หน้า: 1

ชนิดกระทู้ ผู้เขียน กระทู้: เปิดพอร์ต “KBank” รุกลงทุนในสตาร์ทอัพ ดึงเทคโนโลยีเสริมทัพ ในช่วง 3 – 5 ปีมานี้  (อ่าน 1 ครั้ง)
add
เรทกระทู้
« เมื่อ: 16 ก.พ. 19, 20:30 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
Send E-mail

แบ่งปันกระทู้นี้ให้เพื่อนคุณอ่านไหมคะ?

ปิดปิด
 

ในช่วง 3 – 5 ปีมานี้ สถาบันการเงินในประเทศไทย ตื่นตัวกับการตั้งมือรับ Technology Disruption ที่มาพร้อมกับคู่แข่งรายใหม่จากต่างประเทศ ที่เป็นบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ ที่ลงทุนในธุรกิจเทคโนโลยีการเงิน (Financial Technology) และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภค และลูกค้าองค์กร ทั้งขนาดใหญ่ และขนาดกลาง – เล็ก

เช่นกรณี “ธนาคารกสิกรไทย” (KBank) ซึ่งถ้าไล่เรียงในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ถือได้ว่าแบงก์รวงข้าวขยับตัวอย่างหนัก ทั้งการจัดตั้งบริษัทพัฒนาเทคโนโลยี-นวัตกรรมขึ้นเอง ขณะเดียวกันเข้าไปลงทุนใน “สตาร์ทอัพ” ทั้งในไทย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไปจนถึงภูมิภาคอื่นๆ ของโลก เพื่อเป็นทางลัดในการได้มาซึ่งอาวุธเทคโนโลยี และองค์ความรู้ สำหรับประยุกต์ใช้กับหน่วยงานต่างๆ ของเครือกสิกรไทย

- ปี 2559 จัดตั้งบริษัท “KBTG” (KASIKORN Business Technology Group) ปัจจุบันมี “คุณกระทิง – เรืองโรจน์ พูนผล” เป็นแม่ทัพ โดยกลุ่มบริษัทนี้ ทำหน้าที่พัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม 6 ด้านคือ World Class Design, Blockchain, Internet of Things (IoT), Machine Learning, Application Programming Interface (API) และ Mobile Application

- ปี 2560 ได้เปิดตัวบริษัท “Beacon Venture Capital” ทำหน้าที่เข้าไปลงทุนในบริษัทสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยี ที่กำลังอยู่ในระยะเริ่มต้น และระยะเติบโต ครอบคลุมทั้งใน “กลุ่มเทคโนโลยีการเงิน” (FinTech), “กลุ่มเทคโนโลยีสำหรับผู้บริโภค” (Consumer) และ “กลุ่มองค์กร” (Enterprise) ครอบคลุมการลงทุนสตาร์ทอัพทั้งในไทย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปัจจุบันกองทุน Beacon VC มีขนาด 135 ล้านเหรียญสหรัฐ

- ปี 2561 ตั้ง “KASIKORN VISION COMPANY LIMITED” หรือ “KVision” ซึ่งเป็น Investment Holding Company เข้าไปร่วมลงทุน และแสวงหาเทคโนโลยีดิจิทัลชั้นนำจากทั่วโลก เพื่อต่อยอดธุรกิจธนาคารในตลาด AEC+3 ให้เป็น Regional Life Platform of Choice

การดำเนินการในระยะแรกของ “KVision” มุ่งเป้าไปที่การสร้างฐานรากก่อน โดยการตั้ง “Business Innovation Scouting” เพื่อเข้าไปค้นหาพันธมิตรในกลุ่มประเทศทีมีความโดดเด่นด้านเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาและนำใช้กับผู้บริโภคในประเทศนั้น ๆ ก่อน 4 ประเทศ คือ

“สาธารณรัฐประชาชนจีน” ที่ปัจจุบันมีจำนวน FinTech Unicorns หรือบริษัทที่มีมูลค่ามากกว่า 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แซงหน้าสหรัฐอเมริกาไปแล้ว / “เวียดนาม” / “อินโดนีเซีย” ประเทศที่มีการเติบโตของเทค สตาร์ทอัพเป็นอันดับต้น ๆ ใน AEC+3 / “อิสราเอล” จุดกำเนิดเทคโนโลยีใหม่และเป็นแหล่งรวมของ บุคลากรผู้เชียวชาญด้านเทคโนโลยี

KBTG (KASIKORN Business Technology Group) บริษัทในเครือ KBank ทำหน้าที่พัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม
เจาะลึก “Beacon Venture Capital” เลือกเฟ้น “สตาร์ทอัพ” เสริมแกร่งธุรกิจในเครือ “KBank”

“แบงก์ไม่ได้มอง Startups เป็นคู่แข่งแล้ว แต่มอง Startups เป็นพันธมิตรธุรกิจ ขณะที่คู่แข่งแบงก์ คือ บริษัทที่เป็น “TechFin” จากต่างประเทศ นั่นคือ บริษัทที่เริ่มต้นจากการเป็นบริษัทเทคโนโลยี แล้วต่อมาขยายมาทำ “FinTech” หรือ Financial Service” ทีหลัง ซึ่งปัจจุบันบริษัทเทคโนโลยีใหญ่ที่ลงทุนในธุรกิจเทคโนโลยีการเงินเข้ามาในไทยมากขึ้น

เพราะฉะนั้นเราต้องช่วยกันสร้างบริการใหม่ๆ มาแข่งกับบริษัทที่เป็น TechFin จากต่างชาติ ซึ่งแบงก์พร้อมสนับสนุนสตาร์ทอัพ FinTech เพื่อร่วมกันต่อยอดธุรกิจให้แข็งแรง พร้อมแข่งขันกับบริษัทจากต่างประเทศ”

นั่นคือ คำกล่าวของ “คุณธนพงษ์ ณ ระนอง กรรมการผู้จัดการ บริษัท บีคอน เวนเจอร์ แคปิทัล จำกัด” บริษัทเงินร่วมลงทุนของธนาคารกสิกรไทย (KBank) ฉายภาพ Landscape การแข่งขันของอุตสาหกรรมการเงินที่เปลี่ยนแปลงไป

ผ่านไป 2 ปี ถึงวันนี้ “Beacon VC” เข้าไปลงทุนในสตาร์ทอัพแล้ว 6 ราย ที่แต่ละรายมีเทคโนโลยีที่ “KBank” สามารถนำไป plug-in เข้ากับหน่วยงานต่างๆ ขององค์กรได้ เพื่อสร้าง Value Added หรือเป็นอีกหนึ่งโปรดักต์นำเสนอลูกค้า ทั้งกลุ่มลูกค้าบุคคล, ลูกค้าผู้ประกอบการธุรกิจ SME และกลุ่มลูกค้าองค์กรขนาดใหญ่

คุณธนพงษ์ ณ ระนอง กรรมการผู้จัดการ บริษัท บีคอน เวนเจอร์ แคปิทัล จำกัด

สตาร์ทอัพ 6 รายที่ว่านี้ ประกอบด้วย

“Flowaccount” สตาร์ทอัพด้านการทำบัญชีออนไลน์ ออกแบบให้ใช้งานง่าย และสะดวก ปัจจุบันได้เอาเทคโนโลยีของ Flowaccount มาเชื่อมต่อกับระบบการให้บริการ Payroll ของธนาคารกสิกรไทย เพื่อให้ลูกค้าของธนาคารฯ สามารถใช้ระบบของ Flowaccount ทำเงินเดือนให้กับพนักงานของบริษัทตนเอง

“Eventpop” สตาร์ทอัพพัฒนาเทคโนโลยีด้านการบริหารจัดการอีเว้นท์ ครอบคลุมตั้งแต่ลงทะเบียนร่วมงาน จำหน่ายบัตร จ่ายเงินค่าบัตร ขณะนี้ “KBank” ได้นำเทคโนโลยีดังกล่าว มาทดสอบให้บริการกับลูกค้าในเครือที่อยากจัดงานอีเว้นท์ หรืองานสัมมนา ก็สามารถเอา Eventpop มาใช้ในการลงทะเบียนร่วมงาน-จำหน่ายตั๋ว

“Ookbee” สตาร์ทอัพที่เริ่มต้นธุรกิจ e-book และ e-magazine แต่ปัจจุบันได้แตกไลน์ธุรกิจเปิดแพลตฟอร์ม “จอยลดา” ที่ให้คนอ่านทั่วไปสามารถเขียนนิยายได้เอง ภายใต้แนวคิด User Generated Content

“Grab” กสิกรไทยเข้าไปลงทุนมูลค่า 1,500 ล้านบาท ความร่วมมือครั้งนี้ เบื้องต้นครอบคลุมการพัฒนา GrabPay by KBank เป็นกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ บนสมาร์ทโฟน (Mobile Wallet) ที่ทำให้ลูกค้า Grab ชำระเงินค่าเดินทาง และค่าบริการต่างๆ ของ Grab และสามารถโอนเงินซื้อสินค้า-บริการออนไลน์ รวมทั้งใช้จ่ายผ่าน QR Code ในร้านอาหาร – ร้านค้าทั่วไทย และพัฒนาแอปพลิเคชัน “K PLUS” และ “Grab” ใช้งานร่วมกันได้

ข้อมูล https://www.marketingoops.com/news/biz-news/kbank-invest-in-tech-startups/

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags: kbank
Tags:  kbank 

หน้า: 1

 
ตอบ
ชื่อ:
 
แชร์ไป Facebook ด้วย
กระทู้:
ไอค่อนข้อความ:
ตัวหนาตัวเอียงตัวขีดเส้นใต้จัดย่อหน้าชิดซ้ายจัดย่อหน้ากึ่งกลางจัดย่อหน้าชิดขวา

 
 

[เพิ่มเติม]
แนบไฟล์: (แนบไฟล์เพิ่ม)
ไฟล์ที่อนุญาต: gif, jpg, jpeg
ขนาดไฟล์สูงสุดที่อนุญาต 20000000 KB : 4 ไฟล์ : ต่อความคิดเห็น
ติดตามกระทู้นี้ : ส่งไปที่อีเมลของสมาชิกสนุก
  ส่งไปที่
พิมพ์อักษรตามภาพ:
พิมพ์ตัวอักษรที่แสดงในรูปภาพ
 
:   Go
  • ข้อความของคุณอยู่ในกระทู้นี้
  • กระทู้ที่ถูกใส่กุญแจ
  • กระทู้ปกติ
  • กระทู้ติดหมุด
  • กระทู้น่าสนใจ (มีผู้ตอบมากกว่า 15 ครั้ง)
  • โพลล์
  • กระทู้น่าสนใจมาก (มีผู้ตอบมากกว่า 25 ครั้ง)
         
หากท่านพบเห็นการกระทำ หรือพฤติกรรมใด ๆ ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รวมถึง การใช้ข้อความที่ไม่สุภาพ พฤติกรรมการหลอกลวง การเผยแพร่ภาพลามก อนาจาร หรือการกระทำใด ๆ ที่อาจก่อให้ผู้อื่น ได้รับความเสียหาย กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม