พ่อแม่มือใหม่ที่เพิ่งเห็นหน้าลูกน้อยเพียงไม่กี่สัปดาห์ หลังจากคลอด ยังจำเป็นต้องใช้เวลาค่อย ๆทำความรู้จัก เรียนรู้ความต้องการและพฤติกรรมของลูกน้อยจากลักษณะการร้องไห้ ค่อยๆ จับทิศทางเพื่อตอบสนองได้ตรงกับความต้องการของลูกน้อย โดยช่วงแรกๆ พ่อแม่หลายคนอาจจะเลือกใช้วิธีการเดา หรือคอยสังเกตว่า ทารกร้องไห้ เพราะอะไร หิว ง่วง หรือไม่สบายตัว โดยต้องใช้เวลาค่อยๆ เรียนรู้กันไป
แต่ทุกอย่างคงจะยากขึ้นหาก เด็กร้องไห้ ไม่มีสาเหตุ ร้องไห้ติดต่อกันเป็นเวลานาน 2 – 3 ชั่วโมง และติดต่อกันหลายวัน หลายสัปดาห์ ร้องไห้แล้วปลอบโยนอย่างไรก็ไม่สงบ โดยเฉพาะถ้าลูกร้องด้วยลักษณะอาการเหมือน”ปวดท้อง” เช่น เกร็งท้อง, งอมือและขาเข้าหาตัว ,ร้องไห้รุนแรงหน้าแดงและร้องนานเป็นชั่วโมง เห็นแบบนี้แล้วพ่อแม่คงเป็นกังวลอย่างมาเลย และไม่แน่ใจว่าพ่อแม่จะรับมือกับอาการเหล่านี้ยังไงดี
เทคนิคช่วยลูกเมื่อร้องไห้โคลิค
การช่วยให้ลูกสบายตัวขึ้นคือเทคนิคสำคัญที่จะทำให้ลูกสงบลงได้ โดยพ่อแม่อาจเลือกใช้วิธีต่าง ๆ ดังนี้
-อุ้มลูกแล้วนั่งเก้าอี้โยกช้า ๆ โดยให้ลูกนอนบนตัก , นอนคว่ำหรือนอนตะแคง หรือเดินแล้วโยกตัวเบาๆ
-นวดท้องทวนเข็มนาฬิกาเบา ๆ ไม่เกิน 5 นาที
-พาลูกไปห้องเงียบ ๆ มีแสงสว่างน้อย ๆ เปิดเพลงเบาๆ เพื่อให้ลูกสงบลง
-พาลูกอาบน้ำอุ่นเช็ดตัวให้แห้งแล้วห่อตัวลูกไว้เหมือนกับลูกอยู่ในท้องแม่
แต่หากว่าลูกมีอาการต่อไปนี้ร่วมด้วย พ่อแม่ก็ไม่ควรนิ่งนอนใจต้องพาลูกไปพบแพทย์ทันทีเพราะเป็นสัญญาณเตือนว่าลูกอาจมีอันตรายหรือความผิดปกติเกิดขึ้น ได้แก่
-อาเจียน
-ถ่ายมีมูกหรือเลือดหรือถ่ายเหลว
-หายใจไม่สะดวก ผิวเริ่มซีดหรือคล้ำลง
-เริ่มไม่ตอบสนอง
-มีอาการชัก
สิ่งเหล่านี้พ่อแม่ต้องหมั่นสังเกตและหากเกิดขึ้นต้องไม่ปล่อยทิ้งไว้ เพราะอาจเป็น ผลเสีย ต่อตัวลูกน้อยได้ โดย อาการโคลิค นี้เป็นอาการที่สามารถหายไปได้เมื่ออายุได้ 4 – 6 เดือน หากว่าไม่แน่ใจว่าจะรับมือกับอาการเหล่านี้อย่างไร แนะนำให้พบแพทย์โดยทันทีนะ
พ่อแม่จะภูมิใจ ทั้งยังมีเรื่องราวเก็บไว้เล่าขานเป็นตำนานการรับมือกับลูกน้อยร้องไห้โยเยในวัยทารกได้อย่างไม่รู้เบื่อเลยทีเดียว