หน้า: 1

ชนิดกระทู้ ผู้เขียน กระทู้: สามประสานที่ไต้หวัน ส่ง‘พลังงานบริสุทธิ์’สู่ไทย  (อ่าน 19 ครั้ง)
add
เรทกระทู้
« เมื่อ: 11 ต.ค. 19, 20:55 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
Send E-mail

แบ่งปันกระทู้นี้ให้เพื่อนคุณอ่านไหมคะ?

ปิดปิด
 
งานแถลงข่าวจับมือของ EA Anywhere ของ บริษัทพลังงานมหานคร และ 4 พันธมิตรยักษ์ใหญ่ ได้แก่ บริษัท เชฟรอน (ไทย) จำกัด บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) บริษัท บริดจสโตน เอ.ซี.ที. (ประเทศไทย) และ บริษัท โรบินสัน จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 8 ก.ค.2562 เพื่อผุดสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าทั่วไทย 1,000 สถานีภายในปีนี้ ไม่เพียงเป็นวาระทางธุรกิจที่น่าตื่นเต้น

สามประสานที่ไต้หวัน

งาน “Charging The Future Synergy by EA Anywhere” ยังบ่งบอกถึงเทรนด์ของสังคมไทยว่าเข้าสู่ยุคยานยนต์สมัยใหม่

กล่าวคือ ทุกกิจการคำนึงถึงการรักษาสภาพแวดล้อมมาเป็นอันดับต้น เอื้ออำนวยด้วยเทคโนโลยีการชาร์จมาถึงจุดลงตัวด้วยล้ำสมัย ไม่กินเวลานาน สะดวกสบายเมื่อจะหาสถานีที่กระจายอย่างทั่วถึง และปลอดภัยต่อพาหนะที่ขับขี่
สามประสานที่ไต้หวัน
สมโภชน์ อาหุนัย – อมร ทรัพย์ทวีกุล คู่หูดูโอผู้บริหารอีเอ

อมร ทรัพย์ทวีกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ อีเอ (EA) บริษัทแม่ของพลังงานมหานคร กล่าวว่า การติดตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้าในพื้นที่การให้บริการและการดำเนินธุรกิจของพันธมิตรในครั้งนี้ทั่วประเทศ เพื่อรองรับยานยนต์ไฟฟ้าปลั๊กอินไฮบริด (PHEV) และ ยานยนต์ไฟฟ้าพลังงานแบตเตอรี่ (BEV) จึงเชื่อมั่นว่า เป้าหมายการเปิดให้บริการทั้งสิ้น 1,000 สถานี จะบรรลุได้ภายในปีนี้

ภายใต้เครื่องหมายการค้า EA Anywhere และโมบายล์ แอพพลิเคชั่น รองรับการใช้งาน

“เรามีความพร้อมสูงที่สุดด้วยการร่วมมือกับพันธมิตรทั้งสี่รายของเรา นำสังคมไทยก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ของการเดินทางด้วยยานยนต์สมัยใหม่ที่มั่นใจยิ่งขึ้น” นายอมรกล่าว พร้อมเผยว่า บริษัทเริ่มต้นสร้าง EA Anywhere มาตั้งแต่ปี 2560 จากแนวคิดที่จะนำสังคมไทยเข้าสู่ยุคแห่งการเดินทางด้วยยานยนต์สมัยใหม่ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ มีความปลอดภัย สะดวกสบาย ประหยัด และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
สามประสานที่ไต้หวัน
งานแถลงข่าว 5 พันธมิตรใหญ่จับมือผุดสถานีชาร์จไฟฟ้า

สอดคล้องกับการเปิดตัวยานยนต์ไฟฟ้า PHEV และ BEV เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและแพร่หลายในทุกๆ แห่งทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย

สามประสานที่ไต้หวัน

“การมีสถานีชาร์จที่เพียงพอและมีคุณภาพ ทันสมัย เป็นเครือข่าย จึงเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญที่ต้องมี ผู้ใช้รถจึงมั่นใจและกล้าที่จะใช้รถยนต์ไฟฟ้า ดังนั้น เราจึงได้ร่วมมือกับพันธมิตรทั้งภาครัฐ และเอกชนที่มีวิสัยทัศน์และแนวคิดคล้ายๆ กัน มาสร้างสถานีอัดประจุไฟฟ้าที่ทันสมัย ติดตั้งในพื้นที่ที่มีความหลากหลาย รองรับรูปแบบการใช้ชีวิตที่มีความหลากหลายมากขึ้น ผู้ใช้เข้ารับบริการได้ตามไลฟ์สไตล์ของตัวเองอย่างครบวงจร อาทิ สถานีบริการน้ำมัน ศูนย์บริการด้านยานยนต์ ร้านสะดวกซื้อ ศูนย์การค้า และร้านอาหารต่างๆ เป็นต้น” รองซีอีโออีเอกล่าว

การผงาดขึ้นมาของอีเอ จนยืนแถวเดียวกับบริษัทยักษ์ใหญ่ ทั้งสี่ในงานนี้ เป็นเรื่องที่น่าสนใจไม่น้อย โดยเฉพาะเมื่อมองว่าอีเอเพิ่งแจ้งเกิดเมื่อปี 2549 ในนามบริษัท ซันเทคปาล์มออยล์ จำกัด จากนั้นอีกสองปี แปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัด และเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) เพิ่มทุนจดทะเบียนเพื่อขยายธุรกิจใหญ่โตมาอย่างต่อเนื่อง
สามประสานที่ไต้หวัน
สถานีชาร์จอีเอ เอนีแวร์ จะติดตั้ง 1,000 จุดทั่วประเทศ

ปัจจุบันอีเอมีธุรกิจหลักๆ 5 ธุรกิจ 1.น้ำมันไบโอดีเซล (B100) กลีเซอรีนบริสุทธิ์และผลิตภัณฑ์พลอยได้ 2.กระแสไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน มุ่งเน้นพลังงานจากแสงอาทิตย์และลม

3.แบตเตอรี่ลิเทียมไอออน สำหรับอุตสาหกรรมพลังงานไฟฟ้าและยานยนต์ไฟฟ้า 4.สถานีอัดประจุไฟฟ้าสำหรับ ยานยนต์ไฟฟ้า ภายใต้ชื่อ EA Anywhere

5.ยานยนต์ไฟฟ้าที่ออกแบบและพัฒนาโดยฝีมือคนไทย 100% เป็นรถยนต์ไฟฟ้า ภายใต้ชื่อ Mine Mobility และ เรือไฟฟ้า

“บริษัทอีเอของเราที่ย่อมาจากคำว่า Energy Absolute แทนที่จะเป็น Absolute Energy หรือชื่อบริษัทพลังงานบริสุทธิ์ เพราะเป็นเจตนาและความตั้งใจที่จะสื่อถึงความฝันของบริษัทว่า เราต้องการเป็นความบริสุทธิ์ที่มีพลัง” สมโภชน์ อาหุนัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด บรรยายถึงที่มาที่ไปโดยสรุปสั้นๆ ระหว่างพาคณะสื่อมวลชนดูกิจการของบริษัทและพันธมิตรช่วงปลายเดือนมิถุนายน ที่ไต้หวัน

ทำไมต้องเป็นที่ไต้หวัน ?

