หน้า: 1

ชนิดกระทู้ ผู้เขียน กระทู้: เมื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนกับการดำเนินธุรกิจ ... ต้องเป็นหนึ่งเดียวกัน  (อ่าน 22 ครั้ง)
add
เรทกระทู้
« เมื่อ: 9 ก.ค. 20, 13:28 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
Send E-mail

แบ่งปันกระทู้นี้ให้เพื่อนคุณอ่านไหมคะ?

ปิดปิด
 
การดำเนินธุรกิจต้องปรับตัวและพัฒนาตนเองอยู่เสมอเพื่อให้สามารถอยู่รอดและเติบโตได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน ดังนั้น การพัฒนาองค์กรสู่ความยั่งยืนจึงเป็น “เรื่องสำคัญ” ที่ทุกธุรกิจต้องบูรณาการและขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปธรรมซึ่งสามารถทำได้หลายรูปแบบตามบริบทองค์กร

แล้วความยั่งยืน (Sustainability) คืออะไร ???
- สฤณี อาชวานันทกุล นักเขียน นักแปล นักวิชาการอิสระด้านการเงิน ให้ความหมายไว้ว่า

"คือการกระทำอะไรก็แล้วแต่ที่ทำให้ลูกหลานเราไม่เดือดร้อน ลูกหลานเราในอนาคตสามารถใช้ชีวิตด้วยคุณภาพชีวิตที่ไม่ด้อยกว่าเรา นี่คือความหมายของความยั่งยืน คือการมองไปที่คนรุ่นหลัง"

แล้วในมุมของธุรกิจมีการวางยุทธศาสตร์ด้านความยั่งยืนไว้เช่นไร ???
- ศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด มองว่า

"การขับเคลื่อนความยั่งยืนของเครือเจริญโภคภัณฑ์ มีพื้นฐานมาจากความกตัญญู และความซื่อสัตย์ โดยพนักงานทุกคนยึดมั่นในหลักค่านิยม 3 ประโยชน์ ที่ปฏิบัติต่อเนื่องมาเกือบ 100 ปี นับตั้งแต่ ก่อตั้งบริษัทน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ ดำเนินการตามระบบซีพี สู่ความเป็นเลิศ และปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ยึดมั่นหลักการสากล และกฎระเบียบข้อบังคับและมาตรฐานของทุกประเทศที่เครือฯ เข้าไปดำเนินงาน


เครือเจริญโภคภัณฑ์กำหนดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนครอบคลุม 12 เป้าหมายหลัก ซึ่งมีความสอดคล้องตาม SDGs ของสหประชาชาติ ทุกองค์ประกอบภายใต้ยุทธศาสตร์ความยั่งยืน โดยมีกรอบการดำเนินงาน 3Hs HEART-HEALTH-HOME เป็นตัวขับเคลื่อนองค์กรให้เติบโตและก้าวหน้าอย่างมั่นคง เพื่อสร้างการยอมรับจากผู้มีส่วนได้เสียในทุกพื้นที่ครอบคลุม 21 ประเทศทั่วโลกและเขตเศรษฐกิจ"

จะเห็นได้ว่า "ความยั่งยืน" เป็นคำพูดที่มีการพูดถึงมากในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 และต้นศตวรรษที่ 21 จนทำให้ความยั่งยืนเริ่มกลายเป็นกระแสหลัก นำไปสู่การขยายแนวคิดดังกล่าวสู่ภาคปฏิบัติ เช่น การทำรายงานความยั่งยืนของธุรกิจน้อยใหญ่ทั่วโลก ส่วนในภาพใหญ่ ก็มีความพยายามสร้างดัชนีชี้วัดทางเลือกมาทดแทนจีดีพี


ซึ่งในภาคธุรกิจขนาดใหญ่ที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ มักจะพูดถึงดัชนี DJSI : Dow Jones Sustainability Indices หรือแม้แต่เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals) : SDGs) ทั้ง 17 ข้อ ล้วนแล้วแต่เป็นข้อนําไปปฏิบัติของทั้งธุรกิจ และประเทศเพื่อให้บรรลุผลสําเร็จ เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

จนเป็นที่มาของนโยบายของรัฐบาลไทยที่คุ้นชินหู “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน”

จนทำให้ปัจจุบันทุกภาคธุรกิจต้องปรับตัวเพื่อเป็นธุรกิจที่ยั่งยืนกว่าเดิม และได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคมากขึ้นเช่นกัน ผู้บริโภคมีทางเลือกมากขึ้น หากธุรกิจยังดำเนินธุรกิจในรูปแบบเดิมก็จะอยู่ยากขึ้น จนทำให้ทุกธุรกิจต้องใส่ใจสังคม และสิ่งแวดล้อมมากขึ้นกว่าแค่การทำธุรกิจแบบเดิมอีกแล้ว

แล้ว CSR : Corporate Social Responsibility แบบเดิมๆ ไม่เพียงพอกับปัจจุบันแล้วหรือ ???
- CSR หรือ Corporate Social Responsibility คือ ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมขององค์กร ซึ่งคือการดำเนินกิจการภายใต้หลักจริยธรรมและการจัดการที่ดี

แต่ยังไม่ดีพอ และไม่ยั่งยืนพอ

เพราะความยั่งยืนใหญ่กว่าคำว่า CSR อธิบายง่ายๆ ก็คือ ธุรกิจที่ยั่งยืนจะต้องคำนึงถึงสังคม และสิ่งแวดล้อม เหมือนเป็นร่มครอบ CSR อีกชั้นหนึ่ง

เห็นได้ว่า การทำธุรกิจในยุคปัจจุบัน จะมุ่งเน้นเพียงแต่ผลกำไร หรือการดำเนินธุรกิจในแบบเดิมๆ เพียงอย่างเดียวนั้น ไม่เพียงพอแล้ว เพราะวันนี้ ธุรกิจจะต้องเป็นมากกว่าการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และจะต้องช่วยขับเคลื่อนสังคม และสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืนไปควบคู่กันด้วย

ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดีคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และนักวิทยาศาสตร์ทางทะเล ได้บอกเล่าเรื่องราวของผลกระทบจากโควิด-19 จะส่งผลกระทบการอนุรักษ์และพัฒนายั่งยืนไว้อย่างน่าสนใจว่า

องค์กรธุรกิจกำลังเผชิญหน้ากับความท้าทายคร้ังสำคัญในการรับมือกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศที่แปรปรวนมากขึ้นทุกขณะ จนการวางแผนการดำเนินธุรกิจมีความยากขึ้นเรื่อยๆ

วันนี้องค์กรเอกชนและภาคธุรกิจจึงต้องคำนึงถึงความยั่งยืน (sustainability) และความยืดหยุ่นในการปรับตัว (Resilience) ซึ่งคำสองคำนี้มีบทบาทมากขึ้นในการปรับตัวของภาคธุรกิจหลังวิกฤตโควิด-19 รวมทั้งภาวะโลกร้อน

เทรนด์ธุรกิจจากนี้จะยิ่งแข่งขันกันมี Business Model ที่ดีไซน์ออกมาโดยไม่รบกวนสิ่งแวดล้อม ขณะนี้วิกฤตโควิด-19 ได้ส่งผลให้ธุรกิจต่างปรับตัวด้านการรีแพคเกจจิ้งมากขึ้น ให้มีความรักษ์โลก ไม่ใช่พลาสติกในแบบดั้งเดิมอีกต่อไป

เสนอแนะการตั้งเป้าการพัฒนาเพื่อความยั่งยืน หรือ SDGs ที่จะต้องท้าทายมากขึ้นและทำให้ดีกว่าปัจจุบัน ซึ่งมองว่าองค์กรธุรกิจอย่างซีพีแตะถึงเป้าหมายนั้นแล้ว แต่จะต้องตั้งเป้าหมายที่ท้าทายมากขึ้นไปอีก ทั้งกลยุทธ์และยุทธศาสตร์ ซึ่งปัจจุบันซีอีโอเครือซีพี ออกมายืนแถวหน้าในการผลักดันประเด็น Zero Carbon และ Zero Waste ที่ถือเป็นเรื่องท้าทายมาก

ผศ.ดร.ธรณ์ กล่าวชื่นชม คุณศุภชัย เจียรวนนท์ ซีอีโอเครือซีพี ที่กล้าประกาศเป้าหมาย Zero Carbon ภายในปี 2030 และให้กำลังใจพนักงานในเครือซีพีที่จะต้องร่วมมือร่วมใจสานต่อเรื่องนี้


... ความยั่งยืน จึงเป็นความร่วมมือร่วมใจกันของทุกภาคส่วน ไม่ใช่ของคนหนึ่งคนใด ...
noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า

กระทู้ฮอตในรอบ 7 วัน

Tags:  ความยั่งยืน  ธุรกิจ  ซีพี  ศุภชัย เจียรวนนท์  ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์  หลังโควิด-19 

หน้า: 1

 
ตอบ

ชื่อ:
 
แชร์ไป Facebook ด้วย
กระทู้:
ไอค่อนข้อความ:
ตัวหนาตัวเอียงตัวขีดเส้นใต้จัดย่อหน้าชิดซ้ายจัดย่อหน้ากึ่งกลางจัดย่อหน้าชิดขวา

 
 

[เพิ่มเติม]
แนบไฟล์: (แนบไฟล์เพิ่ม)
ไฟล์ที่อนุญาต: gif, jpg, jpeg
ขนาดไฟล์สูงสุดที่อนุญาต 20000000 KB : 4 ไฟล์ : ต่อความคิดเห็น
ติดตามกระทู้นี้ : ส่งไปที่อีเมลของสมาชิกสนุก
  ส่งไปที่
พิมพ์อักษรตามภาพ:
พิมพ์ตัวอักษรที่แสดงในรูปภาพ
 
:  
  • ข้อความของคุณอยู่ในกระทู้นี้
  • กระทู้ที่ถูกใส่กุญแจ
  • กระทู้ปกติ
  • กระทู้ติดหมุด
  • กระทู้น่าสนใจ (มีผู้ตอบมากกว่า 15 ครั้ง)
  • โพลล์
  • กระทู้น่าสนใจมาก (มีผู้ตอบมากกว่า 25 ครั้ง)
         
หากท่านพบเห็นการกระทำ หรือพฤติกรรมใด ๆ ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รวมถึง การใช้ข้อความที่ไม่สุภาพ พฤติกรรมการหลอกลวง การเผยแพร่ภาพลามก อนาจาร หรือการกระทำใด ๆ ที่อาจก่อให้ผู้อื่น ได้รับความเสียหาย กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม