รับทราบ รับทราบ..ยังไม่ได้เฉาะ..
เป็นห่วงแทบแย่..โล่งอกไปที...5555
noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #10 เมื่อ: 17 พ.ค. 13, 12:40 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

ไม่บอกไม่รู้น่ะเนี้ยะ คนเคยอยู่เมืองนอกเค้าคิดแบบนี้ ต้องเชื่อหรือเปล่าเนี้ยะ

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Guest
ไม่สร้างสรรค์
เรทกระทู้
« ตอบ #11 เมื่อ: 18 พ.ค. 13, 08:45 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

ขอแสดงความคิดเห็น
เนื่องจากตัวดิฉันเองอาศัยอยู่ในประเทศนี้ มาเป็นเวลาหลายปี

คนไทยทั่วไป โดยเฉพาะ “สลิ่ม” นั้น ยังเข้าใจว่า ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นประเทศเดี่ยวเช่นเดียวกับประเทศไทย แต่ที่จริงไม่ใช่ คุณไม่สามารถเปรียบเทียบสหรัฐกับประเทศไทยได้เลย เพราะสหรัฐเกิดจากการรวมตัวของรัฐอิสระ 50 รัฐ มาอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญใหญ่คือรัฐบาลกลาง และให้การยอมรับต่อกฎหมายรัฐบาลกลาง

1.การสร้างรางรถไฟความเร็วสูงนั้น รัฐบาลกลางจะสร้างเองไม่ได้ ต้องให้เอกชนเป็นผู้จัดการประมูลทุกอย่าง รวมทั้งเส้นทางต่างๆ กฎหมายของทุกๆ รัฐมีเกี่ยวกับเรื่อง anti-trust law หรือห้ามการผูกขาดอยู่ด้วย ถ้าไม่มีใครประมูลเส้นทาง ก็จะดำเนินการก่อสร้างไม่ได้
2.ตัวอย่างคือ ถ้าจะมีการสร้างทางรถไฟจากรัฐมิชิแกน เข้าไปสู่รัฐอินเดียน่า ก็จะต้องมีการประชุมระหว่างตัวแทนทั้งสองรัฐว่า ทุกอย่างโอเคหรือเปล่า มีการโหวดเข้าสู่วาระหรือยัง มีการประชุมกันเป็นสิบๆ ครั้ง และยังจะต้องมีการกำหนดงบประมาณด้วยว่า จะต้องเป็นเท่าไร แต่ละรัฐจะต้องควักกระเป๋าจ่ายด้วย (ไม่ใช่รัฐบาลกลางเป็นผู้จ่ายแบบประเทศไทย)
3.การก่อสร้างทุกอย่าง จะต้องให้ประชาชนที่มีส่วนกระทบเข้ารับฟังและทำการโหวต ไม่ใช่อยู่ๆ ก็เข้าไปสร้างได้เลย
4.การสร้างเรื่องนี้ จะต้องได้รับความร่วมมือจากรัฐที่เกี่ยวข้อง ตัวอย่างเช่น รถไฟของ Amtrak ที่ได้รับงบประมาณอุดหนุนส่วนหนึ่งจากรัฐบาลกลาง รถไฟความเร็วสูงจะมีความต้องการต่อประชาชนหรือไม่? เราสามารถเดินทางจากเมืองหนึ่งไปอีกเมืองหนึ่งด้วยการใช้ ฟรีเวย์ หรือ ขึ้นเครื่องบินไปสิ่งอำนวยสะดวกต่างๆ มีพร้อมสรรพอยู่แล้ว ดังนั้น รถไฟความเร็วสูงแทบจะไม่มีความต้องการเลย
5.ดิฉันเคยเดินทางจากเมือง Indianapolis ไปเมือง Chicago ทั้งขับรถไปเอง, ไปรถไฟ และไปเครื่องบิน เรามีวิธีการหลายอย่างที่สามารถไปถึงจุดหมายได้ ถ้าอยากไปเร็ว ก็ต้องจ่ายแพงหน่อย
6.การสร้างรถไฟความเร็วสูง ต้องพิจารณาอุปสงค์และความต้องการของประชาชนด้วยว่ามีมากน้อยแค่ไหน? ถ้าสร้างไปแล้วขาดทุน ใครจะลงทุนสร้าง
7.ปกติในสหรัฐนั้นเราใช้ freeway ในการขับรถยนต์ไปไหนมาไหน ซึ่งมีความสะดวกเป็นอย่างยิ่ง เพราะท่านที่อยู่ที่นี่คงทราบดีว่า ถนนสี่เลนขนาดใหญ่กว่าเมืองไทย ไม่มีการจราจรติดขัดแต่อย่างใด อยากจะจอดที่ Rest Area หรือ truck stops ที่ไหนก็ได้ ทั้งสะดวกและปลอดภัย ดังนั้นความจำเป็นที่จะต้องใช้รถไฟความเร็วสูงจึงแทบจะไม่มีเลย เพราะความเร็วในการขับรถบน freeway นั้น อยู่ที่ 70 ไมล์ต่อชั่วโมง
8.สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ อุปสงค์ของประชาชนในรัฐต่างๆ ที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกอย่างเต็มที่ให้อยู่แล้ว ซึ่งผิดกับประเทศไทย
9.ท่านที่อยู่ทาง East Coast คงจะเห็นรถไฟ Amtrak เข้าสู่สถานีตลอดเช่นกัน
10.รัฐแต่ละรัฐ มีขนาดต่างๆ กัน เมืองแต่ละเมืองไม่ได้อยู่ใกล้กันขนาด 300-400 กิโลเมตรแบบเมืองไทย ดังนั้น การก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ท่านคิดว่ามัน make sense หรือเปล่า?
บอกตรงๆ เลยว่า การเปรียบเทียบสหรัฐอเมริกากับประเทศไทยนั้นแตกต่างกันอย่างลิบลับ อย่าลืมว่า ความใหญ่โตของประเทศสหรัฐนั้น มี time zone อยู่ทั้งหมด 6 Timezones การที่จะสร้างรถไฟความเร็วสูงนั้น เราใช้สายการบินภายในประเทศไปสู่เมืองใหญ่ๆไม่สะดวกและรวดเร็วกว่าหรือ เพราะที่นี่การเดินทางโดยใช้เครื่องบิน มีความสะดวกมากกว่ารถไฟความเร็วสูงค่ะ
q*071q*062q*033



