หน้า: 1

ชนิดกระทู้ ผู้เขียน กระทู้: แชร์ประสบการณ์ของร้านค้าโชห่วยและวิธีการจัดร้าน  (อ่าน 300 ครั้ง)
add
เรทกระทู้
« เมื่อ: 7 พ.ย. 15, 01:45 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
Send E-mail

แบ่งปันกระทู้นี้ให้เพื่อนคุณอ่านไหมคะ?

ปิดปิด
 

ทุกวันนี้หากกล่าวถึงการทำอาชีพที่ทำแล้วรวย คงจะหนีไม่พ้นอาชีพการค้าขาย ไม่ว่าจะเป็นการขายแบบหน้าร้าน แบบแผงลอย หรือธุรกิจฟรนไชส์ ก็สามารถทำเงินได้เป็นกอบเป็นกำ ในวันนี้เราจะขอนำเสนอธุรกิจ ที่ใครก็รู้จักกันดีและมีให้เห็นอยู่ทั่วไปนั้นคือ ธุรกิจแบบโชห่วย หรือร้านขายของชำ หากพูดถึงร้านขายของชำหลายคนคงจะนึกภาพร้านขายของที่มีของเยอะแยะมากมายเต็มไปหมด มีตั้งแต่ของใช้จำเป็นในชีวิตประจำวัน ของเล่น กับข้าวและอีกสารพัด แล้วท่านเคยสงสัยไหมว่าด้วยจำนวนสินค้าที่มากมายขนาดนั้นทางร้านมีการจัดการเกี่ยวข้อมูลของสินค้าอย่างไร มีรูปแบบการจัดสต๊อกสินค้าแบบไหนวันนี้เราจะมาไขข้อข้องใจกัน

อ่านแบบมีภาพประกอบ

ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับคำว่า การสต๊อกสินค้า กันก่อน การสต๊อกสินค้าคือการจัดการสินค้าให้เพียงพอต่อความต้องการของลูกค้าทั้งภายในและภายนอก มีการบริหารในเชิงข้อมูล การเก็บสถิติ การคำนวณต้นทุน เพื่อให้ธุรกิจสามารถดำเนินต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ การสต๊อกสินค้ามีทั้งแบบสต๊อกและไม่สต๊อก การสต๊อกสินค้าแบบแรกคือ สินค้าอยู่ในมือเรา เราซื้อสินค้ามาในราคาส่งและเราสามารถขายได้ในราคาปลีกโดยกับลูกค้าโดยตรง ซึ่งต่างกับการไม่สต๊อกสินค้า การไม่สต๊อกสินค้านี้คือเป็นการแค่รับออเดอร์แล้วติดต่อกับทางร้านว่าเราต้องการสินค้าไปขายต่อในราคาปลีก วิธีนี้การจะได้รับสินค้าค่อนข้างล่าช้าและเสียเวลา อาจจะทำให้ลูกค้าไม่ประทับใจ การสต๊อกสินค้าจึงมีผลต่อผู้ประกอบการอย่างมาก ผู้เขียนได้รู้จักกับร้านขายของชำร้านหนึ่ง อยู่ในละแวกบ้าน เป็นร้านที่คนเข้าซื้อไม่ขาดเรียกว่าขายดีมากๆร้านหนึ่ง ภายในร้านประกอบด้วยสินค้าหลากหลายประเภท ทั้งของกินของใช้ กับข้าว ปุ๋ยยาฆ่าแมลงเป็นต้น ที่สำคัญสินค้าที่ซื้อมาบางประเภทมีการซื้อมาจัดเก็บไว้มากมายเพราะเป็นสินค้าประเภทขายดี ทางร้านจะไปซื้อมาจากผู้ประกอบการค้ารายใหญ่ที่ขายแต่สินค้าแบบยกแพ็คยกลังเท่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่ร้านค้าปลีกหรือร้านขายของชำทั่วไปจะไปซื้อมาจากผู้ประกอบการรายนี้ เพราะร้านค้าปลีกซื้อมาราคาขายส่งจึงทำให้ร้านค้าปลีกมีกำไร ยิ่งซื้อเยอะยิ่งได้กำไรมากขึ้นในการจัดการสต๊อกสินค้าของทางร้านนี้ไม่มีอะไรมาก นั้นคือเมื่อซื้อสินค้ามาจากผู้ประกอบการรายใหญ่ เมื่อถึงร้านก็จะทำการ แยกสินค้าออกเป็นประเภทต่างๆ เพื่อทำการจดบันทึกรายละเอียดของสินค้าว่า สินค้านี้ยี่ห้อนี้มีอยู่แล้วกี่ชิ้น ซื้อมาเพื่อกี่ชิ้น วันหมดอายุเมื่อไหร่ สินค้าชำรุดบ้างไหม เป็นต้น ในการจดบันทึกนี้จะทำให้เรารู้ว่าสินค้าในสต๊อกของเรามีสินค้าอะไรบ้างไม่พอที่จะจำหน่ายหรือสินค้ามีการชำรุดเสียหายบ้างหรือไม่และในการจัดทำสต๊อกสินค้านี่จะทำให้เราทราบถึงต้นทุนและกำไรที่จะได้รับอีกทั้งเราจะได้รับรู้ถึงจำนวนเงินที่เราจะนำมาหมุนเวียนภายในร้านอีกด้วย สินค้าบางประเภท เช่น น้ำดื่ม น้ำอัดลม สินค้าเหล่านี้จะมีตัวแทนของทางบริษัทที่จะมาส่งสินค้าให้ถึงที่ร้านโดยที่จะคิดในราคาส่งแต่ก็ต้องสั่งซื้อมาเก็บไว้เป็นสต๊อกเช่นกัน ในการจัดรูปแบบของร้านมีการจัดโซนสินค้าภายในร้านที่แบ่งแยกให้เห็นอย่างชัดเจน สินค้าแต่ละชนิดจะมีป้ายกำกับราคาติดไว้กับตัวสินค้าเพื่อประการการตัดสินใจของลูกค้า ทางร้านจะให้ความสำคัญกับเรื่องวันหมดอายุของสินค้าอย่างมากโดยเฉพาะสินค้าประเภท นม ปลากระป๋อง ขนมประเภทขนมปัง ขนมกินเล่น พวกผงปรุงรสเป็นต้น สินค้าเหล่านี้ต้องตรวจดูสม่ำเสมอเพราะหมดอายุไว้ หากลูกค้าซื่อไปอาจส่งผลเสียต่อลูกค้าและมีผลกระทบต่อทางร้านได้ การตรวจดูวันหมดอายุของสินค้าจึงมีความสำคัญที่เราจะมองข้ามไม่ได้ ด้วยการจัดการร้านที่เป็นระบบจึงทำให้ร้านค้าแห่งนี้จึงไม่มีปัญหาเกี่ยวกับการขาดแคลนสินค้า และมีสินค้าที่ตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าอยู่เสมอ นอกจากนี้เจ้าของร้านยังมีทัศนะคติที่ดีต่อการค้าขายอีกด้วย คือ การค้าขายต้องมีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและลูกค้า ซึ่งสิ่งนี้เป็นหัวใจสำคัญต่อการค้าขาย ที่ช่วยให้กิจการสามารถอยู่ได้จนมาถึงทุกวันนี้

จากที่กล่าวมาข้างต้นจะทำให้เราเห็นว่าต่อให้ธุรกิจเล็กหรือใหญ่ การสต๊อกสินค้าเป็นเรื่องที่สำคัญและช่วยให้กิจการของเราดำเนินต่อไปได้เพราะมีการจัดการระบบของสินค้าที่ดีและมีประสิทธิภาพ แม้จะเป็นแค่ร้านขายของชำตามย่านชุมชนก็ตาม ในอีกมุมหนึ่งความที่ร้านขายของชำ เป็นร้านค้าที่อยู่คู่กับชุมชนมานานและไม่ว่าจะไปที่ไหนเราก็จะสามารถพบเห็นได้โดยทั่วไปแต่ล่ะร้านก็จะมีสินค้าที่มีความหลากหลายแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความต้องการของคนในพื้นที่นั้นๆด้วย เห็นขายดีแบบนี้ร้านขายของชำเหล่านี้ก็ยังคงมีปัญหาที่แก้กันไม่หายนั้นคือ ซื้อแล้วไม่จ่ายทันทีให้ลงบิลไว้หรือภาษาชาวบ้านๆเรียกว่า”เซ็นต์ของ” ตรงนี้แหละที่ทำให้ร้านขายของชำต้องปิดกันมานักต่อนักแล้ว ร้านนี้ก็มีลูกค้ามาลงบิลไว้เช่นกัน คือสินค้าจำพวกเบียร์ ข้าวสาร น้ำตาลทราย ไข่ไก่ ผงซักฟอก แล้วก็ของเล็กๆน้อยๆทั่วไป ซึ่งกำไรที่ได้ก็กลายเป็นของลงบิลไปเสียแล้ว ลูกค้าบางรายก็รู้จักกันดีจะไม่ให้ก็กลัวจะมองหน้ากันไม่ได้ เลยต้องจำยอม บางรายทวงแล้วทำเฉยเหมือนไม่เคยลงบิล กำไรก็หายไป คิดๆแล้วก็น่าเห็นใจร้านขายของชำเพราะนอกจากคู่แข่งจะเยอะแล้วยังต้องมาเจอกับลูกค้าที่ชอบลงบิลถึงจะเป็นปัญหาที่เกิดซ้ำซากและต้องทำใจยอมรับ ผู้เขียนขอเป็นกำลังใจให้ผู้ประกอบการร้านขายของชำมีกำลังใจสู้ต่อไปนะค่ะ

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:  สต๊อกสินค้า ร้านค้าปลีก sme ซื้อมาขายไป 

หน้า: 1

 
ตอบ
ชื่อ:
 
แชร์ไป Facebook ด้วย
กระทู้:
ไอค่อนข้อความ:
ตัวหนาตัวเอียงตัวขีดเส้นใต้จัดย่อหน้าชิดซ้ายจัดย่อหน้ากึ่งกลางจัดย่อหน้าชิดขวา

 
 

[เพิ่มเติม]
แนบไฟล์: (แนบไฟล์เพิ่ม)
ไฟล์ที่อนุญาต: gif, jpg, jpeg
ขนาดไฟล์สูงสุดที่อนุญาต 20000000 KB : 4 ไฟล์ : ต่อความคิดเห็น
ติดตามกระทู้นี้ : ส่งไปที่อีเมลของสมาชิกสนุก
  ส่งไปที่
พิมพ์อักษรตามภาพ:
พิมพ์ตัวอักษรที่แสดงในรูปภาพ
 
:   Go
  • ข้อความของคุณอยู่ในกระทู้นี้
  • กระทู้ที่ถูกใส่กุญแจ
  • กระทู้ปกติ
  • กระทู้ติดหมุด
  • กระทู้น่าสนใจ (มีผู้ตอบมากกว่า 15 ครั้ง)
  • โพลล์
  • กระทู้น่าสนใจมาก (มีผู้ตอบมากกว่า 25 ครั้ง)
         
หากท่านพบเห็นการกระทำ หรือพฤติกรรมใด ๆ ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รวมถึง การใช้ข้อความที่ไม่สุภาพ พฤติกรรมการหลอกลวง การเผยแพร่ภาพลามก อนาจาร หรือการกระทำใด ๆ ที่อาจก่อให้ผู้อื่น ได้รับความเสียหาย กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม