หน้า: 1

ชนิดกระทู้ ผู้เขียน กระทู้: รายงานล่าสุดเผย 10 ประเทศสุดยอดต่อสู้มลพิษ  (อ่าน 75 ครั้ง)
add
เรทกระทู้
« เมื่อ: 28 ม.ค. 15, 15:20 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
Send E-mail

แบ่งปันกระทู้นี้ให้เพื่อนคุณอ่านไหมคะ?

ปิดปิด
 

รายงานล่าสุดเผย 10 ประเทศสุดยอดต่อสู้มลพิษ ฆาตกรเงียบที่คร่าชีวิตผู้คนถึงหนึ่งในเจ็ดทั่วโลก

นิวยอร์ก--(บิสิเนส ไวร์)--27 ม.ค. 2558

รายงานเผยแพร่โดย Blacksmith Institute For A Pure Earth ร่วมกับ Global Alliance on Health and Pollution และ Green Cross Switzerland

ในขณะที่โรคภัยไข้เจ็บต่างๆ เช่น อีโบลา เอชไอวี และมาลาเรีย ได้กินพื้นที่สื่อเป็นวงกว้างนั้น ปัญหามลพิษก็ได้คร่าชีวิตผู้คนเกือบ 9 ล้านคนในทุกๆปี อีกทั้งยังบั่นทอนสุขภาพอีกถึง 200 ล้านคน โดยเด็กเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด นอกจากนี้ ปัญหามลภาวะขั้นรุนแรงยังกีดขวางการพัฒนา และยังทำให้ประเทศที่มีเศรษฐกิจเปราะบางสูญงบประมาณหลายพันล้าน อย่างไรก็ดี นี่เป็นปัญหาหนึ่งของโลกที่เรารู้ว่าจะแก้ไขได้อย่างไร

รายงานใหม่ล่าสุดในหัวข้อ Top Ten Countries Turning the Corner on Toxic Pollution- 2014 เปิดเผยถึงโครงการกำจัดมลพิษที่ประสบความสำเร็จจำนวน 10 โครงการ ซึ่งช่วยรักษาชีวิต ยกระดับสุขภาพของผู้คนในชุมชน และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม โดยความสำเร็จของโครงการเหล่านี้ ตั้งแต่เวียดนามไปจนถึงคีร์กีซสถานและเซเนกัล เป็นผลลัพธ์ของความร่วมมือและวิธีการแก้ปัญหาที่เฉพาะตัวและสร้างสรรค์ ยกตัวอย่างเช่น การแทนที่พื้นที่รีไซเคิลแบตเตอรี่ตะกั่วด้วยสวนไฮโดรโปนิก

มลภาวะทางอากาศ น้ำ และดิน นับเป็นวิกฤติด้านสุขภาพที่แฝงตัว และกำลังแพร่กระจายไปทั่วโลกด้วยการกระตุ้นจากภาคอุตสาหกรรมและกระแสโลกาภิวัตน์ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ ยังก่อให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจอย่างมหาศาล โดยนานาประเทศได้สูญงบประมาณกว่าหลายพันล้านดอลลาร์ เพื่อใช้จัดการกับต้นทุนด้านสุขภาพที่ทะยานสูงขึ้นและผลิตภาพที่ร่อยหรอลง โดยจีนได้สูญเงินไปถึง 9.24 แสนล้านดอลลาร์ในปี 2556 เพื่อจัดการกับปัญหามลพิษทางอากาศเพียงอย่างเดียว

สามารถอ่านข่าวประชาสัมพันธ์ฉบับเต็มได้ที่ http://www.gahp.net/new/blog/new-report-highlights-top-ten-countries-fighting-back-against-stealth-global-killer/

The Top Ten Country Success Stories 2014 (ไม่เรียงลำดับ)

-- ประเทศกานา ย่านอักบอกโบลชี – แทนที่การเผาขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ก่อสารพิษอันตรายด้วยระบบเครื่องจักรรีไซเคิล
-- ประเทศเซเนกัล เมืองธีอารัว ซูร์ แมร์ – แทนที่พื้นที่รีไซเคิลแบตเตอรีตะกั่วด้วยสวนไฮโดรโปนิก
-- ประเทศเปรู – ออกกฎหมายใหม่เพื่อควบคุมมลพิษในดิน และกำหนดลำดับเวลาในการแก้ไข
-- ประเทศอุรุกวัย กรุงมอนเตวิเดโอ – ฟื้นฟูพื้นที่อยู่อาศัยด้วยการกำจัดสารพิษจากขยะอิเล็กทรอนิกส์
-- ประเทศเม็กซิโก กรุงเม็กซิโกซิตี้ – เปลี่ยนโรงกลั่นน้ำมันที่ปนเปื้อนสารพิษเป็นสวนสาธารณะในเมืองที่มีผู้เยี่ยมชมถึงล้านคนต่อปี
-- ประเทศอินโดนีเซีย เมืองซินังกา – ทำความสะอาดสนามฟุตบอลซึ่งเคยเป็นที่ทิ้งแบตเตอรีตะกั่วให้เด็กๆสามารถวิ่งเล่นได้อีกครั้ง
-- ประเทศฟิลิปปินส์ ระบบแม่น้ำในเมืองมาริลาโอ เมย์กาวายัน และโอบันโด - ทำความสะอาดด้วยซีโอไลต์ และระบบกรองโปรไบโอติก
-- ประเทศเวียดนาม เมืองด่องไม – เก็บเงินคนละ 20 ดอลลาร์เพื่อกำจัดสารพิษจากตะกั่วที่เป็นอันตรายทั่วหมู่บ้าน
-- อดีตสหภาพโซเวียต – ไล่เก็บยาฆ่าแมลงเก่าแต่ยังมีสารพิษกว่าหลายพันล้านตัน
-- ประเทศคีร์กีซสถาน เมืองไมลู-ซู – ใช้ระบบคัดกรองเพื่อยกระดับความปลอดภัยในน้ำที่ปนเปื้อนนิวไคลด์กัมมันตรังสี พร้อมจัดทำแคมเปญให้ความรู้แก่เด็กๆ
-- รางวัลชมเชย – จีน อินเดีย และมาดากัสการ์

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 28 ม.ค. 15, 15:21 น โดย raedra » noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า

กระทู้ฮอตในรอบ 7 วัน

Tags:
Tags:  

หน้า: 1

 
ตอบ

ชื่อ:
 
แชร์ไป Facebook ด้วย
กระทู้:
ไอค่อนข้อความ:
ตัวหนาตัวเอียงตัวขีดเส้นใต้จัดย่อหน้าชิดซ้ายจัดย่อหน้ากึ่งกลางจัดย่อหน้าชิดขวา

 
 

[เพิ่มเติม]
แนบไฟล์: (แนบไฟล์เพิ่ม)
ไฟล์ที่อนุญาต: gif, jpg, jpeg
ขนาดไฟล์สูงสุดที่อนุญาต 20000000 KB : 4 ไฟล์ : ต่อความคิดเห็น
ติดตามกระทู้นี้ : ส่งไปที่อีเมลของสมาชิกสนุก
  ส่งไปที่
พิมพ์อักษรตามภาพ:
พิมพ์ตัวอักษรที่แสดงในรูปภาพ
 
:  
  • ข้อความของคุณอยู่ในกระทู้นี้
  • กระทู้ที่ถูกใส่กุญแจ
  • กระทู้ปกติ
  • กระทู้ติดหมุด
  • กระทู้น่าสนใจ (มีผู้ตอบมากกว่า 15 ครั้ง)
  • โพลล์
  • กระทู้น่าสนใจมาก (มีผู้ตอบมากกว่า 25 ครั้ง)
         
หากท่านพบเห็นการกระทำ หรือพฤติกรรมใด ๆ ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รวมถึง การใช้ข้อความที่ไม่สุภาพ พฤติกรรมการหลอกลวง การเผยแพร่ภาพลามก อนาจาร หรือการกระทำใด ๆ ที่อาจก่อให้ผู้อื่น ได้รับความเสียหาย กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม