ด้านอีกหนึ่งผู้ประกอบการอย่าง
นางสาวรุ่งระวี กิตติสินชัยกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไมลอทท์ แลบบอราทอรีส์ จำกัด กล่าวถึงกลยุทธ์สร้างผลิตภัณฑ์ในตลาดความงามโลกว่า "แม้ตลาดเครื่องสำอางจะมีมูลค่าการเติบโตสูงขึ้นทุกปี แต่ในด้านของการแข่งขันก็มีไม่น้อยไปกว่ากัน โดยเฉพาะในปีที่ผ่านมา มีผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางเกิดใหม่เพิ่มมากขึ้น ทั้งยังมีรูปแบบนำเสนอสินค้าที่หลากหลายกว่าเดิม อาทิ เทรนด์ผลิตภัณฑ์ที่แปลกใหม่ Packaging ที่แตกต่างพกพาสะดวก ราคาต่อหน่วยที่ถูกลง โดยเฉพาะช่องทางการขายที่เข้าถึงได้ง่าย ทั้งจากช่องทางเดิมๆ ใน Modern trade, Convenient store, Beauty shop, Retail shop และการบุกทาง Online โดยกลุ่ม Startup, ดารานักแสดง, Net Idol ผ่าน Social Media ต่างๆ ที่มีต้นทุนต่ำและเข้าถึงผู้บริโภคได้ง่าย ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ส่งผลให้พฤติกรรม Brand Loyalty ของผู้บริโภคลดลง และนำมาซึ่งการตัดสินใจใช้สินค้าใหม่ๆ แบรนด์ใหม่ๆ ง่ายขึ้น"

การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคครั้งนี้ ประกอบกับการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ ส่งผลให้ตลาดเครื่องสำอางมีการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้น เพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค โดยเฉพาะกลุ่ม Mass ระดับกลางและระดับล่าง ทั้งในกลุ่มผู้ประกอบการใหม่, กลุ่มผู้ขายสินค้านำเข้า หรือแม้แต่กลุ่ม Global Brand เอง ก็เริ่มพัฒนา Collection ที่ถูกลง เพื่อเข้าหาลูกค้ากลุ่ม Mass มากขึ้น รวมถึงออก Fighting brand ใหม่ๆ ในราคาที่จับต้องได้ เพื่อร่วมในตลาดระดับรองลงมา และรักษาส่วนแบ่งการตลาดในกลุ่มสินค้านั้นๆ แต่โชคดีที่ในปี 2563 สัดส่วนของผู้บริโภคจะมีการขยายตัวเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากอายุของกลุ่มที่เริ่มใช้เครื่องสำอางมีค่าเฉลี่ยลดลง ทั้งยังมีโอกาสจากกลุ่มนักลงทุนต่างประเทศ ที่เชื่อมั่นในศักยภาพของประเทศไทย และมองหาคู่ค้าไทยในการทำธุรกิจ โดยเฉพาะในเวที "คอสโมพรอฟ ซีบีอี อาเซียน แบงค็อก 2563" ที่ช่วยเพิ่มโอกาสให้ผู้ประกอบการชาวไทยสามารถส่งสินค้าในมือไปสู่ตลาดโลก เพื่อสู้กับการแข่งขันที่ขยายตัว ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
นางสาวรุ่งระวี กล่าวต่อไปว่า "ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความพร้อมในการผลิตและมี Supply Chain ที่ครบวงจร และยังมีแรง
งานที่มีทักษะ รวมถึงเทคโนโลยีที่ทันสมัย ซึ่งการเสริมจุดแข็งเหล่านี้ ผู้ประกอบการใหม่ควรศึกษาถึงการใช้ทรัพยากรที่มี เพื่อพัฒนาและสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ รวมถึงการ Formulate สูตรต่างๆ ให้ทันสมัยและเป็นไปตามความต้องการของลูกค้า พร้อมคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมไปด้วย และควรเพิ่มความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภค ด้วยการสร้างสรรค์สินค้าให้มีคุณภาพและปลอดภัยในระดับผ่านการประเมินจากองค์กรที่มีการรับรองในระดับสากลทั้งในและต่างประเทศ รวมไปถึงการเสริมศักยภาพของตัวองค์กร อาทิ เป็นสินค้าที่มีสิทธิประโยชน์การยกเว้นภาษีนำเข้าวัตถุดิบไปยังต่างประเทศ หรือการบริหารการจัดการให้มีคุณภาพ ตั้งแต่ด้านการผลิต การจัดเก็บ ไปจนถึงการส่งมอบ"

"จากการคาดการณ์ด้านเศรษฐกิจของนักลงทุน และนักเศรษฐศาสตร์ พบกว่าภาพรวมของเศรษฐกิจไทยรวมไปถึงในระดับโลก อาจยังไม่มีแนวโน้มฟื้นตัวในเร็วนี้ ทว่าในตลาดเครื่องสำอางและความงามไทยยังคงเป็นตลาดที่มีความแข็งแรงอยู่ ทั้งยังมีแนวโน้มที่สามารถเติบโตสวนทางกับกระแสเศรษฐกิจโลก และเพื่อเพิ่มโอกาสการเติบโตของผู้ประกอบการไทย รวมไปถึงตลาดความงามไทย ‘อินฟอร์มา มาร์เก็ต’ จึงใช้ประสบการณ์การจัดงาน Cosmoprof ทั่วโลกที่ผ่านมา และความเข้าใจใน Insight ความต้องการของธุรกิจจัดงานแสดงสินค้าเพื่อธุรกิจความงาม เพื่อผลักดันให้ "คอสโมพรอฟ ซีบีอี อาเซียน แบงค็อก" ได้เติมเต็มศักยภาพของผู้ประกอบการไทยไปอีกขั้น เพื่อให้โอกาสการลงทุนเครื่องสำอางไทยในตลาดโลกมีตัวเลขเพิ่มขึ้น พร้อมพาตลาดความงามฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้ไปด้วยกัน"
นายสรรชาย กล่าวทิ้งท้าย
ผู้ที่สนใจสามารถติดตามข้อมูลข่าวสาร และรายละเอียดเพิ่มเติมของนิทรรศการแสดงสินค้าเพื่อธุรกิจความงามระดับโลก "คอสโมพรอฟ ซีบีอี อาเซียน แบงค็อก 2563 (Cosmoprof CBE ASEAN 2020)" ได้ที่ www.cosmoprofcbeasean.com