คนไทยทั่วไป โดยเฉพาะ “สลิ่ม”

แค่ขึ้นต้นประโยคแรก ก็ไม่อยากอ่านต่อแล้วครับ คุณ" เฉาก๊วย "
noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Guest
เห็นด้วยจ้า
เรทกระทู้
« ตอบ #12 เมื่อ: 18 พ.ค. 13, 08:48 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 
ไม่บอกไม่รู้น่ะเนี้ยะ คนเคยอยู่เมืองนอกเค้าคิดแบบนี้ ต้องเชื่อหรือเปล่าเนี้ยะ

q*062
noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:  อเมริกา สร้างรถ ความเร็วสูง 

หน้า: 1

 
ตอบ

ชื่อ:
 
แชร์ไป Facebook ด้วย
กระทู้:
ไอค่อนข้อความ:
ตัวหนาตัวเอียงตัวขีดเส้นใต้จัดย่อหน้าชิดซ้ายจัดย่อหน้ากึ่งกลางจัดย่อหน้าชิดขวา

 
 

[เพิ่มเติม]
แนบไฟล์: (แนบไฟล์เพิ่ม)
ไฟล์ที่อนุญาต: gif, jpg, jpeg
ขนาดไฟล์สูงสุดที่อนุญาต 20000000 KB : 4 ไฟล์ : ต่อความคิดเห็น
ติดตามกระทู้นี้ : ส่งไปที่อีเมลของสมาชิกสนุก
  ส่งไปที่
พิมพ์อักษรตามภาพ:
พิมพ์ตัวอักษรที่แสดงในรูปภาพ
 
:  
  • ข้อความของคุณอยู่ในกระทู้นี้
  • กระทู้ที่ถูกใส่กุญแจ
  • กระทู้ปกติ
  • กระทู้ติดหมุด
  • กระทู้น่าสนใจ (มีผู้ตอบมากกว่า 15 ครั้ง)
  • โพลล์
  • กระทู้น่าสนใจมาก (มีผู้ตอบมากกว่า 25 ครั้ง)
         
หากท่านพบเห็นการกระทำ หรือพฤติกรรมใด ๆ ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รวมถึง การใช้ข้อความที่ไม่สุภาพ พฤติกรรมการหลอกลวง การเผยแพร่ภาพลามก อนาจาร หรือการกระทำใด ๆ ที่อาจก่อให้ผู้อื่น ได้รับความเสียหาย กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม