ธนาคารช่วยเหลือในการดึงเงินลงทุนเพิ่มอีกกว่า 1.5 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ ภายใต้การขยายขอบเขตข้อตกลงกับ FIA
ธนาคารยูโอบี ก้าวไปอีกขั้นในการช่วยเหลือบริษัทต่าง ๆ คว้าโอกาสในเศรษฐกิจที่เติบโตเร็วที่สุดในภูมิภาค เช่นประเทศเวียดนาม [1] หลังดึงการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) เข้าเวียดนามได้กว่า 3 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ [2] ซโดยล่าสุด ธนาคารยูโอบีและ Foreign Investment Agency (FIA) [3] แห่งเวียดนาม ได้ลงนามในบันทึกข้อตกลง (MOU) เพิ่มเติม ในการที่ธนาคารยูโอบีจะสนับสนุนเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ เข้าสู่เวียดนามเพิ่มอีกกว่า 1.5 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์
เวียดนามมีมูลค่า FDI ที่เกิดขึ้นจริงในทุกภาคอุตสาหกรรมเกือบ 1.4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ [4] ซึ่ง ธนาคารยูโอบีกำลังช่วยเหลือบริษัทจากทั่วภูมิภาคให้ไม่พลาดโอกาสในการลงทุนในเวียดนาม โดยให้ความสำคัญกับภาคอุตสาหกรรมที่เติบโตอย่างรวดเร็ว ที่รัฐบาลเวียดนามต้องการพัฒนา ได้แก่ พลังงานหมุนเวียน การผลิต โครงสร้างพื้นฐาน สุขภาพ และเทคโนโลยี
ธนาคารยูโอบีมองเห็นโอกาสจากระเบียงการค้าระหว่างอาเซียนกับสาธารณรัฐประชาชนจีน และได้ช่วยให้บริษัทกว่า 150 แห่งเข้าไปลงทุนในเวียดนาม และตั้งเป้าเพิ่มจำนวนอีกเท่าตัวภายใต้ ข้อตกลงฉบับล่าสุด และธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ซึ่งสนับสนุนอุตสาหกรรมเหล่านี้จะได้ประโยชน์ด้วยในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของซัพพลายเชน โดยคาดว่าการลงทุนระลอกใหม่จะช่วยสร้างงานกว่า 2,000 ตำแหน่งในเวียดนาม เพิ่มขึ้นจากกว่า 17,000 ตำแหน่งงานที่เกิดขึ้นภายใต้ข้อตกลงฉบับแรก นอกจากนี้ ยังมีแนวโน้มว่าบริษัทสิงคโปร์จะเข้าไปลงทุนในเวียดนามมากขึ้น ซึ่งเป็นผลพวงจากการดำเนินธุรกิจระหว่างสองประเทศที่เพิ่มขึ้น
ความสัมพันธ์ระหว่างธนาคารยูโอบี กับเวียดนาม เริ่มต้นขึ้นในปี 1993 เมื่อทางธนาคารได้เปิดสำนักงานตัวแทนในประเทศนี้
[1] ในบรรดา 5 เขตเศรษฐกิจอาเซียน ประกอบด้วยอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย และเวียดนาม ที่มา: รายงาน World Economic Outlook, October 2020: A Long and Difficult Ascent กองทุนการเงินระหว่างประเทศ
[2] มีผลภายใต้บันทึกความเข้าใจ (MOU) ที่ UOB ลงนามกับ Foreign Investment Agency ของเวียดนาม ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้จากข่าวประชาสัมพันธ์ของยูโอบี หัวข้อ "UOB and Vietnam's Foreign Investment Agency sign MOU to boost trade between Vietnam and Southeast Asia" , 19 เมษายน 2015
[3] FIA คือหน่วยงานในสังกัดกระทรวงการวางแผนและลงทุนของเวียดนาม ซึ่งสนับสนุน FDI ในเวียดนาม และบริษัทเวียดนามที่ไปลงทุนในต่างประเทศ
[4] ที่มา: รายงาน "FDI Brief Report in the nine months of 2020" กระทรวงการวางแผนและลงทุน สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม, 26 กันยายน 2020
ธนาคารยูโอบียังคงเป็นธนาคารแห่งแรกและแห่งเดียวของสิงคโปร์ที่จัดตั้งสาขาในเวียดนามโดยที่ต่างชาติเป็นเจ้าของ ซึ่งจัดตั้งในปี 2018
นายวี อี เชียง รองประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารยูโอบี กล่าวว่า "ที่ยูโอบี เราสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจของเวียดนามนับตั้งแต่หยั่งรากในประเทศนี้เมื่อเกือบ 30 ปีก่อน ซึ่งไม่นานมานี้ เราได้เห็นถึงการเติบโตของเวียดนาม ที่ขับเคลื่อนโดยเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง และกำลังจะก้าวเป็นเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับ 4 ของอาเซียนภายในสิ้นปีนี้ [5]
"การขยายขอบเขตของบันทึกข้อตกลงกับ FIA นี้ตอกย้ำความสัมพันธ์ที่แนบแน่นและความร่วมมือในการช่วยบริษัทในภูมิภาคคว้าโอกาสจากเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างรวดเร็วของเวียดนาม ตลอดจนขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างยั่งยืน และกระตุ้นการไหลเวียนของการค้าและสร้างงานในอาเซียน ซึ่งด้วยเครือข่ายการเชื่อมต่อที่ไร้รอยต่อและความเชี่ยวชาญเฉพาะในอุตสาหกรรมทั่วภูมิภาคของเรา ทำให้ธนาคารยูโอบีสามารถสนับสนุนบริษัทที่ต้องการปรับเส้นทางซัพพลายเชน ท่ามกลางสถานการณ์โรคระบาดทั่วโลก"
ธนาคารยูโอบีในเวียดนามมีสำนักงาน 3 แห่ง โดย 2 แห่งอยู่ในกรุงโฮจิมินห และอีกแห่งที่กรุงฮานอย ซึ่งมอบ บริการทางการเงินให้กับผู้บริโภคและธุรกิจในเวียดนาม ธนาคารให้บริการธนาคารผ่าน UOB Mighty แอปพลิเคชันธนาคารบนมือถือ และในปี 2013 ทางธนาคารได้จัดตั้งทีม FDI Advisory โดยเฉพาะในเวียดนาม [6] ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการขยายขอบเขตการให้บริการลูกค้าทั่วภูมิภาคในการลงทุนในเวียดนาม
การขยายขอบเขตบันทึกข้อตกลงในครั้งนี้ จะทำให้ FIA เปิดโอกาสใหม่ ๆ ให้ต่างชาติเข้าถึงการลงทุนนอกเหนือจากเมืองหลัก ๆ อย่างโฮจิมินห์และฮานอย ไปยังการลงทุนในเมืองที่เติบโตอย่างรวดเร็ว เช่น แบกนินห์ ไฮดอง บินห์เซือง และด่งนาย
นายตรัน ดุย ดอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการวางแผนและลงทุนในเวียดนาม กล่าวว่า "ความเข้มแข็งและเสถียรภาพของเศรษฐกิจเวียดนามทำให้เวียดนามเป็นจุดหมายของ FDI อย่างต่อเนื่องจากธุรกิจทั่วโลก ซึ่งขับเคลื่อนโดยโอกาสทางธุรกิจที่ขยายตัวจากประชากรวัยหนุ่มสาว แรงงานที่มีการศึกษา และการเติบโตของชนชั้นกลาง องค์กรจำนวนมากยังต้องลงทุนและขยายธุรกิจในเวียดนาม ซึ่งสนับสนุนโดยศักยภาพด้านการผลิตที่ทันสมัยและนวัตกรรมทางเทคโนโลยีในเมืองที่พัฒนาอย่างรวดเร็วนอกเหนือจากจุดหมาย FDI ดั้งเดิมอย่างโฮจิมินห์และฮานอย