หน้า: 1

ชนิดกระทู้ ผู้เขียน กระทู้: Affinity เผยการค้นพบโปรตีนภูมิคุ้มกันที่มีศักยภาพในการยับยั้งไวรัส SARS-CoV-2  (อ่าน 17 ครั้ง)
add
เรทกระทู้
« เมื่อ: 4 ก.ค. 20, 10:14 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
Send E-mail

แบ่งปันกระทู้นี้ให้เพื่อนคุณอ่านไหมคะ?

ปิดปิด
 
Affinity Biosciences Pty Ltd (Affinity) บริษัทเอกชนจากออสเตรเลียที่มุ่งเน้นการตรวจหาแอนติบอดีสำหรับการรักษาโรคมะเร็ง ประกาศว่า บริษัทค้นพบโปรตีนภูมิคุ้มกันที่มีศักยภาพในการรักษาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Affinity เริ่มคัดกรองคลังแอนติบอดีมนุษย์ที่อยู่ในกรรมสิทธิ์ของบริษัทกว่าหนึ่งแสนล้านชนิด เพื่อตรวจหาแอนติบอดีที่สามารถยับยั้ง SARS-CoV-2 ซึ่งเป็นไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคโควิด-19 มาตั้งแต่เดือนมีนาคม และหลังจากที่ได้ค้นพบแอนติบอดีที่มีคุณสมบัติในการสกัดกั้นสไปค์โปรตีนของไวรัสไม่ให้เข้าไปยึดเกาะกับตัวรับบนเซลล์มนุษย์ได้เป็นจำนวนมากแล้ว ในเดือนเมษายน บริษัทก็ได้เข้าไปทำงานกับสถาบันปีเตอร์ โดเฮอร์ที เพื่อการวิจัยโรคติดเชื้อและภูมิคุ้มกัน เพื่อดำเนินการทดสอบการทำงานของไวรัสในห้องปฏิบัติการ จนในที่สุดสถาบันโดเฮอร์ทีก็ให้การรับรองว่า แอนติบอดีของ Affinity สามารถต่อต้านการติดเชื้อ SARS-CoV-2 ได้อย่างสมบูรณ์ในระดับความเข้มข้นเป็นตัวเลขหลักเดียวไมโครกรัม/มิลลิลิตร จากวิธีการทดสอบแบบ neutralisation assay เป็นเวลา 5 วัน ซึ่งพบว่าแอนติบอดีเหล่านี้มีความสามารถในการเข้าไปยึดเกาะกับสไปค์โปรตีนของ SARS-CoV-2 ที่ความเข้มข้นประมาณ 20 พิโกโมลาร์ จึงช่วยชะลออัตราการแพร่กระจายให้ลดลงอย่างมาก โดยขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่แอนติบอดีเข้าไปฝังตัวอยู่ในเซลล์เป้าหมายนั้นๆ

ดร.ปีเตอร์ สมิธ ซีอีโอ Affinity เปิดเผยว่า “แอนติบอดีของเราจะเข้าไปยึดเกาะกับสไปค์โปรตีนของไวรัสและสกัดการทำงานของมัน จึงเท่ากับว่าแอนติบอดีเหล่านี้อาจสามารถป้องกันไม่ให้ไวรัสเข้ามาก่อตัวในร่างกายของผู้ที่มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงดี และช่วยยับยั้งการเติบโตของไวรัสในผู้ป่วยที่ติดเชื้อได้ด้วยการเข้าไปสกัดความสามารถในการเพิ่มจำนวนและแพร่กระจายสู่เซลล์ใหม่ ๆ ได้”

การบำบัดรักษาที่มีประสิทธิภาพสูงนั้นจะทำให้สามารถกลับเข้าสู่วิถีชีวิตตามปกติได้เร็วขึ้น โดยจะช่วยลดจำนวนผู้ป่วยที่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลให้น้อยลง

ขั้นตอนต่อไปในการพัฒนาวิธีการรักษาโควิด-19 ของ Affinity มีดังต่อไปนี้:

- Affinity จะหาวิธีการที่จะทำให้แอบติบอดีของพวกเขาเข้าสู่กระบวนการผลิตที่เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษาวิจัยทางคลินิกให้เร็วที่สุด
- ร่วมมือกับหน่วยงานกำกับดูแล อาทิ TGA, FDA และ EMA เพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาทางคลินิกให้เร็วขึ้น
- หารือกับรัฐบาลของประเทศต่าง, องค์กร NGO และบริษัทยาทั้งหลาย เพื่อเร่งความเร็วในการพัฒนาและจัดจำหน่ายเชิงพาณิชย์ ขณะนี้แอนติบอดีของ Affinity กำลังอยู่ระหว่างการเปรียบเทียบกับผลการศึกษาของสถาบัน La Jolla Institute for Immunology ( CoVIC Program) ที่ได้เงินสนับสนุนมาจาก COVID-19 Therapeutics Accelerator ซึ่งเป็นโปรแกรมที่เปิดตัวออกมาเมื่อเดือนมีนาคม โดยมูลนิธิ Bill & Melinda Gates Foundation, Wellcome Trust, Mastercard และ philanthropists (covic.lji.org).

นอกจากนี้ Affinity ยังเป็นสมาชิกของโครงการพัฒนาด้านชีววิทยาเพื่อต่อต้านไวรัส SARS-CoV-2 ซึ่งนำโดยสถาบัน Walter and Eliza Hall Institute และเพิ่งรับเงินทุนมาจากรัฐบาลรัฐวิคตอเรียและกองทุน Medical Research Future Fund (MRFF)

เว็บไซต์: affinity.bio/covid-19



รูปภาพ- https://photos.prnasia.com/prnh/20200519/2807907-1
คำบรรยายภาพ - แอนติบอดีของ Affinity Biosciences มีความสัมพันธ์กับสไปก์โปรตีนของไวรัส SARS-CoV-2

รูปภาพ - https://photos.prnasia.com/prnh/20200519/2807907-1-LOGO
คำบรรยายภาพ - โลโก้ของ Affinity Biosciences


noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า

กระทู้ฮอตในรอบ 7 วัน

Tags:
Tags:  

หน้า: 1

 
ตอบ

ชื่อ:
 
แชร์ไป Facebook ด้วย
กระทู้:
ไอค่อนข้อความ:
ตัวหนาตัวเอียงตัวขีดเส้นใต้จัดย่อหน้าชิดซ้ายจัดย่อหน้ากึ่งกลางจัดย่อหน้าชิดขวา

 
 

[เพิ่มเติม]
แนบไฟล์: (แนบไฟล์เพิ่ม)
ไฟล์ที่อนุญาต: gif, jpg, jpeg
ขนาดไฟล์สูงสุดที่อนุญาต 20000000 KB : 4 ไฟล์ : ต่อความคิดเห็น
ติดตามกระทู้นี้ : ส่งไปที่อีเมลของสมาชิกสนุก
  ส่งไปที่
พิมพ์อักษรตามภาพ:
พิมพ์ตัวอักษรที่แสดงในรูปภาพ
 
:  
  • ข้อความของคุณอยู่ในกระทู้นี้
  • กระทู้ที่ถูกใส่กุญแจ
  • กระทู้ปกติ
  • กระทู้ติดหมุด
  • กระทู้น่าสนใจ (มีผู้ตอบมากกว่า 15 ครั้ง)
  • โพลล์
  • กระทู้น่าสนใจมาก (มีผู้ตอบมากกว่า 25 ครั้ง)
         
หากท่านพบเห็นการกระทำ หรือพฤติกรรมใด ๆ ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รวมถึง การใช้ข้อความที่ไม่สุภาพ พฤติกรรมการหลอกลวง การเผยแพร่ภาพลามก อนาจาร หรือการกระทำใด ๆ ที่อาจก่อให้ผู้อื่น ได้รับความเสียหาย กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม