ในโอกาสครบรอบ 30 ปี 3 ทศวรรษ “กลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์” ผู้นำการบุกเบิกร้านค้าปลอดอากร (Duty Free) เมืองไทย โดยดำเนินธุรกิจครอบคลุมแบบครบวงจร มีทั้ง 1.ร้านค้าในเมือง (Duty Free Downtown) 4 แห่ง ได้แก่ รางน้ำ ศรีวารี พัทยา ภูเก็ต 2.ร้านค้าสนามบิน (Duty Free Airport ) 6 แห่ง ได้แก่ สุวรรณภูมิ ดอนเมือง เชียงใหม่ หาดใหญ่ ภูเก็ต อู่ตะเภา และ 3.บนเครื่อง (Duty Free Onbroad) ของ 2 สายการบิน ได้แก่ การบินไทย และแอร์ เอเชีย เรื่อยไปจนถึงการขายสินค้าออนไลน์ ผ่าน 2 ช่องทาง คือ เว็บไซต์ www.kingpower.com ก้าวขึ้นสู่ปีที่ 3 และแอพลิเคชั่น Kingpower Application เริ่มต้นเปิดการขายออน
ไลน์ในช่วงเวลาไล่เลี่ยกัน
“อภิเชษฐ์ ศรีวัฒนประภา” ผู้ช่วยประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ กลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์ เปิดใจให้สัมภาษณ์พิเศษ ถึงกลยุทธ์การเพิ่มขีดความสามารถสร้างยอดขายจากสนามแข่งขันช้อปปิ้งออนไลน์ กระตุ้นการใช้จ่ายเงินจากตลาดนักเดินทางคนไทยและนักท่องเที่ยวนานาชาติทั่วโลกที่ชื่นชอบมาพักผ่อนในประเทศไทย ซึ่งมีบริการจัดส่งพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกจากต้นทางถึงปลายทาง ด้วยคำถามและคำตอบที่น่าสนใจดังนี้
คำถามแรก – กลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์ วางกลยุทธ์เชิงรุกมุ่งพัฒนาธุรกิจการขายช้อปปิ้งผ่านช่องทางออนไลน์ไว้อย่างไรบ้าง
อภิเชษฐ์ – ได้วางกลยุทธ์การตลาดภาพรวมเชิงรุกธุรกิจช้อปปิ้งออนไลน์ปี 2562 ต่อเนื่องปี 2563 ลุยเจาะตลาดผ่าน 2 ช่องทาง คือ www.kingpower.com เข้าสู่ปีที่ 3 กับ Kingpower Application เดินหน้าบริการนักช้อปตลาดคนไทยและนานาชาติโดยเฉพาะชาวจีนซึ่งเป็นกลุ่มหลักที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวเมืองไทยปีละกว่า 10 ล้านคน
ปี 2562 การค้าออนไลน์ของคิง เพาเวอร์ มีสัญญาณบวกอย่างมีนัยสำคัญประเมินได้จากยอดขายตลอด 9 เดือนแรก ระหว่างมกราคม-กันยายน 2562 เติบโตเพิ่มขึ้นถึง 220 % หรือขยายตัวอย่างรวดเร็วกว่า 2 เท่า โดยมีปัจจัยสนับสนุนหลักมาจาก “การเปลี่ยนพฤติกรรมนักท่องเที่ยวและนักเดินทางทั้งชาวไทยและต่างชาติ” ยุคปัจจุบันและอนาคตหันมาสั่งซื้อสินค้าซึ่งสามารถเลือกหรือตัดสินใจได้ทันที เมื่อเห็นสินค้าที่ใช้อยู่เป็นประจำและคุ้นเคยกับผลิตภัณฑ์หรือแบรนด์นั้นๆ เป็นอย่างดี
ประกอบกับการจัดทำหมวดสินค้าวางขายบนแพลตฟอร์ม www.kingpower.com ซึ่งดีไซน์จัดทำรูปแบบบริการตามมาตรฐานสากลพร้อมอำนวยความสะดวกแก่ลูกค้าทุกกลุ่มอย่างเท่าเทียมกัน โดยได้แบ่งประเภทผลิตภัณฑ์แยกหมวดชัดเจน ประกอบด้วย 1.สินค้าแบรนด์เนมต่างประเทศ นักช้อปคนไทยจะต้องมีตั๋วโดยสารเครื่องบินเดินทางต่างประเทศ เมื่อซื้อแล้วจะต้องไปรับ ณ จุดรับส่งมอบสินค้าหรือ pick up counter ในสนามบินขาออกทั้งที่ สุวรรณภูมิ ดอนเมือง ภูเก็ต เชียงใหม่ หาดใหญ่ 2.สินค้าแบรนด์ไทย และ House Brand ส่วนใหญ่ผลิตและขายในประเทศได้ทันทีโดยไม่ต้องมีเที่ยวบินต่างประเทศก็สามารถช้อปได้ ส่วนใหญ่จะเป็นผลิตภัณฑ์แก็ตเจ็ตและอิเลคทรอนิกส์ต่างๆ