เรื่องล่าสุดของหมวด
ป่าต้นน้ำบ้านน้ำราด โอเอซิสกลางป่าแห่งสุราษฎร์ธานี
10 จุดเล่นน้ำสงกรานต์ 2566 จัดเต็มความสนุกทั่วเมืองไทย
ททท. เปิดตัว “เบิร์ด-ธงไชย” แบรนด์แอมบาสเดอร์ ชวนออกเดินทางไปเปิดประสบการณ์เที่ยวไทย
เปิดห้อง อนุรักษ์บานไม้ประดับมุก ศิลปะชั้นสูงของญี่ปุ่น อายุกว่า 150 ปี ในวิหารหลวงวัดราชประดิษฐ์
วัดหุบบอนวนาราม ที่เที่ยวสายมู ต้นตำรับเจิมลายมือ มีเสาโทริอิแดงให้ได้เช็กอิน
แจกพิกัด 7 เกาะสวยน้ำใสใกล้กรุงเทพฯ มีเวลาแค่เสาร์-อาทิตย์ ก็ไปได้
เปิดวาร์ปโรงแรมที่ "แจม เนโกะจั๊มพ์" ไปพักล่าสุด ใส่บิกินีตัวจิ๋วอวดหุ่นเอ็กซ์เกินต้าน!
ปักหมุด 8 ที่พักสุดชิล สงกรานต์นี้พลาดไม่ได้
รีวิว Reethi Beach Resort นั่ง Seaplane ไปนอนกลางทะเลมัลดีฟส์ ชมฝูงกระเบนจากหน้าหาด
Make Awake ‘คุ้มค่าตื่น’ โรงแรมสุขนิรันด์ : สุขทุกวันที่สุขนิรันด์
"Casa De Lipe" เกาะหลีเป๊ะ ที่พักเปิดใหม่บนเนินเขา สระส่วนตัวพร้อมวิวโคตรสวย
"ทางเสือเท่ง" จุดกางเต็นท์แห่งใหม่ริมอ่างเก็บน้ำลำตะเพิน วิวสวยอลังการใกล้กรุงเทพฯ
Bar B Q Plaza เปิดโปรบุฟเฟต์ในตำนานอีกครั้ง อิ่มไม่อั้นเริ่มต้นแค่ 333 บาท!
Matata Bay Cafe คาเฟ่เกาะล้าน พิกัดลับริมทะเลในสไตล์บาหลี
Rangnok Cafe&Bar ร้านนั่งชิลริมแม่น้ำเจ้าพระยา พร้อมมุมถ่ายรูปรังนกบาหลีสุดปัง
Curve Beach Cafe คาเฟ่สัตหีบ สุดชิคริมทะเล มุมถ่ายรูปปังริมหาดนางรำ
ลดาปลาร้าหอม ร้านอาหารอีสานแซ่บนัว ทีเด็ดแห่งเมืองพิษณุโลก
LACOL Bangkok ร้านใหม่สุดหรู บน Staybridge Rooftop ใจกลางทองหล่อ มุมถ่ายรูปสุดปัง!
เทศกาล ฟูจิชิบะซากุระ ชมทุ่งพิงค์มอสที่ญี่ปุ่น หนึ่งปีมีครั้งเดียว!
Scoot เปิดตัว “ปิกาจู เจ็ต” (Pikachu Jet) เครื่องบินธีมโปเกมอนครั้งแรกของอาเซียน!
10 ตลาดกลางคืนไต้หวัน เที่ยวเมืองนี้มีที่ไหนน่าช้อป
เริ่มแล้ววันนี้! ไทยเวียตเจ็ทบินตรง สุวรรณภูมิ - โอกินาว่า
จีนประกาศเปิดประเทศ ให้คนไทยขอวีซ่าท่องเที่ยวได้แล้ว
หน้า: 1
แบ่งปันกระทู้นี้ให้เพื่อนคุณอ่านไหมคะ?
“ป่าไม้ ช่วยซึมซับน้ำฝนไว้ใต้ดิน เรียกว่าท่าน้ำใต้ดินค่อยๆ ระบายลงมาเป็นธารน้ำ เป็นลำคลอง เป็นแม่น้ำ ที่ให้เราได้ใช้กันเสมอมา เราจึงควรถนอมรักษาป่าไม้ให้คงอยู่เป็นต้นน้ำลำธาร เพื่อว่าลูกหลานของเา จะได้ไม่ลำบาก”พระราชดำรัสสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถทรงมีพระราชประสงค์ ให้มีการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ในพื้นที่รอยต่อ 5 จังหวัด เพื่อให้คงความอุดมสมบูรณ์สำหรับเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร โดยให้ดำเนินการในรูปโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในการนี้สำนักราชเลขา โดยท่านผู้หญิงสุประภาดา เกษมสันต์ ได้มีหนังสือ ที่ รล 0009/3244 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2536 แจ้งกรมป่าไม้ให้พิจารณาประสานการดำเนินงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำโครงการ เพื่อสนองพระราชดำริป่ารอยต่อ 5 จังหวัด พื้นที่อนุรักษ์สำคัญของประเทศ ป่ารอยต่อ 5 จังหวัดภาคตะวันออก มีอาณาเขตพื้นที่ ครอบคลุม 5 จังหวัดได้แก่ ฉะเชิงเทรา สระแก้ว ระยอง จันทบุรี และชลบุรี มีเนื้อที่รวมประมาณ 1.2 ล้านไร่ เป็น ป่าดิบลุ่มต่ำผืนสุดท้าย ของ ประเทศ มีระดับความสูง 55 – 330 เมตร จากระดับน้ำทะเล ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดความ หลาย หลายทางชีวภาพมากแห่งหนึ่งของ ไทย มีลักษณะ โดดเด่นคือ เป็นป่าลุ่มต่ำที่ไม่ผลัดใบ เป็นป่าไม่ไม่ผลัดใบที่อยู่ต่ำกว่า 300 เมตร จากระดับน้ำ ทะเลปานกลางที่ สมบูรณ์ และมีเนื้อที่มาก ที่สุดของ ประเทศ เป็นแหล่งอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ ไม่น้อยกว่า 346 ชนิด จาก 255 สกุล ใน 104 วงศ์แยกเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 57 ชนิด นก 201 ชนิด สัตว์ สะเทินน้ำสะเทินบก 17 ชนิด สัตว์เลี้ยย คลาน 48 ชนิด และ ปลา 24 ชนิด มีการพบพันธุ์ไม้ พันธุ์ สัตว์เฉพาะถิ่นหายากหลายชนิด และยังเป็นแหล่งต้นน้ำ หลายสายที่ สำคัญต่อการพัฒนาภาคตะวันออก เช่น แม่น้ำ บางปะกง แม่น้ำปราจีน แม่น้ำประแสร์ คลองโตนด และ แม่น้ำจันทบุรี ซึ่งแม่น้ำดังกล่าวเปรียบเสมือนสายโลหิตที่ หล่อเลี้ยงสิ่งมีชีวิต และชุมชนในภาค ตะวันออกของไทยนอกจากนี้ป่ารอยต่อ 5 จังหวัดภาคตะวันออก เป็นพื้นที่อนุรักษ์สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศ ประกอบด้วยพื้นที่ อุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ ป่าจำนวน 5 แห่ง คือ 1) เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน 2) เขตรักษา พันธุ์สัตว์ป่าเขา สอยดาว 3) อุทยานแห่งชาติเขาคิ ชกูฏ 4) อุทยานแห่งชาติเขาชะเมา- เขาวง และ 5) อุทยาน แห่งชาติ เขา 15 ชั้น" alt="" border="0" />นอกจากนี้พื้นที่ป่ายังมีขอบเขตที่กว้างขวางครอบคลุมพื้นที่ถึง 5 จังหวัดของภาคตะวันออก(จังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี สระแก้ว จันทบุรี และระยอง) ดังนั้นพื้นที่ป่ารอยต่อฯ จึงมีชุมชนตั้งถิ่นฐานอยู่โดยรอบ ซึ่งชุมชนเหล่านี้ยังคงมีวิถีชีวิต และวัฒนธรรมในการดำรงชีพที่ยังต้องพึ่งพิงทรัพยากรป่าไม้ในรูป ของป่าที่ไม่ใช่เนื้อไม้ปัจจุบันชุมชนที่ตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่โดยรอบป่ารอยต่อ 5 จังหวัดภาคตะวันออก ได้พึ่งพาฐานทรัพยากรท้องถิ่นเป็นสำคัญต่อการพัฒนาวิถีชีวิต จากความเปลี่ยนแปลงด้านการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่ไม่เหมาะสม" alt="" border="0" />ความต้องการที่ดินเพื่อไปปลูกพืช เศรษฐกิจ และการขยายตัวของโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ส่งผลกระทบต่อแหล่งน้ำที่ชุมชนใช้ประโยชน์ขาดแคลน มลพิษน้ำเสีย สร้างแรงกดดันต่อฐานทรัพยากรป่าไม้ น้ำ และที่ดินการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตชุมชนเปลี่ยนตามการเปลี่ยนแปลงของทรัพยากรธรรมชาติท้องถิ่นในปี พ.