“ผักกระเฉด” หรือมีชื่อภาษาอังกฤว่า Water Mimosa ซึ่งเป็นพืชในตระกูล Fabaceae เป็นวงศ์เดียวกันกับจำพวกกระถิน ชะเอม ไมยราบ สะตอและเหรียง มีชื่อเรียกที่แตกต่างกันออกไปตามภูมิภาค อย่างเช่น ในจังหวัด
แม่ฮ่องสอนจะเรียกกระเฉดว่า ผักหละหนองหรือผักหนอง ในแทบภาคเหนือทั่วไป แต่หากเป็นภาคอีสานจะเรียกกระเฉดว่า กระเสดน้ำ ภาคใต้เรียกว่า ฉีด ส่วนภาคกลางจะมีภาษาสุภาพว่า ผักรู้นอน นั่นเอง ผักกระเฉดจะมีลักษณะใบเหมือนกับใบกระถิน และมันจะหุบใบลงในช่วงตอนกลางคืน ระหว่างข้อในแต่ละข้อของต้นกระเฉดจะมีฟองสีขาวหุ้มลำต้นเอาไว้ โดยเราเรียกเจ้าฟองสีขาวนี้ว่า “นมผักกระเฉด” มันคอยทำหน้าที่ให้ผักกระเฉดลอยเหนือผิวน้ำได้นั่นเอง

คนไทยเรานิยมนำผักชนิดนี้มาประกอบอาหาร และที่เห็นได้มากคือกระเฉดจะถูกใส่ลงในยำต่าง ๆ หรือแม้แต่ในแกงส้มที่มีเมนูชื่อว่า แกงส้มผักกระเฉดนั่นเอง ทั้งนี้ตัวมันเองก็มีคุณค่าทางสารอาหารอยู่ไม้น้อยเลย มี ธาตุแคลเซียม อยู่สูงเป็น 1.23 เท่าตัวของน้ำหนักตัวเองเลยก็ว่าได้
ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณของที่สูงมากเมื่อเทียบกับผักชนิดอื่น ๆ นอกจากนี้ยังมีคุณค่าทางสารอาหารอื่น ๆ อีก เช่น เส้นใยอาหารช่วยในเรื่องของการขับถ่าย ใครที่มีปัญหาในเรื่องท้องผูกสามารถกินเพื่อบรรเทาอาการได้ อีกทั้งมี ธาตุเหล็ก สร้างเสริมกระบวนการผลิตเม็ดเลือดแดง ลดภาวะโรคเลือดจาง มี ฟอสฟอรัส ช่วยส่งเสริมสุขภาพเหงือกและฟัน อีกทั้งช่วยเผาผลาญไขมันและแป้งได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
นอกจานี้ยังมี วิตามินเอ ช่วยบำรุงสายตา เบต้าแคโรทีน ช่วยในการยับยั้งการเกิดมะเร็ง วิตามินบี 3 ลดอาการปวดศีรษะจากไมเกรน ลดระดับคลอเลสเตอรอลได้ด้วย อีกทั้งยังมีวิตามินซี ช่วยบำรุงผิวพรรณ ป้องกันการเป็นหวัด เรียกได้ว่ารอบด้านสุด ๆ เลย

สรรพคุณทางยาอื่นๆได้แก่ ช่วยขับลมในกระเพาะ อีกทั้งยังมีส่วนช่วยป้องกันการเกิดของโรคตับอักเสบ แก้ปวดแสบปวดร้อนได้ผลมากทีเดียว แก้พิษไข้ต่าง ๆ (ส่วนไข้ใจไม่เกี่ยวกันนะจ้ะ) บำรุงร่างกาย รักษาโรคกามโรคได้ และยังใช้เป็นยาปรุงแก้ถอนพิษยาเบื่อยาเมาได้อีกด้วย
อย่างไรก็ดี มีข้อควรระวังคือ ควรทานผักกระเฉดที่ผ่านการทำให้สุกแล้วเท่านั้น เพราะอาจเสี่ยงต่อพยาธิตัวอ่อนที่ปนเข้ามาได้และไข่ปลิงที่ฝังตัวอยู่ตามข้อฟักกระเฉดอีกด้วย เนื่องจากมันเติบโตอยู่ในน้ำทำให้มันกลายเป็นแหล่งอาศัยของเจ้าสัตว์ตัวร้ายพวกนี้นั่นเอง
ที่มา... healthydeejung.com