นั่นเพราะเป็นที่ที่อีเอพบรัก (ทางธุรกิจและเทคโนโลยี) กับบริษัทและองค์กรพันธมิตรที่ร่วมศึกษาวิจัยเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อพัฒนาสินค้าผลิตภัณฑ์เข้าสู่ตลาด

หนึ่งคือ บริษัท AMITA Technologies Inc. ผู้ผลิตแบตเตอรี่ลิเทียม

และอีกหนึ่งคือ ITRI สถาบันวิจัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #1 เมื่อ: 12 ต.ค. 19, 19:31 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

บิ๊กบอสสมโภชน์พาคณะไปเยือนบริษัทและโรงงานอมิตา เทคโนโลยีส์ อิงค์ ที่เมืองเถาหยวน เป็นที่แรกก่อน

ด้านหน้าทางเข้าบริษัท ตั้งพระพุทธรูปพระอมิตาภพุทธะองค์ขนาดกลางไว้ บ่งบอกว่าถึงที่มาของชื่อบริษัทอมิตา ซึ่งมาจากคำว่า อมิตาภพุทธ
สามประสานที่ไต้หวัน
อลเดน ถู บรรยายกิจการอมิตา

เอลเดน ถู ผู้อำนวยการบอร์ดของอมิตา มาช่วยบรรยายที่มาที่ไปของบริษัท ซึ่งก่อตั้งเมื่อปี 2543 โดย ดร.จิม เฉิง ผู้เชี่ยวชาญเรื่องแบตเตอรี่ และมุ่งพัฒนาแบตเตอรี่ประเภทลิเทียมไอออนโพลิเมอร์ จนดึงเอาจุดเด่นของลิเทียมมาเพิ่มศักยภาพระบบกักเก็บพลังงานได้เป็นอย่างดี โดยโรงงานของ อมิตาแห่งนี้ออกแบบเครื่องจักรที่ใช้ผลิตแบตเตอรี่เองอย่างครบวงจร

คุณสมโภชน์กล่าวเสริมว่า ตอนแรกลิเทียมไม่ได้เข้าตาอีเอเลย ด้วยเห็นว่าแพงมาก กระทั่งเมื่อลงไปศึกษาวิจัยอย่างจริงจังรอบด้านใช้เวลาอยู่ 2-3 ปีแล้ว จึงตกผลึกและได้บทสรุปว่า ลิเทียมดีจริงๆ เพราะทำให้การผลิตพลังงานหมุนเวียนมีเสถียรภาพมากขึ้น ใช้พื้นที่น้อยลง ติดตั้งได้ทั้งในบริเวณจุดผลิต ระบบสายส่งไฟฟ้า จุดจ่ายไฟฟ้า ตลอดจนผู้ใช้ไฟฟ้า เหมาะสำหรับการใช้ในระบบการผลิตไฟฟ้าแบบกระจายตัว ไม่รวมศูนย์ ลดการลงทุนในระบบสายส่งขนาดใหญ่ ลดการศูนย์เสียพลังงาน และมีความคล่องตัว

อีเอจึงกลับมายังอมิตา โดยลงทุนซื้อหุ้นของบริษัทอมิตาอย่างเป็นมิตรช่วงปลายปี 2559 หลังจากเห็นว่าอมิตามีความเชี่ยวชาญมาก แม้ยังไม่เก่งเรื่องการตลาด แต่จุดเด่นอีกด้านของอมิตาคือมีความสัมพันธ์อันดีมากกับ ITRI สถาบันวิจัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมไต้หวัน

ผลงานเด่นที่เป็นก้าวสำคัญ ได้แก่ STOBA ซึ่งได้รับรางวัลและการยอมรับระดับโลก

STOBA เป็นวัสดุโพลิเมอร์ระดับนาโน เติมลงในแบตเตอรี่ ลิเทียมเพื่อเป็นแผ่นฟิล์มนั้น ป้องกันการลัดวงจร เมื่อเกิดความร้อนขึ้นข้างในแบตเตอรี่ สโตบาจะปิดกั้นไอออนทั้งบวกและลบไม่ให้ สปาร์กกัน จึงปลอดภัยไม่เกิดการระเบิดขึ้น ทำให้แบตเตอรี่ลิเทียมไออนของอมิตา มีความปลอดภัยสูงมาก

เป็นตัวอย่างหนึ่งจากการจับมือประสานพลังสามฝ่ายที่ตัวด้วยประการทั้งปวง
ประติมากรรมไฮเทคที่สถาบัน ITRI