ศ. 2539 เกิดองค์กรชุมชนที่มีแนวคิดจัดการทรัพยากรธรรมชาติท้องถิ่นในมิติการพัฒนาและมิติการอนุรักษ์ ก่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพคนในชุมชนให้มีสามารถจัดการทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อพึ่งตนเองและอนุรักษ์คุ้มครองทรัพยากรท้องถิ่น การดำเนินงานขององค์กรชุมชนรอบป่าตะวันออกใช้แนนวทางการจัดการทรัพยากรป่าไม้แบบมีส่วนร่วมจัดการทรัพยากรป่าไม้ในรูปแบบ “ป่าชุมชน” ซึ่งเป็นพื้นที่ป่านอกเขตป่าอนุรักษ์ เพื่อการอนุรักษ์คุ้มครองพื้นที่รอบในของป่าอนุรักษ์ได้เป็นอย่างดี" alt="" border="0" />จนในปี พ.ศ. 2550 เกิดการรวมตัวขององค์กรชุมชนจัดการป่าชุมชนรอบพื้นที่ป่ารอยต่อ 5 จังหวัด เชื่อมโยงประสานการทำงานและแลกเปลี่ยนถ่ายทอดแนวคิดการทำงานร่วมกันจัดตั้งเป็น“เครือข่ายป่าชุมชนรอยต่อ 5 จังหวัดภาคตะวันออก” มีตัวแทนจากองค์กรชุมชนจากพื้นที่เข้ามาเป็น “คณะกรรมการเครือข่ายป่าชุมชนรอยต่อ 5 จังหวัดภาคตะวันออก”ปัจุบันเครือข่ายป่าชุมชนฯ ได้ขยายพื้นที่ทำงานและมีสมาชิกเครือข่ายเกิดขึ้นครอบคลุมใน 5 จังหวัดภาคตะวันออก แบ่งออกเป็นจำนวน 9 โซนพื้นที่ ได้แก่ เครือข่ายป่าชุมชนตำบลท่ากระดาน อำเภอสนามชัยเขต, เครือข่ายป่าชุมชนตำบลคลองตะเกรา เครือข่ายป่าชุมชนตำบลท่าตะเกียบ อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา, เครือข่ายป่าชุมชนพื้นที่เขาฉกรรจ์ - โนนสาวเอ้ จังหวัดสระแก้ว, เครือข่ายป่าชุมชนตำบลพลวงทอง เครือข่ายป่าชุมชนตำบลเกษตรสุวรรณ อำเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี, เครือข่ายป่าชุมชนตำบลเขาน้อย อำเภอเขาชะเมา จังหวัดระยอง และเครือข่ายป่าชุมชนตำบลพวา - ขุนซ่อง อำเภอแก่งหางแมว เครือข่ายป่าชุมชนตำบลมูลนิธิอนุรักษ์ป่า 5 รอยต่อ ปกป้องผืนป่า ให้ป่าเป็นป่ามูลนิธิอนุรักษ์ป่า 5 รอยต่อ ที่มีสัญลักษณ์เป็นรูปวัวแดงแม่ลูก 2 ตัว ต้นตะเคียน 5 ต้น ภูเขาและแม่น้ำอยู่ภายในวงกลมเป้าหมายของการจัดตั้งมูลนิธินี้ก็เพื่อส่งเสริม สนับสนุนให้ป่าเป็นป่า คนอยู่ในป่าได้ และให้สัตว์ป่าสามารถอยู่ร่วมกันได้ โดยประสานงานกับองค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งสนับสนุนด้านสวัสดิการให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ตลอดจนสร้างจิตสำนึกให้ราษฎรมีความรัก หวงแหนป่าไม้ และสัตว์ป่าอย่างยั่งยืนและนอกจากนี้ มูลนิธิก็จะขอเป็นตัวกลางในการประสานร่วมร้อยสมานฉันท์ ระหว่างส่วนต่างๆ และราษฎรในพื้นที่ จะเป็นพลังขับเคลื่อนที่สำคัญยิ่งในการที่ร่วมกันอนุรักษ์ป่าไม้และสัตว์ป่า ในพื้นที่รอยต่อ 5 จังหวัด เพื่อสนองตอบน้ำพระราชหฤทัยและพระมหากรุณาธิคุณแห่งองค์สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่ได้พระราชทานพระราชดำริ อันก่อให้เกิดคุณประโยชน์อย่างมหาศาลต่อทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อปกป้องผืนป่าให้ดำรงคงอยู่ตลอดไป
แจ้งเตือน
ภาพและเนื้อหาต่อไปนี้ ไม่เหมาะสมแก่เด็ก และเยาวชนอายุต่ำกว่า 18 ปี