สำหรับใครก็ตามที่กำลังคิดจะสมัครทำ
บัตร easy pass บัตร m pass นั้นเราก็อยากที่จะให้ทุกคนได้รู้จักเกี่ยวกับบัตรนั้นให้ดีก่อน โดยเมื่อเราทำการซื้อบัตรแล้วนะเราก็จะได้มาอยู่ 2 อย่างก็คือ บัตรพลาสติกแข็ง ขนาดเท่านามบัตร หรือเท่ากับบัตร ATM แต่บางกว่า ไว้สำหรับเติมเงิน และ TAG สำหรับติดหน้ากระจกรถ เพื่อเป็นตัวรับสัญญาณเวลาวิ่งผ่านช่องอัตโนมัติ โดยช่องทางการซื้อนั้นก็ได้แก่
1.บัตร Easy Pass นั้นถือว่าเป็นบัตรที่ได้รับความนิยมมากกว่า บัตร m pass และผู้คนเรียกติดปากมากกว่า ซึ่งเราจะสามารถหาซื้อได้จากสถานที่ต่างๆดังต่อไปนี้
-อาคารด่านเก็บค่าผ่านทางเฉลิมมหานคร อาคารด่านเก็บค่าผ่านทางฉลองรัช และอาคารด่านเก็บค่าผ่านทางบูรพาวิถี ได้ทุกด่านของทางด่วนที่เราได้กล่าวไป
-ทางพิเศษกาญจนาภิเษก และทางพิเศษศรีรัช ในบางด่านเท่านั้น
-สำนัก
งานใหญ่ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ซึ่งตั้งอยู่บนถนนพหลโยธิน
-จุดพักรถที่ปั๊มน้ำมัน ปตท.บางนา ในขาออก
-ศูนย์บริการลูกค้า บริษัททางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM อโศกดินแดง
2.บัตร M-Pass จะเป็นบัตรที่มาจากทางพิเศษมอเตอร์เวย์ ชลบุรี วงแหวนฯ ซึ่งอาจจะได้รับความนิยมน้อยกว่ามาก แต่ถ้าหากว่าใช้บัตร m pass ก็สามารถขึ้นทางด่วนลอยฟ้าได้เหมือนกัน โดยจะมีจุดจำหน่ายที่ธนาคารกรุงไทยทั้ง 120 สาขา ในเขตกรุงเทพฯ ปทุมธานี อยุธยา ชลบุรี ระยอง และนครนายก
ส่วนวิธีการใช้บัตรผ่านอัตโนมัติทั้ง 2 แบบนั้น ก็สามารถที่จะใช้งานได้ง่ายๆ ซึ่งในครั้งแรกที่เราจะใช้บัตร easy pass และ m pass นั้นเราจำเป็นที่จะต้องจ่ายเงินเพื่อให้ได้บัตรและ TAG ติดหน้ารถมาก่อน โดยราคาขั้นต่ำนั้นก็คือ 1,000 บาท ซึ่งเราไม่ต้องเสียค่าประกันความเสียหาย (แบบเดียวกับมัดจำอุปกรณ์) เนื่องจากถูกยกเลิกไปตั้งแต่ 7 ปีที่แล้วนั่นเอง ซึ่งเมื่อเราทำการซื้อบัตรและ TAG มาเรียบร้อยแล้วนั้น ในขั้นตอนต่อไปก็คือการเติมเงินเข้าไปในบัตร อัตราขั้นต่ำนั้นก็คือ 500 บาท และสูงสุดไม่เกิน 5,000 บาท โดยกำหนดยอดคงเหลือในบัตร โดยบัตร easy pass นั้นจะสามารถบรรจุยอดเงินในบัตรได้ทั้งหมดไม่เกิน 9,999 บาท ส่วนบัตร m pass นั้นจะสามารถบรรจุยอดเงินในบัตรได้ทั้งหมด 10,000 บาท
สำหรับช่องทางในการเติมเงินของบัตร easy pass และบัตร m pass นั้นก็คือ
1.บัตร easy pass จะมีช่องทางการเติมเงินได้อย่างหลากหลายและสะดวกกว่าบัตร m pass โดยเราสามารถเติมเงินได้ที่ตู้ ATM, internet banking, application บน
มือถือ ซึ่งจะครอบคลุมเกือบทุกธนาคาร, เคาเตอร์เซอร์วิส 7-11 หรือโลตัส, application Wallet by True Money และตัดเงินผ่านบัญชีธนาคาร เมื่อยอดเหลือต่ำกว่า 300 บาท ซึ่งเรานั้นจะต้องทำการสมัครผ่าน www.easytopup.co.th โดยมีค่าธรรมเนียมการเติม ครั้งละ 20 บาท ส่วนในการเติมผ่านธนาคารช่องทางอื่นที่กล่าวมาข้างต้นนั้นก็จะมีค่าธรรมเนียมเริ่มต้น 5 บาท ส่วนเคาเตอร์เซอร์วิสสูงสุดอยู่ที่ 10 บาท นั่นเอง
2.บัตร m pass เราสามารถที่จะเติมเงินได้เพียงช่องทางเดียวเลยก็คือ ที่ธนาคารกรุงไทย แต่จะเลือกช่องทางย่อยของธนาคารก็ได้ เช่น ที่สาขาทำการ, ที่ตู้ ATM กรุงไทย, กรุงไทยเน็ตแบ้งค์กิ้ง และที่ตู้บุญเติม (ยกเว้นตู้หน้า 7-11, โลตัส และ BTS)