จากนั้นทีมงานไปต่อที่สำนักงาน ITRI (ออกเสียงอิ-ทรี แบบ ท นำควบกล้ำ) Industrial Technology Research Institute ที่เมืองซินจู๋
สามประสานที่ไต้หวัน
เจ้าหน้าที่ ITRI บรรยาย

อิทรีเทียบไปแล้วคล้ายกับหน่วยงาน สวทช. ในบ้านเรา แต่มีภารกิจและประสบการณ์ใกล้ชิดวงการอุตสาหกรรมเอกชนมากกว่า รวมทั้งได้เงินงบประมาณสนับสนุนต่างออกไป คือมาจากรัฐบาลและเอกชนในสัดส่วนเท่าๆ กัน 50 : 50

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #2 เมื่อ: 12 ต.ค. 19, 19:32 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

เป็นส่วนที่กระตุ้นให้ทีมวิศวกรอิทรี ต้องร่วมพัฒนาผลงานออกมาทยอยออกมาจดสิทธิบัตรได้อย่างสม่ำเสมอ

ที่ตั้งของอิทรีอยู่ท่ามกลางบรรยากาศ สีเขียว เต็มไปด้วยต้นไม้ใหญ่น้อยสื่อถึงการเป็นสถาบันด้านเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมในทุกย่างก้าว
สามประสานที่ไต้หวัน
ภายในสถาบัน ITRI ร่มรื่นมาก

อิทรีมีพนักงาน 6,246 คน จบระดับด๊อกเตอร์ 1,434 คน ปริญญาโท 3,685 คน และปริญญาตรี 1,127 คน มีสำนักงานอยู่ทั่วเกาะไต้หวัน

เจ้าหน้าที่ของอิทรีพาชมผลงานและผลิตภัณฑ์เทคโนโลยี อันน่าตื่นตาตื่นใจหลายชิ้น กวาดรางวัลนานาชาติมาหลายตัวและต่อเนื่องหลายปีถึงปัจจุบัน แต่ละตัวผ่านการวางแผนและคำนวณตั้งแต่เริ่มต้นว่าปลายทางของผลิตภัณฑ์จะไปลงเอยอย่างไร จะรีไซเคิลอย่างไร และระหว่างเส้นทางการผลิตจะรักษาสภาพแวดล้อมทั้งน้ำ ฟ้า ดิน ได้อย่างไร

เช่น การรีไซเคิลจอแอลอีดีของโทรทัศน์ การผลิตโดรนที่ใช้พลังงานไฮบริด และการออกแบบตกแต่งภายในอาคารที่ใช้พลังงานจากธรรมชาติในการผลิตไฟฟ้า
สามประสานที่ไต้หวัน
ตัวอย่างรีไซเคิลจอแอลซีดี

จากนั้นเป็นการบรรยายผลงานและแผนงานเทคโนโลยีและนวัตกรรมของอิทรี นำทีมโดย ดร.เฉิน เจ๋อหยง รองผู้อำนวยการ

นอกจาก STOBA ที่ได้รับรางวัลและการยอมรับระดับโลกแล้ว ยังมี SWAGO ระบบกักเก็บพลังงานและชาร์จอัตโนมัติ มีรูปแมวเหมียวนั่งตาแป๋วเป็นพรีเซ็นเตอร์ และมีสถานีชาร์จอี-สกู๊ตเตอร์หลังคาติดแผงโซลาร์เซลล์ให้ชมเป็นขวัญตา
สามประสานที่ไต้หวัน
พรีเซ็นเตอร์ SWAGO

ช่วงท้ายอิทรียังเผยโฉมโรงงานรูปทรงทันสมัยแปลกตาของ อีเอที่จะเปิดที่จังหวัดฉะเชิงเทรา (Blue Tech City) ในปีหน้า

