ที่มาเฟซบุ๊กทีมนั่งรถไฟ กับนายแฮมมึน

รถไฟลอยน้ำ ภาพจริงหรือไม่? และมันทำได้จริงไหม?
หลายคนคงเห็นภาพนี้กันบ่อย (แต่คนละมุมเพราะคนถ่ายคนละคน) เป็นภาพรถไฟหน้าเหลืองๆ วิ่งผ่านท้องน้ำอันกว้างใหญ่ไพศาล บางคนเอาไปตัดต่อล้อเลียน บางคนเอาไปประกอบมุกวันพีซ
ทราบไม่ว่า นี่คือภาพจริง..ไม่มีแสตนอิน
ภาพที่เห็นคือปลายปี 2554 กับเหตุการณ์มหาอุทกภัยที่รุนแรงที่สุดในยุคนี้ น้ำท่วมสูงตัดขาดการเดินทาง ทั้งถนน และทางรถไฟ... แต่ยังมีรถไฟบางประเภทที่ยังสามารถ "ลุยน้ำ" ได้อยู่ นั่นคือ "รถจักรดีเซลไฮดรอลิกส์" และ "รถดีเซลราง"
รถจักรดีเซลที่ใช้
งานในประเทศไทยมี 2 ประเภท คือ
1. รถจักรดีเซลไฟฟ้า หลักการทำงานคือเครื่องยนต์ดีเซลจะทำงานให้เกิดกระแสไฟ กระแสไฟฟ้าที่ได้จะวิ่งผ่านสายไฟไปยัง Traction Motor (TM) ที่อยู่บริเวณเพลา และแปลงพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานกล เรียกง่ายๆ ว่าวิ่งด้วยกำลังไฟฟ้าแต่ใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิง ซึ่งรถจักรร้อยละ 99 ใช้แบบนี้
2. รถจักรดีเซลไฮดรอลิกส์ จะทำงาน โดยใช้เครื่องยนต์หมุนปั๊มน้ำมัลไฮดรอลิกส์ และใช้แรงดันน้ำมันไฮดรอลิกส์ไปขับเคลื่อนมอเตอร์ที่เป็นแกนเดียวกับล้อ
โดยรถจักร 2 ประเภทจะแตกต่างกัน ซึ่งการรถไฟใช้รถจักรดีเซลไฟฟ้ามากกว่า ซึ่งเจ้าดีเซลไฮดรอลิกส์จะเหลือใช้งานแค่ไม่กี่คัน
ในส่วนที่ทำให้แตกต่างในการลุยน้ำนั้น รถจักรดีเซลไฟฟ้าจะด้อยกว่าไฮดรอลิกส์
ซึ่งรถจักรดีเซลไฟฟ้านั้น อุปกรณ์ในการขับเคลื่อนจะอยู่ตรงเพลาล้อซึ่งสูงจากสันรางไม่มาก แต่ในขณะที่รถจักรดีเซลไฮดรอลิกส์จะไม่มีอุปกรณ์ดังกล่าว เช่นเดียวกันกับรถดีเซลรางที่มีการทำงานคล้ายคลึงกับรถจักรดีเซลไฮดรอลิกส์
เมื่อตอนน้ำท่วมนั้น ระดับน้ำที่สูงระหว่าง 0-15 ซม.จากสันราง รถจักรดีเซลไฟฟ้ายังสามารถเคลื่อนผ่านได้ด้วยความเร็วที่ต่ำมาก แต่เมื่อระดับน้ำสูงกว่า 15 ซม. มันจะอยู่ไล่ๆกับระดับของ TM ทำให้รถจักรดีเซลไฟฟ้าหมดสิทธิ์ใช้งานทันที (รถไฟที่มีเครื่องปรับอากาศก็เช่นกัน เพราะเครื่องยนต์แอร์(เมนเจน)จะอยู่ใต้ท้องรถ) เมื่อช่วงที่อยุธยาน้ำสูงมาก รถไฟสายเหนือ-อีสาน จึงวิ่งอ้อมไปทางฉะเชิงเทรา-องครักษ์-แก่งคอย ทันที...
ทว่า รถจักรดีเซลไฮดรอลิกส์สามารถทำงานได้แม้ระดับน้ำจะสูงกว่า 15 ซม. (แต่ไม่เกิน 30 ซม.) การรถไฟจึงนำรถจักรดีเซลไฮดรอลิกส์ กรุ๊ป และ เฮนเชล มาลากจูงขบวนรถพิเศษ ระหว่างดอนเมือง-อยุธยา-ดอนเมือง และช่วงนครสวรรค์-พิจิตร-นครสวรรค์ เพื่อบรรเทาความทุกข์ยากของคนในพื้นที่ซึ่งถูกตัดขาดจากโลกภายนอก มีเพียงรถไฟเท่านั้นที่ให้ความช่วยเหลือคนเหล่านั้นได้ และที่สำคัญ ไม่ว่าจะประชาชนจะอยู่ตรงไหน จุดไหนก็ตาม ก็แจวเรือมาและโบกรถไฟ รถไฟขบวนนั้นก็จะจอดรับโดยทันที (รถใช้ความเร็วประมาณ 5-20 กม./ชม.)
ความช่วยเหลือ ย่อมไปหาคนที่ต้องการเสมอ (ดัมเบิลดอร์กล่าวไว้ ในแฮร์รี่ พอตเตอร์ เล่ม2)
ตอนนั้นรถไฟเป็นฮีโร่เลยล่ะครับ
ภาพที่เห็นจึงเป็นอีกหน้าประวัติศาสตร์ของชาติภาพหนึ่งเช่นกัน
ใครที่ประสบเหตุคงจำได้ขึ้นใจแน่นอน
ภาพ : รถจักรดีเซลไฮดรอลิกส์เฮนเชล ทำขบวนรถพิเศษเพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ประสบภัย ระหว่างดอนเมือง-อยุธยา-ดอนเมือง
ขอบคุณภาพทั้งหมดจาก พี่หนึ่ง ภาสกร ครับ