เป็นอีกหนึ่งผลงานความร่วมมือพัฒนาธุรกิจด้านระบบกักเก็บพลังงาน ที่นำไปสู่การขยายกำลังการผลิตของโรงงานในไต้หวันไปสู่ไทย เพื่อสร้างฐานการผลิตที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน ด้วยขนาดกำลังการผลิต 50 กิกะวัตต์ ชั่วโมงต่อปีในไทย มูลค่าการลงทุนราว 100,000 ล้านบาท
สามประสานที่ไต้หวัน
เผยโฉมโรงงานของอีเอที่จะเปิดในไทยปีหน้า

แผนงานนี้จะทำให้อีเอก้าวขึ้นเป็นผู้นำในธุรกิจแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนของภูมิภาคอาเซียน

ซีอีโอสมโภชน์กล่าวว่า เลือกฉะเชิงเทรา ซึ่งใกล้กรุงเทพฯ เป็นที่ตั้งโรงงานอีเอ เพราะบุคลากรของอีเออยู่ในเขตลาดกระบัง เป็นสถานที่ที่มีทรัพยากรมนุษย์และการขนส่งวัตถุดิบที่นำเข้า

“เรามักชินที่ต้องพึ่งการลงทุนจากต่างประเทศ ซึ่งสมัย 30 ปีก่อนทำได้ เพราะประชากรตอนนั้นของเรายังเป็นวัยรุ่นกลุ่มใหญ่ ไม่ใช่เข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างตอนนี้ ผมเห็นว่าเราต้องลงทุนเองในไทยให้ได้ อีเอเกิดมาจากเงินสนับสนุนของรัฐ (subsidy) ตอนนี้เราโตแล้ว ผมจะเป็นบริษัทแรกที่แสดงให้เห็นว่า เมื่อเราเคยได้ subsidy จากรัฐ ถึงเวลาที่เราจะคืนให้ชาติ เราจะเป็นคะตะไลต์ และถ้าอีเอทำสำเร็จ นี่จะเป็นโมเดลทางธุรกิจ เราจะทำให้เกิดดีเอ็นเอนี้และเดินไปข้างหน้า” ซีอีโออีเอ กล่าวอย่างมุ่งมั่น

https://www.khaosod.co.th/sci-tech/news_2694957

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:  พลังงานบริสุทธิ์  EA  อีเอพลังงานบริสุทธิ์  สมโภชน์อาหุนัย  สมโภชน์พลังงานบริสุท 

หน้า: 1

 
ตอบ
ชื่อ:
 
แชร์ไป Facebook ด้วย
กระทู้:
ไอค่อนข้อความ:
ตัวหนาตัวเอียงตัวขีดเส้นใต้จัดย่อหน้าชิดซ้ายจัดย่อหน้ากึ่งกลางจัดย่อหน้าชิดขวา

 
 

[เพิ่มเติม]
แนบไฟล์: (แนบไฟล์เพิ่ม)
ไฟล์ที่อนุญาต: gif, jpg, jpeg
ขนาดไฟล์สูงสุดที่อนุญาต 20000000 KB : 4 ไฟล์ : ต่อความคิดเห็น
ติดตามกระทู้นี้ : ส่งไปที่อีเมลของสมาชิกสนุก
  ส่งไปที่
พิมพ์อักษรตามภาพ:
พิมพ์ตัวอักษรที่แสดงในรูปภาพ
 
:   Go
  • ข้อความของคุณอยู่ในกระทู้นี้
  • กระทู้ที่ถูกใส่กุญแจ
  • กระทู้ปกติ
  • กระทู้ติดหมุด
  • กระทู้น่าสนใจ (มีผู้ตอบมากกว่า 15 ครั้ง)
  • โพลล์
  • กระทู้น่าสนใจมาก (มีผู้ตอบมากกว่า 25 ครั้ง)
         
หากท่านพบเห็นการกระทำ หรือพฤติกรรมใด ๆ ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รวมถึง การใช้ข้อความที่ไม่สุภาพ พฤติกรรมการหลอกลวง การเผยแพร่ภาพลามก อนาจาร หรือการกระทำใด ๆ ที่อาจก่อให้ผู้อื่น ได้รับความเสียหาย กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม